ควอเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ควอเลีย (อังกฤษ: qualia, เอกพจน์ quale) เป็นคำในปรัชญาที่ใช้เรียกประสบการณ์แห่งการรับรู้ซึ่งเป็นอัตวิสัยจิตวิสัย คำนี้มาจากคำละตินซึ่งหมายความว่า “ลักษณะอย่างไร” หรือ “ชนิดไหน” ตัวอย่างของควอเลียคือความรู้สึกปวดหัว รสชาติของไวน์ และสีแดงของท้องฟ้าในยามเย็นที่บุคคลรู้สึกรับรู้

แดเนียว เดนเน็ทท์ (เกิด ค.ศ. 1942) คนอเมริกันผู้เป็นนักปรัชญาและนักวิทยาการรับรู้ (อังกฤษ: cognitive scientist) ได้ประพันธ์เกี่ยวกับคำว่าควอเลียไว้ว่า

“เป็นคำที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะหมายถึงสิ่งหนึ่งที่เรามีความคุ้นเคยมากที่สุด คือ แบบอย่างต่าง ๆ ที่สิ่งต่าง ๆ ปรากฏกับเรา”[1]
เออร์วิน ชโรดิงเกอร์ (ค.ศ. 1887-1961) ผู้เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง กล่าวคำที่คัดค้านนักวัตถุนิยมไว้ว่า
“ทฤษฎีคลื่นแสงที่เป็นปรวิสัย (อังกฤษ: objective) ของฟิสิกส์ ไม่สามารถอธิบายความรู้สึกในการรับรู้สีได้. นักวิทยาศาสตร์กายภาพสามารถที่จะอธิบายความรู้สึกในการรับรู้สีได้หรือไม่ ถ้าเขามีความรู้มากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้เกี่ยวกับระบบการทำงานของเรตินา และระบบการปฏิบัติงานของประสาทที่ต่อเนื่องจากเรตินาในเส้นประสาทตาและในสมอง ? ข้าพเจ้าคิดว่าไม่สามารถ”[2]

ความสำคัญของควอเลียในจิตปรัชญา (อังกฤษ: philosophy of mind) มากจากประเด็นว่า ควอเลียปรากฏเป็นปัญหาสำคัญต่อคำอธิบายปัญหากายจิต (อังกฤษ: mind-body problem) ของนักวัตถุนิยม แต่ว่า การอภิปรายถึงความสำคัญของควอเลียโดยมากเป็นไปตามคำนิยามของควอเลียที่นักอภิปรายใช้ และนักปรัชญาบางพวกก็ให้ความสำคัญ บางพวกก็ปฏิเสธ ซึ่งความมีอยู่จริง ๆ ของลักษณะเฉพาะบางอย่างของควอเลีย เพราะฉะนั้น ความเป็นไปและความมีอยู่จริง ๆ ของควอเลีย เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่

หมายเหตุ[แก้]

  1. "Dennett, D. ''Quining Qualia''". Ase.tufts.edu. 1985-11-21. สืบค้นเมื่อ 2010-12-03.
  2. Schrödinger, Erwin (2001). What is life? : the physical aspects of the living cell (Repr. ed.). Cambridge [u.a.]: Cambridge Univ. Press. ISBN 0521427088.

อ้างอิง[แก้]