ฐัค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐัคคี
กลุ่มฐัค ภาพถ่ายปี 1894
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ?- [1]
สถานที่ตั้งอินเดียกลาง, เบงกอล
ปีที่มีการเคลื่อนไหวไม่ทราบ
อาณาเขตอนุทวีปอินเดีย
สมาชิกไม่ทราบ
กิจกรรมทางอาญาฆาตกรรม, โจรกรรม
คู่ปรับบริติชราช

ธักกี (อังกฤษ: Thuggee; UK: /θʌˈɡ/, US: /ˈθʌɡi/) เป็นคำเรียกการกระทำการ ธัก (อังกฤษ: thug, อันธพาล) เป็นอดีตกลุ่มอาชญากรผู้ก่อการโจรกรรมและฆาตกรรมที่ทำงานกันอย่างเป็นระบบ คำว่า thug ในภาษาอังกฤษมีที่มาจากภาษาฮินดี ฐัค (เทวนาครี: ठग, ṭhag) ซึ่งแปลว่า 'นักต้มตุ๋น' หรือ 'คนโกง' ซึ่งเกี่ยวพันกับคำกริยา ฐัคนะ (thugna; 'หลอกลวง') จากภาษาสันสกฤต สฐค (स्थग (sthaga; 'ฉลาดแกมโกง, กะล่อน, ฉ้อโกง') และ สฐคติ (स्थगति (sthagati; 'ผู้ปิดบัง')[2]

เข้าใจกันว่าฐัคเดินทางไปมากันเป็นกลุ่มทั่วอนุทวีปอินเดีย[3] และมีหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ไม่มีเรื่องไหนที่มีหลักฐานมากพอ หนึ่งในงานเขียนที่บันทึกโดยดี. เอฟ. มัคลอยด์ ระบุว่าฐัคมีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่ามุสลิมซึ่งหลบหนีออกจากเดลีหลังไปฆาตกรรมแพทย์คนหนึ่ง อีกเรื่องเล่าระบุว่าฐัคมีที่มาจากตระกูลมุสลิมที่ตัองหลบหนีหลังฆาตกรรมทาสคนโปรดของจักรพรรดิอักบัร[4] ความเชื่อนี้ยังเชื่อว่าต่อมาฐัคแพร่กระจายจากมุสลิมสู่ชาวฮินดู[5] ส่วนตามธรรมเนียมของฐัคเอง เชื่อว่าพวกตนสืบเชื้อสายมาจากกันชรหรืออดีตเจ้าพนักงานในค่ายทหารของจักรวรรดิโมกุล[6][7] ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่าฐัคเกิดจากการที่บริติชเข้าปกครองอินเดียแล้วสลายกองทัพของรัฐท้องถิ่นเดิม[8]

มีการระบุว่าฐัคก่อการโดยปล้นสะดม, หลอกลวง และแขวนคอเหยื่อตามทางหลวง โดยการเข้าร่วมและหลอกลวงผู้เดินทางไปตามเส้นทาง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและถือโอกาสฆาตกรรมโดยใช้เชือกหรือผ้า[9] จากนั้นจึงขโมยและฝังเหยื่อ[10] ในอินเดียใต้จึงนิยมเรียกฐัคว่าเป็นพวก ผันสิคร (Phansigar; "ผู้ใช้บ่วงเชือก")[11] ฐัคเป็นเป้าหมายในการกำจัดโดยรัฐบาลอังกฤษเจ้าอาณานิคมอินเดียในทศวรรษ 1830 ภายใต้เสนาบดี ลอร์ดวิลเลียม บินทิงค์ และ วิลเลียม เฮนรี สลีมาน

ในแวดวงวิชาการร่วมสมัยเริ่มมีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีอยู่ของ ธักกี ในอดีต[12][13] และนักประวัติศาสตร์จำนวนมากสรุปว่าคำว่า "ธักกี" เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยรัฐบาลอังกฤษเจ้าอาณานิคมในเวลานั้น[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. K. Wagner (2007). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Springer. p. 26. ISBN 978-0-230-59020-5.
  2. "Thugs". 1902encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  3. "Tracing India's cult of Thugs". 3 August 2003. Los Angeles Times.
  4. Dash, Mike (3 February 2011). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Granta. pp. 28, 36 & 37. ISBN 978-1-84708-473-6.
  5. K. Wagner (2007). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Springer. p. 154; 155. ISBN 978-0-230-59020-5.
  6. Martine van Woerkens (3 February 2011). The Strangled Traveler: Colonial Imaginings and the Thugs of India. University of Chicago Press. p. 136. ISBN 978-0-226-85086-3.
  7. Dash, Mike (3 February 2011). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Granta. p. 37. ISBN 9781847084736.
  8. K. Wagner (2007). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Springer. p. 92. ISBN 9780230590205.
  9. David Scott Katsan (2006). The Oxford Encyclopedia of British Literature, Volume 1. Oxford University Press. p. 141. ISBN 9780195169218.
  10. Rost 1911.
  11. R.V. Russell; R.B.H. Lai (1995). The tribes and castes of the central provinces of India. Asian Educational Services. p. 559. ISBN 978-81-206-0833-7. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
  12. Gámez-Fernández, Cristina M.; Dwivedi, Om P. (2014). Tabish Khair: Critical Perspectives. Cambridge Scholars Publishing. ISBN 9781443857888.
  13. MacFie, Alexander Lyon (2008). "Thuggee: An orientalist construction?". Rethinking History. 12 (3): 383–397. doi:10.1080/13642520802193262. S2CID 144212481.
  14. S. Shankar (2001). Textual Traffic: Colonialism, Modernity, and the Economy of the Text. SUNY Press. ISBN 978-0791449929.

บรรณนุกรม[แก้]

  •  Rost, Reinhold (1911). "Thugs" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 26 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 896.
  • Dash, Mike Thug: the true story of Indias murderous cult ISBN 1-86207-604-9, 2005
  • Dutta, Krishna (2005) The sacred slaughterers. Book review of Thug: the true story of India's murderous cult by Mike Dash. In The Independent (Published: 8 July 2005) text
  • Guidolin, Monica "Gli strangolatori di Kali. Il culto thag tra immaginario e realtà storica", Aurelia Edizioni, 2012, ISBN 978-88-89763-50-6.
  • Paton, James 'Collections on Thuggee and Dacoitee', British Library, Add MS 41300
  • Woerkens, Martine van The Strangled Traveler: Colonial Imaginings and the Thugs of India (2002),

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]