ช้อง ลื่อ ย่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช้อง ลื่อ ย่า
𖬌𖬤𖬵 𖬘𖬲𖬞 𖬖𖬲𖬤
เกิด15 กันยายน ค.ศ. 1929(1929-09-15)
ใกล้เมืองหนองแฮด อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิตกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971
(41 ปี)
มีชื่อเสียงจากผู้ประดิษฐ์อักษรม้ง อักษรขมุ และธงเจ้าฟ้าม้ง

ช้อง ลื่อ ย่า (ม้ง: Soob Lwj Yaj, พ่าเฮ่า: 𖬌𖬤𖬵 𖬘𖬲𖬞 𖬖𖬲𖬤;[1] 15 กันยายน ค.ศ. 1929 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971) เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณชาวม้งและเป็นผู้ประดิษฐ์พ่าเฮ่า ซึ่งเป็นอักษรกึ่งพยางค์สำหรับการเขียนภาษาม้งและขมุ

เขาถูกลอบสังหารในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 ในสงครามกลางเมืองลาว เขาได้รับการยกย่องเป็น "มารดาแห่งการเขียน" (Niam Ntawv) ของชาวม้ง ทำนองเดียวกันกับซีโควยา ชาวเชอโรกี ทั้งนี้ช้อง ลื่อ ย่าถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนจากสังคมก่อนวัยเรียนที่สามารถประดิษฐ์ระบบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์[2]

ประวัติ[แก้]

ช้อง ลื่อ ย่า เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเหงะอาน (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเวียดนาม) ใกล้เมืองหนองแฮด (ปัจจุบันอยู่ในแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว) เขาเติบโตขึ้นโดยไม่ได้เล่าเรียนการอ่านและเขียน แม้ว่าจะเคยพบเห็นหรือสังเกตระบบการเขียนต่าง ๆ มาบ้างก็ตาม[3] เขาประกอบกิจเป็นชาวนาและช่างสานตะกร้ามาตลอดชีวิต

ต้น ค.ศ. 1959 เขาอ้างว่ามีชายฝาแฝดสองคนสอนการเขียนพ่าเฮ่าแก่เขาในนิมิต โดยสั่งให้เขานำระบบการเขียนนี้ไปเผยแพร่แก่หมู่ชาวม้งและขมุ เขาเชื่อว่ากลุ่มชนใดยอมรับระบบการเขียนนี้ไปจะประสบแต่ความเจริญและรอดพ้นจากอันตรายในช่วงสงครามกลางเมืองลาว เขาได้รับการยกย่องเป็น "ผู้ช่วยให้รอด" (Theej Kaj Pej Xeem) และเริ่มสอนระบบการเขียนนี้ไปพร้อมกับการประกาศข้อความของการไถ่บาปทั่วประเทศลาว[4] ช้อง ลื่อ ย่าถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนจากสังคมก่อนวัยเรียนที่สามารถประดิษฐ์ระบบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับซีโควยา ผู้ประดิษฐ์อักษรชาวเชอโรกี[2]

ช้อง ลื่อ ย่าประสบความสำเร็จในการสอนระบบการเขียนพ่าเฮ่าและตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าหมู่บ้านนี้กลายเป็นเป้าหมายของกองกำลังคอมมิวนิสต์ เพราะช้องมีความเชื่อมโยงกับนายพล วัง เปา หรือ ว่า ป๋อ (Vaj Pov) นายทหารชาวม้ง และกองทหารของเขา ต่อมาช้องกลายเป็นผู้ต้องสงสัยในสายตาของชาวม้งที่สนับสนุนรัฐบาลลาว (รวมทั้งนายพลวัง เปา) และชาวม้งที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว นายพล วัง เปา เสนอรางวัลแก่ผู้สังหารช้อง ลื่อ ย่า ซึ่งถูกสังหารในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 ขณะช้องเขียนบทประพันธ์อักษรพ่าเฮ่าม้องฉบับสุดท้ายเสร็จ ส่วนฆาตกรที่สังหารช้องได้ พยายามเรียกร้องค่าจ้างจำนวนสามล้านกีบ หรือ 158.96 ดอลลาร์สหรัฐ (ใน ค.ศ. 1974) จากนายพล วัง เปา แต่ภายหลังเขาถูกเจ้าหน้าที่ของไทยสังหารด้วยการปิดตา ใส่กุญแจมือ ก่อนโยนลงแม่น้ำโขง ตามคำสั่งของนายพล วัง เปา

อ้างอิง[แก้]

  1. Smalley, William Allen, Chia Koua Vang (Txiaj Kuam Vaj ), and Gnia Yee Yang (Nyiaj Yig Yaj ). Mother of Writing: The Origin and Development of a Hmong Messianic Script. University of Chicago Press, May 15, 1990. 1. Retrieved from Google Books on March 23, 2012. ISBN 0226762866, 9780226762869.
  2. 2.0 2.1 Wilford, John Noble (22 June 2009). "Carvings From Cherokee Script's Dawn". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.
  3. Smalley 1990:86–90
  4. Smalley 1990:16–25