จักรพรรดินีเฉา (ซ่งเหรินจง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดินีเฉา (ซ่งเหรินจง)
จักรพรรดินีแห่งราชวงศ์ซ่ง
สวรรคตค.ศ. 1079
จักรพรรดินีจักรพรรดิซ่งเหรินจง

จักรพรรดินีเฉา (จีน: 曹皇后; พินอิน: Cáo Huánghòu; ค.ศ. 1032–ค.ศ. 1093) หรือ จักรพรรดินีฉือเชิ่ง (จีน: 慈聖皇后; พินอิน: Císhèng Huánghòu) เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สองของซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินตั้งแต่ ค.ศ. 1063–ค.ศ. 1064

จักรพรรดินีเฉาเสด็จพระราชสมภพที่เมืองหูเป่ย(มณฑลหูเป่ย) พระนางเป็นหลานสาวของเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในนายพลผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

จักรพรรดินี[แก้]

ใน ค.ศ. 1033 จักรพรรดินีหลิวพันปีหลวงหรือหลิวไทเฮาซึ่งคอยปกป้องจักรพรรดินีกั้วตลอดมาได้สิ้นพระชนม์ลงและจักรพรรดิเหรินจงได้ออกว่าราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองทำให้จักรพรรดินีกั้วได้กราบทูลจักรพรรดิเหรินจงให้เนรเทศ ลฺหวี่อี้เจี้ยน (Lü Yijian) ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีแต่ในปีเดียวกันใต้เท้าลฺวี่ได้เดินทางกลับมาและกราบทูลให้จักรพรรดิเหรินจงปลดจักรพรรดินีกั้วออกจากตำแหน่งโดยอีกสาเหตุหนึ่งมาจากการกระทบกระทั่งกันระหว่างจักรพรรดินีกั้วกับพระสนมของจักรพรรดิเหรินจง 2 พระองค์คือ พระสนมหยาง และ พระสนมชาง จักรพรรดิซ่งเรินจงจึงทรงปลดจักรพรรดินีกั้วออกจากตำแหน่ง และทรงแต่งตั้ง นางเฉา ธิดาตระกูลเฉาขึ้นเป็นจักรพรรดินีองค์ที่2 ตามคำแนะนำของเหล่าเสนาบดีที่ปรึกษา

ในปีค.ศ.1048 มีเหตุจราจลของทหารองครักษ์ในพระตำหนักของจักรพรรดินีเฉา ในขณะที่จักรพรรดิซ่งเหรินจงประทับอยู่ด้วย พระนางทรงปกป้องพระสวามีอย่างดีเยี่ยม[1] แต่พระนางก็ถูกจักรพรรดิซ่งเหรินจงตำหนิและระแวงว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ ภายหลังสอบสวนได้ว่าพระนางมิได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้น[2]

พระนางไม่มีพระโอรสหรือธิดากับจักรพรรดิซ่งเหรินจง ในปีค.ศ.1036 จักรพรรดิซ่งเหรินจงได้รับ จ้าวชวู พระญาติของพระองค์ อายุ 4 พระชันษา เป็นพระราชโอรสบุญธรรม พระนางจึงได้รับ จ้าวชวู เป็นพระราชโอรสบุญธรรมด้วย ต่อมาจักรพรรดิซ่งเหรินจงได้สถาปนาเป็นพระรัชทายาท จักรพรรดินีเกาจึงได้จัดงานอภิเษกสมรส รัชทายาทจ้าวชวูกับหลานสาวของพระนาง ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิเหรินจง รัชทายาทจ้าวชวูจึงขึ้นเป็นจักรพรรดิซ่งอิงจง

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[แก้]

ในปีค.ศ.1063 จักรพรรดิซ่งอิงจงประชวรหนัก ขุนนางที่สนับสนุนจักรพรรดินีเฉา ได้เสนอให้พระนางขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระนางจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระโอรสบุญธรรมเป็นเวลา1ปี[3] แต่พระนางก็ได้รับการเตือนจากขุนนางที่เป็นพระญาติ ไม่ให้พระนางกระทำการเช่นเดียวกับจักรพรรดินีหลิว พระนางจึงระมัดระวังพระองค์เรื่องนี้มาก พระนางจึงใช้พระที่นั่งที่เล็กกว่าพระที่นั่งหลักของจักรพรรดิในการว่าราชการ[4] เมื่อจักรพรรดิฟื้นขึ้นมาในปีค.ศ.1064 บรรดาขุนนางขอให้พระนางก้าวลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และปล่อยให้จักรพรรดิซ่งอิงจงปกครองด้วยตัวเอง แต่พระนางปฏิเสธ[5] อัครมหาเสนาบดีฮันชี ได้นำเหล่าขุนนางออกจากที่ประชุมเสนาบดีในขณะที่พระนางว่าราชการ ทำให้พระนางถูกบีบไม่สามารถว่าราชการต่อไปได้จึงยอมลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ[6]

บั้นปลายพระชนม์ชีพ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1067 จักรพรรดิซ่งเฉินจงขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระนางได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า หรือตำแหน่งไท่หวังไท่โฮ่ว พระนางยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่จักรพรรดิซ่งเฉินจง[7] จนพระนางสวรรคตในปีค.ศ.1079

ลำดับจักรพรรดินี[แก้]

ก่อนหน้า จักรพรรดินีเฉา (ซ่งเหรินจง) ถัดไป
จักรพรรดินีกั้ว รายพระนามจักรพรรดินีจีน
ราชวงศ์ซ่ง

จักรพรรดินีเกา

อ้างอิง[แก้]

  1. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644
  2. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644
  3. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644
  4. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644
  5. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644
  6. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644
  7. Lily Xiao Hong Lee, Sue Wiles: Biographical Dictionary of Chinese Women, Volume II: Tang Through Ming 618 - 1644