คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
Faculty of Industry and Technology, Rajamangala University of Technology Isan
สถาปนาพ.ศ. 2550
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยา แก้วอาษา
ที่อยู่
วารสาร-
สี  สีเทา
สถานปฏิบัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
เว็บไซต์www.fit.rmuti.ac.th

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (Faculty of Industry and Technology) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ สังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย (Multi technology Campus) เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน นักศึกษา และชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2535 ได้รับมอบที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์จากสภาตำบลพังโคน จำนวนเนื้อที่ 293 ไร่ โดยอนุมัติของ กระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2536 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ เป็นค่าเชื้อเพลิงในการปรับปรุงพื้นที่จำนวน 100,000 บาท
  • พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณ เพื่อสร้างรั้วล้อมรอบพื้นที่และสร้างถนนดินลูกรังถมทางเข้าวิทยาเขตสกลนคร พร้อมทั้งยังได้รับความร่วมมือจาก วิทยาเขตขอนแก่น และวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการวางแผนแม่บทออกแบบสิ่งก่อสร้างอาคารต่างๆ สำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร
  • พ.ศ. 2538 ประกาศจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร ฝากนักศึกษาหลักสูตร วท.บ (สัตวศาสตร์) เรียนที่ วิทยาเขตกาฬสินธุ์ หลักสูตร ปวส. (ช่างก่อสร้าง) เรียนที่ วิทยาเขตขอนแก่น และหลักสูตร ปวส.(การตลาด) เรียนที่วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
  • พ.ศ. 2539 ได้ย้ายสำนักงานชั่วคราวจากวิทยาเขตขอนแก่น มาดำเนินการที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2539 เปิดสอนหลักสูตร วท.บ. (สัตวศาสตร์) เรียนที่สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร

  • พ.ศ. 2540 ในปีการศึกษา 2540 รับนักศึกษาเข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • พ.ศ. 2548 ประกาศจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ตามราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548
  • พ.ศ. 2550 ปรับโครงสร้างใหม่ประกอบด้วย สำนักงานวิทยาเขตวิทยาเขตสกลนคร คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะทรัพยากรธรรมชาติ

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร[1]
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตรปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

1.หลักสูตร 3 ปีรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3) หรือเทียบเท่า

  • โรงเรียนสาธิตเตรียมวิศวกรรมและเทคโนโลยี
    • โปรแกรมวิชาไฟฟ้า
    • โปรแกรมวิชาช่างโยธา
    • โปรแกรมวิชาช่างยนต์
    • โปรแกรมวิชาการบัญชี


หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

1.หลักสูตร 2 ปีรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร (ปวช.) และมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6) หรือเทียบเท่า

  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • โปรแกรมวิชาไฟฟ้า
    • โปรแกรมวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
    • โปรแกรมวิชาช่างโยธา
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
    • โปรแกรมวิชาช่างยนต์
  • สาขาบริหารธุรกิจ
    • โปรแกรมวิชาการบัญชี
    • โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • โปรแกรมวิชาการจัดการ
    • โปรแกรมวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก โดยความร่วมมือกับ CP All
หลักสูตร 4 ปี รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ

มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่า

  • สาขาบริหารธุรกิจ
  • ( บัญชีบัณฑิต : บช.บ.) โปรแกรมวิชาการบัญชี
  • ( บริหารธุรกิจบัณฑิต : บธ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
    • โปรแกรมวิชาการจัดการ
  • สาขาศิลปศาสตร์ ( ศิลปศาสตรบัณฑิต : ศศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล'
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต : ค.อ.บ. )
    • โปรแกรมวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  • ( วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมโยธา ( วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ( วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรม อุตสาหการ
  • สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ( วิทยาศาสตรบัณฑิต : วท.บ.)
    • โปรแกรมวิชาเคมีประยุกต์
หลักสูตร 3 ปี ( เทียบโอนรายวิชา ) รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมโยธา (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต : วศ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรม อุตสาหการ
หลักสูตร 2 ปี รับผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต: อส.บ.)
    • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต : อส.บ.)
    • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต : อส.บ.) โดยความร่วมมือกับ บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด
    • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
  • สาขาบริหารธุรกิจ
  • (บัญชีบัณฑิต : บช.บ.) โปรแกรมวิชาการบัญชี
  • (บริหารธุรกิจบัณฑิต : บธ.บ.)
    • โปรแกรมวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
    • โปรแกรมวิชาการจัดการ
หลักสูตรระดับปริญญาโท 2 ปี รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วศ.บ. อส.บ. ค.อ.บ. ทล.บ. วท.บ. หรือเทียบเท่า
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : วศ.ม.)
    • โปรแกรมวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ภาคปกติ และภาคสมทบ):


รายนามคณบดี[แก้]

ลำดับ ปีที่ดำรงวาระ รายนาม
1 2550 - 2553 รองศาสตราจารย์ธนประเสริฐ จุฑางกูร
2 2554 - 2557 รองศาสตราจารย์ธนานันต์ กุลไพรบุต
3 2558 - 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมินทร เบ้าธรรม
4 2561 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยา แก้วอาษา

อ้างอิง[แก้]

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เก็บถาวร 2020-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-11. สืบค้นเมื่อ 2017-11-26.