จักรยานยนต์ตำรวจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรยานยนต์ตำรวจตระเวนทางหลวงกรมตำรวจนครนิวยอร์กในแมนแฮตตัน
จักรยานยนต์ยามาฮ่าของตำรวจจราจรอินโดนีเซีย

จักรยานยนต์ตำรวจ เป็นรถจักรยานยนต์ที่ใช้โดยหน่วยงานตำรวจต่าง ๆ โดยอาจได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของการใช้งานเฉพาะ จักรยานยนต์ตำรวจมักเรียกว่า "มอเตอร์" โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหรัฐ ในทำนองเดียวกันหน่วยรถจักรยานยนต์เรียกว่า "หน่วยมอเตอร์ไซค์" และเจ้าหน้าที่รถจักรยานยนต์เรียกว่าเจ้าหน้าที่ขี่มอเตอร์ไซค์

ความคล่องแคล่วของรถจักรยานยนต์บนถนนที่มีผู้คนพลุกพล่านมีข้อดีที่ไม่ได้มาจากรถตำรวจแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่กว่า ขนาดที่ค่อนข้างเล็กของรถจักรยานยนต์ทำให้สามารถไปยังจุดเกิดเหตุได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น รถประสานงาที่ทำให้รถสี่ล้อเข้าถึงได้ช้าลง รถจักรยานยนต์ตำรวจยังใช้ในงานศพของตำรวจ, ขบวนรถยนต์วีไอพี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ

ประวัติ[แก้]

ตำรวจมัสกีกอน รัฐมิชิแกน ใน ค.ศ. 1920

เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลักในการบังคับใช้กฎหมายจราจรและเป็นพาหนะคุ้มกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ออกัสต์ โวลเมอร์ ผู้บังคับบัญชาแห่งกรมตำรวจเบิร์กลีย์ได้รับเครดิตในการจัดระเบียบการลาดตระเวนรถจักรยานยนต์ของตำรวจอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1911[1] อย่างไรก็ตาม กองกำลังตำรวจหลายแห่งทั่วประเทศรายงานว่าใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะลาดตระเวนก่อนหน้า ส่วนฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ได้ให้เครดิตดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ในฐานะผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ตำรวจรายแรกในปี ค.ศ. 1908[2] กรมตำรวจในเมืองเอแวนสตัน รัฐอิลลินอย ยังได้จัดซื้อรถจักรยานยนต์แบบใช้สายพานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจรถจักรยานยนต์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1908[3] และสำนักงานตำรวจพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนตัวของเขาในการลาดตระเวนเมืองในช่วงต้น ค.ศ. 1909[4]

บทบาทของรถจักรยานยนต์ในการขนส่งสาธารณะราคาไม่แพงได้พัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และการใช้งานโดยตำรวจและกองกำลังก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้เกิดตลาดการผลิตที่มั่นคงสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทวีปยุโรปได้ทำการติดอาวุธใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[5]

จักรยานยนต์ที่ใช้[แก้]

ตำรวจเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ใช้รถจักรยานยนต์บีเอสเอ ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20

ข้อมูลเมื่อ ค.ศ. 2004 กรมตำรวจในสหรัฐมักใช้รถจักรยานยนต์ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจำหน่ายโดยฮาร์ลีย์-เดวิดสัน, คาวาซากิ หรือบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด[6] ทั้งนี้ จักรยานยนต์ตำรวจคาวาซากิซึ่งสร้างขึ้นสำหรับตลาดสหรัฐในลิงคอล์น รัฐเนแบรสกา ได้หยุดการผลิตในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตาม คาวาซากิ คองคูร์ 14 กำลังได้รับการปรับเปลี่ยนและวางตลาดสำหรับการใช้งานของตำรวจในบางตลาด

ในประเทศเยอรมนี บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด เป็นผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดสำหรับการใช้งานของผู้มีอำนาจ[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนในสหราชอาณาจักร จักรยานยนต์ตำรวจที่พบมากที่สุดคือบีเอ็มดับเบิลยู อาร์1200อาร์ที-พี และยามาฮ่า เอฟเจอาร์1300 ซึ่งกองกำลังตำรวจสหราชอาณาจักรได้ถอนตัวฮอนด้า เอสที1300 แพน-ยูโรเปียน เนื่องจากมีการโทษว่าเจ้าหน้าที่ได้เสียชีวิตจากเครื่องยนต์ดังกล่าว[7] กองกำลังตำรวจบางแห่งยังใช้สกูตเตอร์ในเมืองเพื่อการบังคับใช้ที่จอดรถ หรือเครื่องยนต์ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น ไม่มีเครื่องหมาย (ซึ่งหลบซ่อน)[8] หรือจักรยานยนต์ออฟโรด[9]

