ซีวิงส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซีวิงส์ (อังกฤษ: Seawings) เป็นผู้ประกอบการทัวร์เครื่องบินทะเลระดับหรู ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บริษัทนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 และให้ทัวร์ทางอากาศและการเช่าเหมาลำไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น ดูไบ, อาบูดาบี, รัฐราสอัลไคมาห์ และรัฐฟูไจราห์ บริการของบริษัท ได้แก่ เที่ยวบินชมทัศนียภาพ, ทัศนศึกษาที่กำหนดเอง, แพคเกจของหมู่คณะ และเครื่องบินเช่าเหมาลำพิเศษไปกว่า 20 จุดต่าง ๆ ภายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีเงื่อนไขคือเป็นการแก้ปัญหาการเดินทางที่สมบูรณ์ทั่วทั้งภูมิภาค[1]

บริการเครื่องบินทะเลได้รับการดำเนินโดยเจ็ท-ออปส์ เอฟแซดอี ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในดูไบ และเป็นผู้ถือใบรับรองผู้ประกอบการทางอากาศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (AOC)

เจ็ท-ออปส์ เอฟแซดอี มีเจ้าของคือแอร์ชาร์เตอร์อินเตอร์เนชันแนลอาระเบีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทการจัดการบินชั้นนำในดูไบนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994[2]

ฐานปฏิบัติการและยานเดินสมุทร[แก้]

เครื่องบินทะเลสะเทินน้ำสะเทินบกซีวิงส์ รุ่นเซสนา 208 คาราวาน

ยานเดินสมุทรประกอบด้วยเครื่องบินทะเลเซสนา 208 คาราวานสามลำ ซึ่งจะออกจากสามฐานที่มั่น โดยตั้งตามความเหมาะสมอยู่ที่ดูไบ และมีสถานที่ปฏิบัติการเดิมอยู่ที่เจเบล อาลี รวมถึงยังดำเนินการทัวร์จากอ่าวดูไบและหมู่เกาะเดอะเวิลด์

เซสนา 208 คาราวาน สามารถบรรจุผู้โดยสารได้เก้าที่นั่งกับนักบินหนึ่งที่นั่ง และมีความเร็วในการแล่นทางน้ำที่ประมาณ 130 นอต เครื่องบินซีวิงส์มีการติดตั้ง:

• เบาะนั่งแบบหรู • หน้าต่างขนาดใหญ่สำหรับแต่ละที่นั่ง • ห้องโดยสารปรับอากาศ

เซสนา 208 คาราวาน เป็นเครื่องบินบริการสาธารณะเครื่องยนต์เดียวและผลิตในสหรัฐอเมริกา โดยใช้เครื่องยนต์คะเนเดียนแพรตต์แอนด์วิทนีย์ พีที6เอ-114เอ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่น่าเชื่อถือที่สุดของโลก โดยมีต้นแบบเดิมที่ออกบินครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 และได้รับการรับรองโดยสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1984 เครื่องบินได้รับการบำรุงรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ผู้มีประกาศนียบัตรชั้นสูงสุด ที่ออกโดยเจ้าหน้าที่การบินพลเรือนทั่วไป ซึ่งเป็นฝ่ายปกครองการบินของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พวกเขามีความรู้เกี่ยวกับเครื่องบินเป็นอย่างมาก และมีระบบบำรุงรักษาเครื่องบินสำหรับมาตรฐานสูงสุดในชีวิตประจำวัน

ประวัติของเครื่องบินทะเลในดูไบ[แก้]

การบินเริ่มขึ้นในดูไบในปี ค.ศ. 1937 โดยครั้งแรกคือเมื่อครั้งที่เรือเหาะอิมพีเรียลแอร์เวย์ได้ให้บริการรายสัปดาห์ระหว่างสหราชอาณาจักรและปากีสถาน ซึ่งได้แวะลงจอดในอ่าวดูไบ[3] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง 1950 เส้นทางเกือกม้าจากเดอร์บันไปยังซิดนีย์โดยผ่านทางอ่าวได้รับการก่อตั้งขึ้น ในช่วงท้ายของปี ค.ศ. 1944 ทางสายการบินบริติชโอเวอร์ซีแอร์เวย์คอร์ปอเรชัน (BOAC) ได้ออกปฏิบัติการเรือบิน 8 ลำต่อสัปดาห์ ส่วนในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1947 ได้มีการพบเรือบินชอร์ทเอมไพร์รุ่นซีคลาสล่าสุด ปฏิบัติการบินในเส้นทางเกือกม้าผ่านคาร์ทูม, ลักซอร์, ไคโร, คาลเลีย (ทะเลเดดซี), ฮับบานิยาห์ (ประเทศอิรัก), บาสรา, ประเทศบาห์เรน, ดูไบ, จีวานี ไปยังการาจี

เครื่องบินทะเลและสิ่งแวดล้อม[แก้]

เครื่องบินทะเลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเครื่องบินรุ่นอื่น และไม่ปล่อยน้ำมันลงไปในน้ำ ในฐานะที่เป็นระบบใบพัด เครื่องยนต์และไอเสียจะอยู่เหนือน้ำโดยไม่รบกวนสิ่งมีชีวิตทางทะเลแต่อย่างใด อีกทั้งเครื่องบินทะเลยังมีเสียงรบกวนจากภายนอกต่ำและมีสถิติความปลอดภัยที่ดีเลิศ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "About Seawings". Seawings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-05. สืบค้นเมื่อ 2013-08-07.
  2. "about-us". Jet-Ops. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-07. สืบค้นเมื่อ 2013-08-07.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-25. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  4. "Seaplane_Environmental_Issues" (PDF). seaplane.org.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]