คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเสนาธิการใหญ่
(โกรสเซอร์ แกเนอราลชตัพ)
นายทหารประจำคณะเสนาธิการใหญ่ ค.ศ. 1918
ประเทศ เยอรมนี
บทบาทกองบัญชาการเหล่าทัพ
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเยอรมัน-เดนมาร์ก
สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมัน: Großer Generalstab) เป็นหน่วยบัญชาการสูงสุดของกองทัพหลวงปรัสเซีย และซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน รับผิดชอบศึกษาและติดตามสถานการณ์สงครามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการร่างแผนการเคลื่อนกำลังพลหรือปฏิบัติการทางทหาร สถาบันนี้ดำรงอยู่อย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ปีค.ศ. 1806 และได้รับจัดตั้งเป็นองค์กรตามกฎหมายในปีค.ศ. 1814 การคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในสถาบันนี้จะพิจารณาจากฝีมือและประสบการณ์มากกว่าเส้นสายหรือฐานะ

สถาบันนี้เป็นองค์กรราชการที่มีความเป็นอิสระจากภาคการเมืองอย่างถึงที่สุด อำนาจจัดการตนเองของสถาบันนี้ถูกบัญญัติเป็นข้อกฎหมายพร้อมกับการรวมชาติเยอรมันในปีค.ศ. 1871 ต่อมาเมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สถาบันนี้กลายเป็นแหล่งรวมตัวของพวกทหารเยอรมันสายเหยี่ยว สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งลงนามในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 กำหนดให้ยุบคณะเสนาธิการใหญ่และกรมบัญชาการทหารสูงสุด[1] จอมพลฮินเดินบวร์คจึงลาออกในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1919 และพลโทเกรอเนอร์ลาออกในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919

รายชื่อผู้นำ[แก้]

หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่[แก้]

รายชื่อหัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ (Chef des Großen Generalstabs)

เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์[แก้]

รายชื่อเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ (Erster Generalquartiermeister) เป็นรองจากหัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  1. Christian O.E. Millntot (March 20, 1992). "UNDERSTANDING THE PRUSSIAN-GERMAN GENERAL STAFF SYSTEM" (PDF). U.S. Army War College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-22. สืบค้นเมื่อ April 22, 2019.