จอห์น เทมเปิลตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอร์จอห์น เทมเปิลตัน
เกิดจอห์น มาร์ค เทมเปิลตัน
29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912(1912-11-29)
วินเชสเตอร์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008(2008-07-08) (95 ปี)
แนสซอ ประเทศบาฮามาส
สัญชาติอังกฤษ, เดิมอเมริกัน
อาชีพนักธุรกิจ, นักการกุศล

เซอร์จอห์น มาร์ค เทมเปิลตัน (อังกฤษ: Sir John Marks Templeton; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 — 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008)[1] เกิดที่สหรัฐอเมริกา เป็นทั้งนักลงทุน, นักธุรกิจ และ นักการกุศลชาวอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

จอห์น มาร์ค เทมเปิลตัน เป็นทั้งนักลงทุนและผู้จัดตั้งกองทุนรวม เขาเกิดในเมืองวินเชสเตอร์ รัฐเทนเนสซี และได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล รวมถึงได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมาคมคมอีลิฮู เขาหาเงินทุนในส่วนค่าเล่าเรียนของเขาจากการเล่นไพ่โป๊กเกอร์ ซึ่งเป็นเกมที่เขามีความชำนาญ[2] เขาสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1934 ด้วยผลการเรียนใกล้อันดับต้นๆของชั้น เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในฐานะนักเรียนทุนโรเดส และได้รับศิลปศาสตรมหาบัณฑิตทางกฎหมาย

เทมเปิลตันแต่งงานกับ จูดิธ โฟล์ค ใน ค.ศ. 1937 และทั้งคู่มีลูกสามคน ซึ่งได้แก่ จอห์นจูเนียร์, แอนน์ และ คริสโตเฟอร์ ทั้งนี้ จูดิธได้เสียชีวิตใน ค.ศ. 1951 เนื่องด้วยอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซค์ และเขาได้แต่งงานอีกครั้งกับ ไอรีน เรโนลส์ บัตเลอร์ ใน ค.ศ. 1958 ซึ่งเธอได้เสียชีวิตใน ค.ศ. 1993

เขาเป็นสมาชิกตลอดชีวิตของคริสตจักรเพรสไบที และทำหน้าที่เป็นผู้อาวุโสแห่งคริสตจักรเพรสบิเทียเรียนแรกแห่งอิงเกิิลวูด (NJ) เขาเป็นผู้จัดการมรดกในวิทยาลัยศาสนศาสตร์พรินซ์ตัน ซึ่งเป็นวิทยาลัยเพรสไบทีที่ใหญ่ที่สุด เป็นระยะเวลา 42 ปี และทำหน้าที่เป็นประธานร่วม 12 ปี

เทมเปิลตันได้กลายเป็นมหาเศรษฐี[3][4][5][6][7][8] โดยเป็นผู้บุกเบิกกองทุนรวมที่มีความหลากหลายทั่วโลก เทมเปิลตันโกรธลิมิเต็ดซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อการลงทุนของเขา ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1954 และเป็นหนึ่งในบุคคลแรกๆที่ลงทุนในประเทศญี่ปุ่นในช่วงกลางทศวรรษ 1960 [9] เขาได้รับการสังเกตว่าทำการซื้อ 100 หุ้นของแต่ละบริษัทด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 17 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) ต่อหุ้นและทำเงินกลับคืนมาหลายต่อหลายครั้งในช่วงระยะเวลา 4 ปี[10]

ใน ค.ศ. 2006 เขาได้รับการจัดอันดับ 7 ประสบการณ์ เป็นอันดับที่ 129 ในรายชื่อคนรวยของนิตยสารซันเดย์ไทม์ส เขาได้ปฏิเสธการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคสำหรับการซื้อขายหุ้น หากแต่มีความพึงพอใจกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากกว่า[6] นิตยสาร มันนี่ ใน ค.ศ. 1999 เรียกเขาว่า "ผู้สืบเสาะหุ้นระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ"[11]

เทมเปิลตันได้ประกาศสละสัญชาติสหรัฐของเขาใน ค.ศ. 1964 ด้วยเหตุนี้ ทำให้เขาสามารถหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อทำการขายกองทุนรวมต่างประเทศของเขาออกไป[12][13] เขาเป็นผู้ถือสองสัญชาติ คือ บาฮามาสกับอังกฤษ และอาศัยอยู่ในประเทศบาฮามาส

การเสียชีวิต[แก้]

วันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 เทมเปิลตันเสียชีวิตที่โรงพยาบาลด็อกเตอร์ส ในแนสซอ ประเทศบาฮามาส เนื่องด้วยปอดบวม ตามเวลาท้องถิ่น 12:20 น. ขณะที่เขามีอายุได้ 95 ปี[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 McFadden, Robert D. (2000-07-09). "Sir John M. Templeton, Philanthropist, Dies at 95". The New York Times.
  2. UK Guardian obituary
  3. "The Devout Donor" เก็บถาวร 2007-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Business Week. November 28, 2005.
  4. "Positive Psychology Network Concept Paper" เก็บถาวร 2007-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Martin E. P. Seligman. University of Pennsylvania.
  5. "Free Cash for Savvy Fools" MSNBC. April 12, 2007.
  6. 6.0 6.1 "John Templeton's Five Steps for Financial Success" เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Mark Stousen. December 11, 2005.
  7. "Testing the role of trust and values in financial decisions" Los Angeles Times. January 21, 2007.
  8. "An Investment Legend's Advice" เก็บถาวร 2008-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Bernard Condon. February 4, 2004.
  9. "The Great Investors: John Templeton." เก็บถาวร 2019-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.Alternative Stock Library, Jan. 15, 2008
  10. "Sir John Templeton, Pioneer Investor and Philanthropist" เก็บถาวร 2008-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by John Templeton Foundation
  11. “Templeton Saw It Coming” เก็บถาวร 2008-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Forbes, July 7, 2008
  12. Bauman, Robert E. (2007). Where to Stash Your Cash ... Legally, Offshore Havens of the World (2 ed.). The Sovereign Society. p. 15. ISBN 978-0-9789210-2-6. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  13. "The Long Good-Bye" เก็บถาวร 2011-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Forbes. March 28, 2005.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]