กองจักรยานยนต์ตำรวจอังกฤษ

ในบรรดาผู้ผลิตในอังกฤษเอง รถจักรยานยนต์ไทรอัมพ์ ซึ่งสร้างขึ้นที่เมริเดน ได้รับการใช้โดยกองกำลังตำรวจอังกฤษ (รวมทั้งตำรวจนครบาล) และกองกำลังตำรวจในเครือจักรภพจนถึง ค.ศ. 1983 เมื่อโรงงานปิดตัวลง[10] จากช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ไทรอัมพ์ยังเป็นตัวเลือกของตำรวจปารีสในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการโปรโมตในภาพยนตร์ที่ผลิตจากโรงงานในชื่ออิตส์อะไทรอัมพ์ ! ส่วนไทรอัมพ์ ธันเดอร์เบิร์ด 650ซีซี 6ที รุ่นตำรวจมีชื่อเล่นว่าเซนต์ (SAINT) ซึ่งเป็นตัวย่อของ "หยุดทุกอย่างในเวลาไม่นาน" (Stops Anything In No Time) ในภาษาอังกฤษ[11] ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ด้วยปัญหาทางอุตสาหกรรมและการปิดตัวที่ส่งผลกระทบต่อการจัดหาอะไหล่และการบริการ รถไทรอัมพ์และค่ายอื่น ๆ ของอังกฤษถูกแทนที่ด้วยบีเอ็มดับเบิลยู อาร์80 ที่ราบรื่นกว่า (และในขอบเขตที่จำกัดมากขึ้นคือนอร์ตัน อินเตอร์โปล) มากกว่าจักรยานยนต์ตำรวจไทรอัมพ์ในปัจจุบัน[12] ในความพยายามที่จะชนะคำสั่งซื้อคืนจากบีเอ็มดับเบิลยู เมริเดนได้วางตลาดไทรอัมพ์ บอนเนวิลล์ และไทเกอร์รุ่นขนาด 750ซีซี พร้อมตัวยึดป้องกันการสั่นสะเทือนและการสตาร์ตด้วยไฟฟ้า แต่สิ่งเหล่านี้ยังประสบความสำเร็จในการขายที่จำกัด ส่วนใน ค.ศ. 1981 หนังสือพิมพ์มอเตอร์ไซเคิลนิวส์ของสหราชอาณาจักรรายงานว่าหัวหน้าตำรวจของดาร์บิเชอร์ได้เปรียบเทียบไทรอัมพ์เหล่านี้กับบีเอ็มดับเบิลยู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวยึดเครื่องยนต์ป้องกันการสั่นสะเทือน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบทความในสิ่งพิมพ์ของคู่แข่งอย่างมอเตอร์ไซเคิลวีคลี[13] คำวิจารณ์นี้ถูกหักล้างอย่างมากจากโรงงาน และในที่สุดมณฑลดาร์บิเชอร์ก็ยอมรับการประเมินของไทรอัมพ์ ที140ดับเบิลยู ทีเอสเอส ในตัวยึดป้องกันการสั่นสะเทือน[14] ทั้งนี้ คอมมานโด อินเตอร์โปล ของนอร์ตัน[12] และต่อมารถจักรยานยนต์เครื่องยนต์โรตารีวันเคล อินเตอร์โปล 2 ได้รับการใช้โดยกองกำลังอังกฤษบางส่วนจนกระทั่งบริษัทนั้นล่มสลายในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ส่วนแบรนด์อื่น ๆ เช่น บีเอสเอ ได้รับการใช้โดยกองกำลังบางส่วน แม้ว่าจะมีเพียง 'นอดดี-ไบก์' รุ่นเวโลเซตต์ แอลอี เท่านั้นที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นที่นิยมในหมู่ตำรวจเช่นเดียวกับไทรอัมพ์[ต้องการอ้างอิง]

