คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมของคณะวิชาคหกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ และคณะวิชาคหกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 มีพื้นที่การศึกษา 2 แห่ง คือ พระนครใต้ และเทคนิคกรุงเทพฯ โดยมีสีประจำคณะ คือสีชมพู ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกประยงค์ สัตว์ประจำคณะ คือ แมว

ทำเนียบคณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์[แก้]

คณบดีท่านแรก รองศาสตราจารย์จริยา เดชกุญชร ปี พ.ศ. 2549 - 2553

คณบดีท่านที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญนันท์ อบถม ปี พ.ศ. 2554 - 2557

คณบดีท่านที่ 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงฤทัย ธำรงโชติ ปี พ.ศ. 2558 - 2561

คณบดีท่านที่ 4 นางสาวณภัทร ยศยิ่งยง ปี พ.ศ. 2562 - 2565

คณบดีท่านที่ 5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนวิทย์ ลายิ้ม ปี พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ (พระนครใต้)[แก้]

คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ ก่อตั้งครั้งแรกเป็นโรงเรียนสตรีบ้านทวายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 โดยมีสัญญลักษณ์ คือใบclover 4 กลีบ ซึ่งปัจจุบันนี้ตราสัญญลักษณ์ ยังคงมีหลักฐานให้เห็นที่ อาคาร2 คณะเทคโนโลยีคหกกรมศาสตร์ พื้นที่พระนครใต้ เปิดสอนวิชาสามัญตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 และประกาศนียบัตรประโยควิสามัญการช่าง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้แยกส่วนวิชาสามัญไปสังกัดกรมสามัญศึกษา เรียกว่าโรงเรียนสตรีบ้านทวาย (ปัจจุบันคือโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย) ส่วนวิชาการช่างมาสังกัดกรมอาชีวศึกษาพร้อมทั้งเปลี่ยนพ้าชื่อเป็นโรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้เพื่อทำการสอนวิชาด้านคหกรรมศาสตร์ในระดับปวช. และปวส. และได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครใต้เมื่อ พ.ศ. 2515 เปิดสอนระดับปวช. ปวส. และปม. ในปี พ.ศ. 2518 ได้โอนจากกรมอาชีวศึกษามาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตพระนครใต้”

พ.ศ. 2523 เปิดสอนระดับ ปวส. 3 พิเศษ รับผู้มีความรู้ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.6 ปัจจุบัน) มาเรียน 1 ปี

พ.ศ. 2531 เปิดสอนระดับปริญญาตรีสายวิชาคหกรรมศาสตร์ หลักสูตรต่อเนื่อง ( 2 ปี ) สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ – พัฒนาผลิตภัณฑ์

15 กันยายน 2531 ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่าสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ สืบเนื่อง มาจากการที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”

พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สายวิชาคหกรรมศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย – อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย และสาขาวิชาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก

พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สายวิชาคหกรรมศาสตร์ หลักสูตรต่อเนื่อง (2 ปี) สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ – คหกรรมศาสตร์ทั่วไป และหลักสูตร 4 ปี สายวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ – พัฒนาผลิตภัณฑ์

พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สายวิชาคหกรรมศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ – พัฒนาผลิตภัณฑ์ นับเป็นปีแรกที่นักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชานี้จะเรียนที่วิทยาเขตพระนครใต้ได้ตลอดทั้ง 4 ปี และมีผลถึงนักศึกษาที่เข้าเรียนปี พ.ศ. 2541 ด้วย ในปีนี้เริ่มงดรับนักศึกษา ปวช. สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นปีแรก

พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง สาชาวิชาอาหารและโภชนาการ หลักสูตร 4 ปี งดเปิดสอนสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและงดรับนักศึกษาในระดับ ปวช. ทุกสาขาวิชา

พ.ศ. 2544 เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป ธุรกิจงานประดิษฐ์หลักสูตร 4 ปี และคณะวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการโรงแรม หลักสูตร 4 ปี ในปีนี้เปิดสอนสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร ระดับ ปวส. ใหม่อีกครั้ง ส่วนนักศึกษาระดับ ปวช. เหลือเป็นปีสุดท้าย

พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา – คหกรรมศาสตร์ทั่วไป หลักสูตร 4 ปี เป็นปีแรกที่วิทยาเขตจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เปิดสอน 2 ระดับ คือ ระดับ ปวส. และปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่องและหลักสูตร 4 ปี

พ.ศ. 2546 เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย หลักสูตร 4 ปี และคณะเกษตรศาสตร์บางพระ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหลักสูตร 4 ปี

พ.ศ. 2566 เปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาโท หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์ และ ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์

คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ (เทคนิคกรุงเทพฯ)[แก้]

ภายหลังการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ขึ้น แล้วเมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม 2495 โดยมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารอำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากองค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติงาน ในสาขาช่างอุตสาหกรรม 4 ท่าน ใน 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาช่างโลหะ, สาขาการศึกษา – อุตสาหกรรม, สาขาช่างพิมพ์ และจัดส่งข้าราชการของวิทยาลัยไปศึกษาและดูงานเพิ่มเติมในสหรัฐอเมริกา จำนวน 7 สาขาวิชาและในจำนวน 7 สาขาวิชา มีเคหศาสตร์ร่วมอยู่ด้วย เพื่อกลับมาจัดตั้งคณะเคหศาสตร์ อาจารย์ท่านนี้ คือ อาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์

พ.ศ. 2495 วิทยาลัยเทคนิคเปิดสอน 4 แผนก คือ แผนกวิทยุ, แผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา, แผนกช่างก่อสร้าง, แผนกพาณิชยการ

พ.ศ. 2496 ข้าราชการของวิทยาลัยเทคนิคไปศึกษาเพิ่มเติม อยู่สหรัฐอเมริกาด้วยทุนของโครงการส่งเสริมความมั่นคง 7 สาขาวิชาได้แก่ สาขาช่างก่อสร้าง, สาขาเคหศาสตร์, สาขาออกแบบและต่อเรือเล็ก, สาขาช่างพิมพ์, เครื่องยนต์, ช่างไฟฟ้า และการบัญชี

พ.ศ. 2497 วิทยาลัยเปิดสอนแผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย, แผนกวิชาอาหารและโภชนาการและแผนกวิชาช่างตัดเสื้อชาย โดยมีอาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์ เป็นหัวหน้าคณะวิชาคนแรก

พ.ศ. 2499 มหาวิทยาลัยเวนเสตท ร่วมกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย ได้เซ็นสัญญาช่วยเหลือในการเรียนการสอน มีกำหนดเวลา 3 ปี ผู้เชี่ยวชาญรุ่นแรกจำนวน 7 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านช่างโลหะ เครื่องยนต์ ไฟฟ้า อุตสาหกรรมศิลป์ บริษัทธุรกิจ ช่างพิมพ์และเคหศาสตร์

พ.ศ. 2502 คณะวิชาเคหศาสตร์ เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิชาคหกรรมศาสตร์เพื่อให้มีความหมายตรงกับคำ ในภาษาอังกฤษ คือ Home Economics โดยพระยาอนุมานราชธน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสถาบันการศึกษา ทางคหกรรม-ศาสตร์ของไทย

พ.ศ. 2506 เปิดสอนแผนกฝึกหัดครูคหกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การสหรัฐประชาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูสายคหกรรมศาสตร์แต่จัดการเรียนการสอนอยู่เพียง 5 รุ่น เท่านั้น

พ.ศ. 2509 แผนกช่างตัดเสื้อชาย ได้ย้ายไปสังกัดวิทยาลัยชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พ.ศ. 2512 แผนกฝึกหัดครูคหกรรมศาสตร์ เปลี่ยนหลักสูตรเป็นวิชาชีพเช่นเดียวกับแผนกวิชาอื่นในระดับ ปวส. และเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป

พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีพุทธศักราช 2518 ได้โอนกิจการบางส่วนของกรมอาชีวศึกษามาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา

พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ “ และกำหนด ให้วันที่ 15 กันยายน ของทุก ๆ ปี เป็นวันราชมงคล

พ.ศ. 2536 คณะวิชาคหกรรมศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ในสาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย – ธุรกิจเสื้อผ้า และสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ - ธุรกิจอาหาร

พ.ศ. 2538 เปิดศูนย์วิจัยและฝึกอบรมอุตสาหกรรมเสื้อผ้า เป็นศูนย์สำหรับค้นคว้าวิจัยและทดลองเพื่อพัฒนาการออกแบบและเทคโนโลยีใหม่ ศูนย์รวมเครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรมและคอมพิวเตอร์ อบรมเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเสื้อผ้าให้บุคลากรในส่วนราชการและสถานประกอบการ

พ.ศ. 2539 เปิดสอนปริญญาตรี 2 ปี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี (ต่อเนื่อง)ในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา –

คหกรรมศาสตร์ทั่วไป และปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ, สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายและสาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา – ธุรกิจงานประดิษฐ์

ปัจจุบะร เปิดสอนหลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอาหาร

การบริหารงาน[แก้]

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการและภารงานไว้อย่างจัดเจน ซึ่งมีคณบดีเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบงานของคณะ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย สำนักงานคณบดี ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ ภาควิชาแฟชั่นและออกแบบเครื่องแต่งกาย และภาควิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และออกแบบงานประดิษฐ์[1]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]