ตราแผ่นดินของเม็กซิโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราแผ่นดินของเม็กซิโก
Coat of arms of Mexico
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
ตราแผ่นดินสำหรับธงชาติในหน่วยงานราชการ (ตราสีทอง)
ตราแผ่นดินสำหรับรัฐบาลกลางสหพันธรัฐ
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราเม็กซิโก
เริ่มใช้16 กันยายน, พ.ศ. 2511 (ปรับปรุงแบบตราใหม่ ฟรานซิสโก เอปเปนส์ เฮลเกรา)
เครื่องยอดตราที่ใช้ในส่วนราชการเป็นรูปนกอินทรีสีทองคาบและจับอสรพิษ เกาะอยู่บนต้นกระบองเพชร
โล่นกอินทรีคาบและจับอสรพิษเกาะอยู่บนต้นกระบองเพชร
ประคองข้างโอ๊ก และ ช่อลอเรล โอบล้อมรอบนอกอินทรีคาบอสรพิษ
คำขวัญสหรัฐเม็กซิโก[1]
Estados Unidos Mexicanos (ตรารัฐบาลกลางสหพันธรัฐ)
ส่วนประกอบอื่นนกอินทรี, กระบองเพชร, ผลไม้
การใช้รัฐบาล

ตราแผ่นดินกลางธงชาติเม็กซิโก ได้รับแรงบัลดาลใจในการออกแบบจากตำนานชาวอัซเตก เกี่ยวกับตำนานสร้างเมืองเตนอชตีตลัน (Tenochtitlán) ตามเรื่องราวที่เล่าขานกันทั่วไปกล่าวกันว่า ชาวอัซเตกได้ออกเดินทางไปทั่วบริเวณที่เป็นประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน เพื่อแสวงหาที่ตั้งเมืองหลวงของพวกตน ตามนิมิตที่เทพเจ้าวิตซิลโลปอชตลี (Huitzilopochtli) ผู้เป็นเทพแห่งสงครามของชาวอัซเตกระบุไว้ว่า ที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่นั้นจะมีนกอินทรีคาบและจับอสรพิษเกาะอยู่บนต้นกระบองเพชร ซึ่งตั้งอยู่บนโขดหินกลางทะเลสาบ 200 ปีต่อมาพวกเขาจึงพบนกอินทรีตามนิมิตดังกล่าวบนเกาะเล็กๆ ในทะเลสาบเท็กโกโก้ พวกเขาจึงสร้างเมืองเตนอชตีตลันขึ้น ณ ที่นี้ ซึ่งในเวลาต่อมาคือกรุงเม็กซิโกซิตี เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน

แบบของตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการปรับปรุงแบบตราใหม่เมื่อ พ.ศ. 2511 โดย ฟรานซิสโก เอปเปนส์ เฮลเกรา (Francisco Eppens Helguera) ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีกุสตาโว ดิแอซ ออร์ดาซ (Gustavo Díaz Ordaz)

สัญลักษณ์[แก้]

ประวัติ[แก้]

  National -   Non-National
เม็กซิโกภายใต้การปกครองของสเปน
17 เมษายน ค.ศ. 1535
27 กันยายน ค.ศ. 1821
หลังสงครามการประกาศเอกราช
รัฐชาตินิยมเม็กซิโก - จักรวรรดิ์เม็กซิโก
สาธารณรัฐเม็กซิโก - สหรัฐเม็กซิโก
ตั้งแต่ค.ศ. 1821
2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1821
14 เมษายน ค.ศ. 1823
14 เมษายน 1823
15 กรกฎาคม ค.ศ. 1864
15 กรกฎาคม 1864
19 มิถุนายน ค.ศ. 1867
19 มิถุนายน 1867
1 เมษายน ค.ศ. 1893
1 เมษายน 1893
20 กันยายน ค.ศ. 1916
20 กันยายน 1916
5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934
5 กุมภาพันธ์ 1934
16 กันยายน ค.ศ. 1968
16 กันยายน 1968
Present

|}

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. De facto

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]