จิตรกรรมตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตรกรรมตะวันออก หรือ ภาพเขียนของศิลปะสายอินเดีย เป็นงานศิลปะที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแสดงเนื้อเรื่องใช้ภาพคนเป็นสิ่งดำเนินเรื่อง จึงได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษที่ประดิษฐ์ภาพคนให้เด่น และประกอบด้วยทิวทัศน์ ปราสาทราชวัง ตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ความกลมกลืนและหลักการจัดตัวภาพมีส่วนคล้ายกัน

เฉพาะในกลุ่มประเทศในสายศิลปะอินเดีย นอกจากนั้นก็มีการเน้นภาพคนสำคัญให้เด่นกว่าคนอื่น ๆ ในภาพเดียวกัน ซึ่งเท่ากับใช้ภาพช่วยเล่าเรื่องให้เข้าใจนั่นเอง การใช้สีก็จะผสมสีให้เป็นไปตามความต้องการแล้วระบายสีจนเรียบแบบไม่เน้นแสงเงา และไม่แสดงกาลเวลาด้วย การตัดเส้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนพื้นที่ในการเขียนภาพนั้น

มีทั้งเป็นแผ่นผนังอาคาร เขียนเป็นภาพประกอบในหนังคัมภีร์ เช่น หนังสือธรรม และหนังสือสวด เป็นต้น สำหรับการเขียนตกแต่งก็จะมีสีที่สดใสประกอบกับการตัดเส้นจนเด่นชัดยิ่งขึ้น

ส่วนจิตรกรรมหรือภาพเขียนในสายศิลปะจีน มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแสดงแนวปรัชญาสิ่งปรากฏในภาพจึงเป็นธรรมชาติมีป่า เขา แม่น้ำ ลำธาร นก ดอกไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะใบไม้ไผ่ของจีน ศิลปินสามารถวาดด้วยสีดำที่ผสมน้ำให้บังเกิดความอ่อนแก่ได้อย่างกลมกลืนยิ่ง สีดำเรียกว่า “ หมึกจีน ” เป็นหลักในการเขียนภาพ ส่วนสีอื่น ๆ ก็ใช้อย่างเจือจางมากและภาพส่วนมากจะมีตัวอักษรประกอบเพื่อให้เกิดแง่คิดทางปรัชญาธรรมะ สำหรับภาพที่ใช้คัมภีร์พระไตรปิฎกเขียนเป็นภาพคน เพื่อเล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องด้วย แต่จิตรกรรมของญี่ปุ่นมีสีมากขึ้น การใช้สีที่ค่อนข้างสดใสแต่ก็เจือจางเป็นสีบาง ๆ เท่านั้น

การจัดวางภาพจิตรกรรมในสายศิลปะจีน จะเห็นได้ว่าพยายามเน้นจินตนาการอัน ประกอบด้วยธรรมชาติต่าง ๆ ดังกล่าวว่า สำหรับการใช้สีนั้น เฉพาะงานวิจิตรกรรมมักจะเป็นสีเจือจาง แต่ถ้าเป็นการใช้สีตกแต่งก็จะเป็นสีที่สดใส