ข้ามไปเนื้อหา

เจ้รายดอย

พิกัด: 26°55′59″N 94°44′53″E / 26.933°N 94.7481°E / 26.933; 94.7481
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชารายเทโว)

26°55′59″N 94°44′53″E / 26.933°N 94.7481°E / 26.933; 94.7481

กลุ่มสุสาน มอยด้ำ ทั้งสี่

เจ้รายดอย[1] หรือ จาไรเทว (อัสสัม: চৰাইদেও) เป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรอาหม แต่เดิมราชธานีเจ้รายดอยมีชื่อเดิมว่า "อภัยปุระ" ส่วนชื่อ เจ้รายดอย ซึ่งนามของเมืองมีความหมายตามภาษาอาหม มีความหมายว่า เมืองที่เรียงรายอยู่บนเขา[1] และภายหลังได้ออกเสียงเพี้ยนเรียกชื่อเมืองดังกล่าวว่า "จรวยเทพ" (Charaideo)[1]

ราชธานีแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นนครหลวงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1228 โดยกษัตริย์เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า กษัตริย์พระองค์แรกของอาหม[2] และเป็นราชธานีเรื่อยมาจนถึงสมัยท้าวคำถี่ ภายหลังเมื่อเข้าสู่รัชกาลเจ้าฟ้าเสือดัง จึงได้ย้ายนครหลวงไปที่ราชธานีจรากุรา ในการต่อมา แต่อดีตราชธานีเจ้รายดอยยังมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของอาหมอยู่ไม่น้อย เพราะถือว่าเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพของเหล่าเจ้าฟ้า[1]

ปัจจุบันเจ้รายดอยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองศิวสาคร (อัสสัม: শিৱসাগৰ Xiwôxagôr) รัฐอัสสัม ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปราว 30 กิโลเมตร และได้รับความเสียหายจากโจรที่เข้ามาขุดเอาของมีค่าไป[3] ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการเสนอชื่อให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม, หน้า 35
  2. Phukan 1992, p. 53
  3. Dutta, Pullock and Das, Ripunjoy (2003-03-01). "Bounty hunters beat ASI to tombs". The Telegraph. Calcutta, India. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Das, Ripunjoy (2006-01-19). "Saving Ahom kingdom - Local youths push for Unesco tag to protect Charaideo". The Telegraph. Calcutta, India. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.
  • ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์, 2552 ISBN 978-974-9936-15-3
  • Phukan, J. N. (1992). "The Tai-Ahom Power in Assam". In Barpujari, H. K.. The Comprehensive History of Assam. 2. Guwahati: Assam Publication Board. pp. 49–60