ฐานปฏิบัติการหน้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐานปฏิบัติการหน้าเลาการ์ม อัฟกานิสถาน

ฐานปฏิบัติการหน้า (อังกฤษ: forward operating base: FOB) คือตำแหน่งทางทหารระดับยุทธการในส่วนหน้าที่ปลอดภัย ปกติจะเป็นฐานทัพที่ใช้สำหรับการสนับสนุนเป้าหมายทางกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ทางยุทธวิธี ฐานปฏิบัติการหน้าอาจจะประกอบไปด้วยฐานทัพอากาศ, โรงพยาบาล, โรงปฏิบัติงานเครื่องกล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ด้านการส่งกำลังบำรุง ซึ่งฐานอาจจะถูกใช้งานอย่างยาวนาน ฐานปฏิบัติการหน้าได้รับการสนับสนุนจากฐานปฏิบัติการหลักเพื่อที่จะเป็นกำลังเสริมสำหรับการปฏิบัติการของฐานปฏิบัติการหลัก[1][2] นอกจากนี้ฐานปฏิบัติการหน้าจะปรับเวลาในการปฏิบัติการตามเวลาท้องถิ่น

คำอธิบาย[แก้]

ในรูปแบบพื้นฐานส่วนใหญ่ ฐานปฏิบัติการหน้าประกอบไปด้วยวงแหวนที่ล้อมรอบไปด้วยลาดหนามอยู่โดยรอบตำแหน่งจุดควบคุมทางเข้า (entry control point: ECP) ฐานที่มีการเสริมแนวป้องกันสูง สำหรับการป้องกันฐานปฏิบัติการหน้าขั้นสูง อาจจะมีการเพิ่มเติมแนวที่กำบังเพื่อป้องกันการยิง (berm), ฉากขัดขวางคอนกรีต, ประตู, หอคอยยาม, ป้อมปืนกลหนัก และบังเกอร์ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ สำหรับการป้องกันกำลังรบ มักจะสร้างจากกำแพงป้อมปราการเฮสโก[3] ฐานปฏิบัติการหน้ายังมีจุดควบคุมทางเข้า (ECP) เพื่อควบคุมการเข้าและออกจากฐานซึ่งในจุดดังกล่าวจะมีตำแหน่งสำหรับป้องกันบุคลากรทหารจากระเบิดแสวงเครื่องติดบุคคล (personnel-borne improvised explosive devices: PBIED) และระเบิดแสวงเครื่องติดยานพาหนะ (vehicle-borne improvised explosive devices: VBIED) ช่วยลดแรงระเบิดพร้อมกับการป้องกันอันตราย[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "forward operating base Official Definition (US DoD)". militaryfactory.com. สืบค้นเมื่อ 10 April 2018.
  2. https://fas.org/irp/doddir/dod/jp3_09_3.pdf
  3. "Army Logistician (Building a FOB From the Ground Up)". www.alu.army.mil. สืบค้นเมื่อ 10 April 2018.
  4. "PdD Combat Armaments and Protection Systems". Project Manager Close Combat Systems. 4 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-05. สืบค้นเมื่อ 2024-02-11.