ชาวมันตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มันตี
มานตี / มันตีร์
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 อินโดนีเซีย (อาเจะฮ์)
ภาษา
ภาษามันตี (สูญพันธุ์)
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวมลายูพื้นเมืองดั้งเดิม, ชาวอาเจะฮ์

มันตี (อักษรโรมัน: Mante, หรือ Mantee ตามภาษากาโย) หรือ มันตีร์ (Mantir)[1] เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ยุคแรกสุดที่ปรากฏการกล่าวถึงบ่อยครั้งในตำนานพื้นถิ่นว่าเคยอาศัยอยู่ในจังหวัดอาเจะฮ์ของประเทศอินโดนีเซีย[2] กลุ่มชาติพันธุ์นี้และกลุ่มอื่น ๆ ทั้งชาวอิลลานุน, ซะไก, จากุน, เซอโนย และเซอมัง เป็นกลุ่มที่รวมกันเป็นชาวอาเจะฮ์ในปัจจุบัน[3] ชาวมันตีเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนมลายูพื้นเมืองดั้งเดิม[4][5] ที่เริ่มตั้งรกรากแถบอำเภออาเจะฮ์เบอซาร์[6] และลึกเข้าไปในป่าดงดิบแถบนั้น[7] เข้าใจว่าชนกลุ่มนี้อพยพมาสู่อาเจะฮ์จากคาบสมุทรมลายู[3] ในตำนานอาเจะฮ์เล่าว่าชาวมันตีกับบาตักเป็นลูกหลานของ Kawom Lhèë Reutōïh (แปลว่า "ชนสามร้อยคน") ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มชนพื้นเมืองของอาเจะฮ์[8] ปัจจุบันเข้าใจว่าชาวมันตีสูญพันธุ์ไปทั้งหมดแล้ว หรือถูกกลืนกลายจากการแต่งงานข้ามกลุ่มชนกับคนนอกชาติพันธุ์ที่เข้ามาในภายหลัง[2] ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดที่ยืนยันได้ถึงการมีอยู่ของกลุ่มชนนี้

กรณีวิดีโอปี 2017[แก้]

ในเดือนมีนาคม 2017 มีการเผยแพร่วิดีโอของกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลุ่มหนึ่งในอาเจะฮ์ซึ่งบังเอิญบันทึกภาพชายคนหนึ่งเดินผ่านกล้อง เชื่อกันว่าชายผู้นี้เป็นชาวมันตี เมื่อชายคนดังกล่าวเห็นกลุ่มคนก็รีบวิ่งหนีไปทันที หลังจากที่วิดีโอถูกอัปโหลดขึ้นสู่ยูทูบก็กลายเป็นคลิปไวรัลและเกิดการพูดคุยไปทั่วทั้งสื่อสังคมและแวดวงข่าวในอินโดนีเซีย[9]

ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากรัฐบาลของจังหวัดอาเจะฮ์ซึ่งต่อมาได้ส่งทีมค้นหาชาวมันตีและตรวจสอบการมีอยู่ของชนกลุ่มนี้[10] กระทรวงกิจการสังคมยังมีส่วนร่วมในการค้นหาครั้งนี้ เพื่อช่วยเตรียมสวัสดิการจำเป็นแก่กลุ่มชนนี้หากค้นพบต่อไป[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Abdul Rani Usman (2003). Sejarah peradaban Aceh: suatu analisis interaksionis, integrasi, dan konflik. Yayasan Obor Indonesia. p. 14. ISBN 97-946-1428-9.
  2. 2.0 2.1 "Proyek Penelitian dan Pencatatan Kebudayaan Daerah". Geografi budaya Daerah Istimewa Aceh. Departemen Pendidikan dan Kebudayaan. 1977. p. 57. OCLC 1027421863.
  3. 3.0 3.1 Dada Meuraxa (1974). Sejarah kebudayaan Sumatera: Aceh, Sumatera Utara, Melayu Riau, Melayu Jambi, Sumatera Barat, Bengkulu, Palembang, Lampong, dll. Hasmar. p. 12. OCLC 959788221.
  4. Abdul Rani Usman (2003). Sejarah peradaban Aceh: suatu analisis interaksionis, integrasi, dan konflik. Yayasan Obor Indonesia. p. 1. ISBN 97-946-1428-9.
  5. Ferdian Ananda Majni (2017-03-28). "Mante, Suku Kuno Aceh yang Terlupakan". Media Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  6. Abdul Rani Usman (2003). Sejarah peradaban Aceh: suatu analisis interaksionis, integrasi, dan konflik. Yayasan Obor Indonesia. p. 12. ISBN 97-946-1428-9.
  7. Christiaan Snouck Hurgronje & Soedarso Soekarno (1999). "Indonesian-Netherlands Cooperation in Islamic Studies". Kumpulan karangan Snouck Hurgronje, Volume 11. INIS. p. 198. ISBN 97-981-1617-8.
  8. "Partai Keadilan Sejahtera. Majelis Pertimbangan Pusat". Memperjuangkan masyarakat madani: falsafah dasar perjuangan dan platform kebijakan pembangunan PK Sejahtera. Majelis Pertimbangan Pusat, Partai Keadilan Sejahtera. 2008. p. 161. OCLC 682394027.
  9. Lauren O'Callaghan (2017-03-28). "WATCH: Mysterious figure thought to be a member of Indonesia's LOST pygmy tribe spotted". Express UK. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  10. Daspriani Y Zamzami (2017-03-28). "Pemerintah Aceh Telusuri Keberadaan Suku Mante". Media Indonesia. สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
  11. Nila Chrisna Yulika (2017-04-08). "Untuk Apa Kementerian Sosial Mencari Suku Mante?". Liputan6. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.