ชาวม่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาวม่าน (คำว่า "ม่าน" มีความหมายว่า "บ้าน") เป็นชนกลุ่มแรกที่อพยพมาทางหุบเขาตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ตั้งบ้านเรือนระยะห่างๆกัน ประมาณ 600-1,000 เมตร และแยกออกจากกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งจะสังเกตได้โดยเครื่องแต่งกายสตรี

  • ม่านหัวแดง
  • ม่านตะพาน (ม่านไม้กระดานใหญ่)
  • ม่านเตียนู (ม่านไม้กระดานเล็ก
  • ม่านลังแตน

อุปนิสัยของชาวม่าน[แก้]

โดยทั่วไปชาวม่าน เป็นพลเมืองที่รักการอุตสาหกรรม ใช้ภาษายูนนานได้ รู้จักนิสัยของชาวจีนได้เป็นอย่างดี เป็นพ่อค้า และรู้จักการเลี้ยงสัตว์พอดีพอใช้ จึงนับว่าเป็นพวกที่สำคัญพวกหนึ่งในบรรดาชาวม้ง และชาวไททั้งหลาย (ไทดำ, ไทแดง และไทขาว)

จำนวนประชากร[แก้]

พลเมืองเหล่านี้ในปัจจุบันอาจจะมีจำนวนมากกว่า 12,000 คน อาศัยตามหมู่บ้านต่างๆที่ติดกันเป็นหย่อมๆ ไม่ค่อยขยับขยายให้กว้างใหญ่เท่าใดนัก มีชาวม่านอยู่ที่ซินโห 8,000 คน มูสัง โลลาว 2,000 คน ลาดเขาฟันสีพาน 3,000 คน ภูเขาสามคาบ 1,000 คน แอ่งตานอูเย็น 2,000 คน ตามเทืองเขาใกล้กับแม่น้ำแดงฝั่งขวาจนถึงเงียโล 14,000 คน และทางก๊กลื้อ มีชาวม่านไปทำกินอยู่ในที่ต่ำๆมาก ขนาดสูงกว่าระดับน้ำทะเล 200 เมตร