จักรยานยนต์หน่วยจราจรของตำรวจฮ่องกง

ใน ค.ศ. 2008 บริษัทบีเอ็มดับเบิลยูอ้างว่าเป็นผู้ขายจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีการใช้จักรยานยนต์บีเอ็มดับเบิลยูมากกว่า 100,000 คันอย่างเป็นทางการในกว่า 150 ประเทศใน 5 ทวีป ซึ่งใน ค.ศ. 2007 บริษัทบีเอ็มดับเบิลยูขายจักรยานยนต์ตำรวจได้ 4,284 คันทั่วโลก[15] ซึ่งบีเอ็มดับเบิลยูผลิตโมเดลเฉพาะของตำรวจที่สร้างขึ้นจากโรงงาน เช่น อาร์1200อาร์ที-พี และอาร์900อาร์ที-พี ทั้งนี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐมากกว่า 225 แห่งรวมถึงตำรวจทางหลวงแคลิฟอร์เนียมีรถจักรยานยนต์บีเอ็มดับเบิลยูในกองยานพาหนะลาดตระเวน[16] ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยูรุ่นใหม่มีประสิทธิภาพเหนือกว่ากองจักรยานยนต์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน[17]

ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ได้รักษาความสัมพันธ์อันยาวนานกับกรมตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในบางประเทศ[18] สำหรับรุ่น ค.ศ. 2009 นั้น ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ยื่นเสนอฮาร์ลีย์-เดวิดสัน เอฟแอลเอชทีพี อิเล็กตราไกลด์, เอฟแอลเอชพี โรดคิง, เอกซ์แอล883 สปอร์ตสเตอร์ และจักรยานยนต์เอกซ์บี12เอกซ์พี บูเอล ยูลิสซีสพอลิสรุ่นใหม่[2] นอกจากนี้ เอฟแอลเอชทีพี อิเล็กตราไกลด์ และเอฟแอลเอชพี โรดคิง ยังเป็นจักรยานยนต์ดับเพลิง/กู้ภัย

กรมตำรวจลอสแอนเจลิสได้รับความสนใจทั่วประเทศในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 เมื่อพวกเขาเพิ่มรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าลอบเร้นซีโรมอเตอร์ไซเคิลส์ลงในกอง จักรยานยนต์รุ่นนี้ได้รับการยกย่องว่าเหนือกว่าจักรยานยนต์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน และบีเอ็มดับเบิลยู ที่เทอะทะแบบเดิม ๆ สำหรับการลอบเร้น, ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ, ความได้เปรียบทางยุทธวิธีในทันที และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[19]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ฉลามบก ละครโทรทัศน์ ค.ศ. 1977–1983 ของสหรัฐเกี่ยวกับจักรยานยนต์เจ้าหน้าที่ตำรวจ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Our History". Berkeley Police Department Online, City of Berkeley, CA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-14. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
  2. 2.0 2.1 "Harely-Davidson 2009 Police Motorcycles" (PDF). Harley-Davidson. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-20. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  3. "Evanston Police Department History". City of Evanston, IL (2007). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
  4. Officer Peter Bowman. "History of the Motorcycle Detail". Traffic Division, Portland Police Bureau, Portland, OR (1983, edited in 1999 by Officer Michael Clary). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
  5. Ian Chadwick (2001-06-30). "An overview of the British motorcycle industry and its collapse". British Motorcycle Manufacturers. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
  6. Kariya, Mark (February 2004). "Working on two wheels". Police Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ 2013-04-14.
  7. "Police withdraw Pan over safety concerns". Motorcycle News. 2007-05-14. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
  8. "Unmarked patrols targets drivers". BBC News. 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  9. "Chief Constable's Electronic Newsletter" (PDF). Lothian and Borders Police. July 2007. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  10. "Photography project looks back at West Midlands Police motorbikes". BBC News. 2012-03-08.
  11. Clew, Jeff (2007). Edward Turner: The Man Behind the Motorcycles. Veloce Publishing Ltd. p. 57. ISBN 1-84584-065-8.
  12. 12.0 12.1 A Million Miles Ago by Neale Shilton (Haynes Foulis 1982) ISBN 0-85429-313-2
  13. Currie, Bob Bonnie Beats The Rap ! Motor Cycle Weekly 6 Feb 1982
  14. Rosamond, John Save The Triumph Bonneville ! The Inside Story of the Meriden Workers' Co-Op (Veloce 2009)
  15. "BMW Motorrad presents authority motorcycles at GPEC in Munich". BMW Motorrad USA. 2008-06-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-03. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  16. "BMW Police Motorcycles". www.policeone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  17. Jackie L. Larson (21 July 2011). "Police replacing Crown Victorias". Edmonton Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2012.
  18. "On Patrol" (PDF). 2005 Harley-Davidson Police Motorcycles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-06-18.
  19. Nancy Dillon (20 June 2014). "LAPD now using new Zero MMX stealth electric motorcycle". NEW YORK DAILY NEWS.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Motorcycle Patrol TELEMASP Bulletin, Texas Law Enforcement Management and Administrative Statistics Program