ขนมพระพาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขนมพระพาย

ขนมพระพาย (Steamed Glutenous Rice Ball with Mung Bean Filling)[1]: 41 [2]: 158  เป็นขนมไทยชาววังโบราณในกลุ่มขนมงานแต่ง เข้าใจว่าน่าจะมาจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องว่าง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงถอดชื่อขนมมาจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาอีกทอดหนึ่ง[2]: 7  มีลักษณะเป็นทรงกลมสอดไส้ถั่วกวน ตัวขนมด้านนอกทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้าผสมสีธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ใบเตย ดอกอัญชัญ ดอกกระเจี๊ยบ ฯลฯ นำไปนวดกับน้ำมะลิแล้วนำไปห่อถั่วกวนที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ แล้วนำไปนึ่งบนลังถึงด้วยน้ำเดือดจัด จัดเสิร์ฟโดยรองด้วยใบตองทรงกลมขนาดใหญ่กว่าขนมพระพายเล็กน้อย หยอดด้วยกะทิราดหน้าก่อนรับประทาน[3]: 12 

ขนมพระพายมีความเหนียวนุ่ม หอมกลิ่นกะทิ เป็นขนมชาววังโบราณที่หารับประทานได้ยากเนื่องจากใช้ในงานพิธีมงคลเท่านั้น เช่น พิธีแห่ขันหมาก[4]: 10 

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. มณเฑียร ศุภลักษณ์. (2541). ตำนานขนมไทย. กรุงเทพฯ: เอส.ที.พี. เวิลด์ มีเดีย. 112 หน้า. ISBN 978-974-8-65842-1
  2. 2.0 2.1 วันดี ณ สงขลา. (2535). "ขนมพระพาย (Ka Nom Phra Phai)", ใน อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2 จาก "กาพย์เห่ชมเครื่องว่าง" บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖). Thai Foods From Thai Literature Book II: From "Karb Hae Chom Kreaung Wang" of KING RAMA THE SIXTH. กรุงเทพฯ: วันดี. 184 หน้า.
  3. กัญญภัสร์ จำปาศิลป์. (2550). "ขนมพระพาย", ใน THAI DESSERT ขนมไทยโบราณ. ปทุมธานี: [ม.ป.พ.]. 15 หน้า.
  4. ศนิวาร์ ชยะสฤษดิ์. (2549). การศึกษาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต (สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์) คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบาลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. 139 หน้า. ISBN 974-523-108-8