จามเทวีวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จามเทวีวงศ์  
ผู้ประพันธ์พระโพธิรังสี
ประเทศอาณาจักรล้านนา
ภาษาภาษาบาลี
ประเภทบันทึกเหตุการณ์

จามเทวีวงศ์ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา เอกสารประวัติศาสตร์ประเภทบันทึกเหตุการณ์ภาษาบาลี เป็นเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์ผสมกับเรื่องเล่าเชิงศาสนาพุทธ แต่งขึ้นโดยพระโพธิรังสีมหาเถระ สันนิษฐานว่ารจนาราว พ.ศ. 1950 ถึง 2060 มีเรื่องเล่าช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่การก่อตั้งแคว้นหริภุญชัย เรื่องราวการกำเนิดเมืองลำพูน ลำปาง และเขลางค์นคร และความเป็นไปบางส่วนของแคว้นสำคัญในภาคกลาง มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางจามเทวีโดยระบุวันเวลาตามบริบทในอดีตทำนองจดหมายเหตุ เช่น พระนางเสด็จจากละโว้มายังเมืองหริภุญไชยเมื่อใด ระหว่างทางได้แวะที่ใดบ้าง ครองราชย์ยาวนานเท่าใด เสด็จสวรรคตเมื่อใด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ และมีหลักฐานทางโบราณคดีประกอบชัดเจน เช่น ระบุว่า วัดพระธาตุดอยคำ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระนางจามเทวี (พ.ศ. 1230) โดยโอรสทั้งสอง ได้แก่ มหันตยศ และอนันตยศ

ภาษาบาลีในจามเทวีวงศ์ยังไม่ประณีตเท่าภาษาบาลีในชินกาลมาลีปกรณ์ คือ วางโครงสร้างแบบภาษาไทย ประธาน กริยา กรรม และวางคำวิเศษณ์กับคำคุณศัพท์ ไว้หลังคำนามกับคำกริยา ตามแบบไวยากรณ์ไทย ซึ่งโครงสร้างภาษาบาลีต้องเป็นแบบประธาน กรรม กริยา และพบว่ามีคำศัพท์หลายคำที่ถูกเปลี่ยนจากภาษาไทยไปเป็นภาษาบาลีแบบดื้อ ๆ โดยไม่ได้แปลคำนั้นไปเป็นศัพท์ภาษาบาลีเสียก่อน[1]

กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครให้พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เปรียญ ร่วมกับพระญาณวิจิตร (สิทธิ โลจนานนท์) เปรียญ ช่วยกันแปลเป็นภาษาไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกปี พ.ศ. 2463[2]

จามเทวีวงศ์เป็นหนึ่งในคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงในเอกสารตำนานพงศาวดารบ่อยครั้งที่สุด ได้รับการแปลเป็นหลายภาษา ทั้งตะวันตกและตะวันออก[3]

นอกจากนั้นในฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า The Legend of Queen Cama[4] และ The Chamadevivongs[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. เพ็ญสุภา สุขคตะ. ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (11)". มติชนสุดสัปดาห์.
  2. "คัมภีร์ภาษาบาลีในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ตามรอยตำนาน "พระนางจามเทวี" ผ่านพัฒนาการสื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. Swearer
  5. Harza

บรรณานุกรม[แก้]