คินสึกิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คินสึกิ (คินสึงิ) (金継ぎ?, "เชื่อมด้วยทอง"), หรือ คินสึกูโรอิ (金繕い?, "ซ่อมด้วยทอง"),[1] คือศิลปะญี่ปุ่นที่ว่าด้วยเรื่องการซ่อมเครื่องปั้นดินเผาด้วยยางรักและผงทอง ผงเงิน หรือผงแพลตินัม วิธีการคล้ายกับการทำมากิเอะ[2][3][4] ในเชิงปรัชญา การแสดงให้เห็นถึงร่องรอยความเสียหายและการซ่อมแซมเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงประวัติศาสตร์วัตถุชิ้นนั้น ๆ แทนที่จะปกปิดมันไว้[5]

ประวัติ[แก้]

เทคนิคการใช้ยางรักมาซ่อมแซมส่วนที่แตกหักเสียหายของเครื่องปั้นดินเผาพบได้ตั้งแต่สมัยโจมงจากหลักฐานเครื่องปั้นดินเผาโจมงที่หลงเหลืออยู่ ในยุคมูโรมาจิ (1336 - 1573) คุณค่าทางศิลปะของคินสึกิได้รับการยอมรับจากการแพร่กระจายของงานศิลปะที่ใช้ยางรักในการรังสรรค์เช่น มากิเอะ และในพิธีการชงชาที่ให้การยอมรับวัตถุที่ถูกซ่อมแซมในแบบที่มันเป็น[6] มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ว่ากันว่า คินสึกิ ถือกำเนิดในสมัยโชกุน อาชิกางะ โยชิมาซะ ช่วงศตวรรษที่ 15 ที่ได้ส่งถ้วยชามที่แตกแล้วไปซ่อมที่ประเทศจีน จากนั้นจีนก็ส่งถ้วยชามที่ซ่อมด้วยการใช้ลวดเย็บแปะมาตามรอยแตกกลับมายังญี่ปุ่นซึ่งดูน่าเกลียดกว่าเดิม ทำให้ช่างฝีมือญี่ปุ่นต้องนำกลับมาซ่อมใหม่ให้สวยงามขึ้นด้วยเทคนิคคินสึกิ[7][8][2]

วัสดุและวิธีการทำ[แก้]

วัสดุสำหรับงานคินสึกิประกอบด้วยวัสดุหลัก ๆ ดังนี้

  1. ยางรัก - วัสดุสำคัญในหลายขั้นตอนการทำคินสึกิ ประกอบไปด้วยชนิดย่อย 2 ชนิดคือ
    1. ยางรักดิบ - ใช้สำหรับชั้นตอนการเชื่อมและการอุด
    2. ยางรักสี - ใช้สำหรับขั้นตอนการรองพื้น ประกอบไปด้วยยางรักสีดำ และยางรักสีแดง
  2. แป้งสาลี - ใช้สำหรับผสมกับยางรักให้เป็นกาวประสาน[9]เรียกว่า มูงิอูรูชิ (ญี่ปุ่น: 麦漆โรมาจิmugi-urushi)
  3. ขี้เลื่อย - ใช้สำหรับผสมกับยางรักใช้เป็นวัสดุอุดช่องว่าง[10]เรียกว่า โคกูโซะ (ญี่ปุ่น: 刻苧โรมาจิkokuso)
  4. วัสดุอุด - ใช้สำหรับผสมกับยางรักใช้เป็นวัสดุอุดพื้นผิว[11]เรียกว่า ซาบิอูรูชิ (ญี่ปุ่น: 錆漆โรมาจิsabi-urushi) มี 2 ชนิดที่นิยมใช้คือ จิโนโกะ (ญี่ปุ่น: 地の粉โรมาจิjinoko) และ โทโนโกะ (ญี่ปุ่น: 砥の粉โรมาจิtonoko)
  5. ผงโลหะมีค่า - ใช้สำหรับการประดับในขั้นตอนสุดท้ายเช่น ผงทอง ผงเงิน ผงแพลทินัม

ขั้นตอนการทำคินสึกิมักประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. การเชื่อมชิ้นส่วน - เนื่องจากยางรักยังไม่ได้แห้งและมีแรงยึดเกาะพื้นผิวทันทีหลังจากที่ทา จึงต้องอาศัยการผสมกับแป้งสาลีเพื่อช่วยเพิ่มการยึดเกาะ สิ่งสำคัญในขั้นตอนแรกคือรอยแตกที่จะทำการเชื่อมต้องสะอาดและแห้ง
  2. การอุดช่องว่าง - บางครั้งอาจมีชิ้นส่วนที่บิ่นหักออกไป เกิดเป็นช่องว่างแม้จะเชื่อมชิ้นส่วนทั้งหมดดีแล้ว จำเป็นต้องอุดช่องว่างด้วยยางรักผสมกับขี้เลื่อย
  3. การอุดพื้นผิว - ในการเชื่อมหรือการอุดช่องว่างเมื่อแห้งดีแล้วพื้นผิวที่ได้มักจะมีความไม่เรียบเนียบ สม่ำเสมอ จำเป็นต้องปรับพื้นผิวให้เรียบก่อนด้วยซาบิอูรูชิ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการโป๊วพื้นผิวก่อนการทำสี
  4. การรองพื้น - เป็นการรองพื้นผิวด้วยยางรักก่อนที่จะทำการประดับต่อไปด้วยผงโลหะมีค่าต่าง ๆ โดยที่นิยมจะรองพื้นด้วยยางรักสีแดงสำหรับการประดับด้วยผงทอง และรองพื้นด้วยยางรักสีดำสำหรับการประดับด้วยผงเงิน ยางรักที่ใช้รองพื้นนี้จะเป็นตัวยึดจับกับผงโลหะมีค่าต่าง ๆ ให้ติดกับพื้นผิว[12]
  5. การประดับ - โรยประดับด้วยผงโลหะมีค่าเช่นผงทอง ผงเงิน ผงแพลตินัม บนยางรักสีที่ทำการรองพื้นไว้ ขัดให้ขึ้นเงาเมื่อแห้งดีแล้วเป็นขั้นตอนสุดท้าย[13]

[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of kintsugi". Definition-Of. October 28, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2022. สืบค้นเมื่อ October 28, 2022.
  2. 2.0 2.1 Gopnik, Blake (March 3, 2009), "At Freer, Aesthetic Is Simply Smashing", The Washington Post, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2012.
  3. "Golden Seams: The Japanese Art of Mending Ceramics", Freer Gallery of Art, Smithsonian, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17, สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
  4. "Daijisen - 金継ぎとは - コトバンク". Kotobank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2021. สืบค้นเมื่อ October 28, 2022.
  5. "Kintsugi: The Centuries-Old Art of Repairing Broken Pottery with Gold". My Modern Met (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  6. 【文化の扉】金継ぎで器にお化粧 繕いを新たな美に・全国で体験教室盛ん เก็บถาวร 2020-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน朝日新聞』朝刊2017年9月3日
  7. "คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะความงามในความไม่สมบูรณ์แบบของญี่ปุ่น | WeXpats Guide". we-xpats.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  8. "คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต "แท้จริง!.."ไม่มีชีวิตใดในโลกนี้..ที่สมบูรณ์แบบหรอก..."". สยามรัฐ. 29 January 2021. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  9. "Mugi Urushi". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-14. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  10. "Kokuso". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  11. "SABI". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  12. "Shita-nuri, Naka nuri". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  13. "Gold joint (mending gold) What is it?" (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-05-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-20. สืบค้นเมื่อ 2014-04-02.
  14. Kemske, Bonnie (2021). Kintsugi: The Poetic Mend. Herbert Press. pp. 84–95. ISBN 978-1912217991. OCLC 1247084472.