การโจมตีอิสราเอลด้วยจรวดของปาเลสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิสัยของจรวดที่ยิงจากฉนวนกาซา (10–160 กม.)

ตั้งแต่ปี 2544 นักรบชาวปาเลสไตน์ยิงจรวดและปืนครกหลายพันลูกและนัดต่ออิสราเอลจากฉนวนกาซา โดยเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่กำลังดำเนินอยู่ ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2557 การโจมตีดังกล่าวฆ่าพลเรือนชาวอิสราเอล 27 คน พลเมืองต่างด้าว 5 คน ทหาร IDF 5 คน และชาวปาเลสไตน์อีกอย่างน้อย 11 คน[1] แต่ผลกระทบหลักคือทำให้เกิดการบาดเจ็บทางใจอย่างกว้างขวางและการรบกวนชีวิตประจำวันของพลเมืองชาวอิสราเอล การศึกษาทางการแพทย์ในสะเดรอด (Sderot) นครของอิสราเอลที่อยู่ใกล้ฉนวนกาซามากที่สุด พบอุบัติการณ์ของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ในเด็กเล็กถึง 50% เช่นเดียวกับอัตราโรคซึมเศร้าและการแท้งสูง[2][3][4] ผลสำรวจความเห็นสาธารณะซึ่งจัดทำในเดือนมีนาคม 2556 พบว่าชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนการยิงจรวดใส่อิสราเอลจากฉนวนกาซาและมีเพียง 38% สนับสนุนการใช้ และกว่า 80% สนับสนุนการประท้วงแบบไม่รุนแรง[5] การสำรวจอีกครั้งหนึ่งที่จัดทำในเดือนกันยายน 2557 พบว่าชาวปาเลสไตน์ 80% สนับสนุนการยิงจรวดใส่อิสราเอลหากไม่อนุญาตให้เข้าออกกาซาอย่างอิสระ[6] การโจมตีด้วยจรวดเหล่านี้ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน[7]

อาวุธดังกล่าว ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า กัสซัม เดิมหยาบและมีพิสัยใกล้ โดยมีผลต่อสะเดรอดและชุมชนอื่นที่อยู่ติดฉนวนกาซาเป็นหลัก ในปี 2006 เริ่มมีการใช้จรวดที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีพิสัยถึงนครชายฝั่งแอชคะลอน (Ashkelon) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นปี 2552 นครใหญ่แอชดอด (Ashdod) และเบียร์ชีบา ถูกจรวดยิง ในปี 2555 เยรูซาเล็มและศูนย์กลางพาณิชย์ของอิสราเอล เทลอาวีฟ ตกเป็นเป้าของจรวด[8] และในต้นเดือนกรกฎาคม 2557 นครไฮฟาทางเหนือตกเป็นเป้าครั้งแรก[9] โปรเจกไทล์บางชนิดมีฟอสฟอรัสขาวซึ่งกล่าวกันว่ารีไซเคิลจากเครื่องกระสุนที่ไม่ระเบิดที่อิสราเอลใช้ทิ้งระเบิดกาซา[10][11][12][13][14]

กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ทุกกลุ่มลงมือโจมตีดังกล่าว[15] และก่อนหน้าสงครามกาซา ปี 2551–2552 ได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่อยู่เนือง ๆ[16][17][18][19] แม้เป้าหมายที่แถลงไว้จะไม่ตรงกัน การโจมตีเหล่านี้ถูกประณามอย่างกว้างขวางเพราะมุ่งเป้าพลเรือน และสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและข้าราชการอิสราเอลเรียกการโจมตีดังกล่าวว่าเป็นการก่อการร้าย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนองค์การนิรโทษกรรมสากลและฮิวแมนไรต์วอชนิยามว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม ประชาคมนานาชาติถือว่าการโจมตีไม่เลือกต่อพลเรือนและสิ่งปลูกสร้างพลเรือนซึ่งไม่แยกแยะระหว่างเป้าหมายพลเรือนและทหารมิชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ[20][21]

การป้องกันของอิสราเอลที่มีการก่อสร้างขึ้นเพื่อรับมือกับอาวุธดังกล่าวโดยเฉพาะได้แก่ป้อมสนามสำหรับโรงเรียนและป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางตลอดจนระบบเตือนภัยชื่อ เรดคะเลอร์ อิสราเอลพัฒนาไอเอิร์นโดม ระบบดักจับจรวดพิสัยใกล้ และมีการนำมาใช้ครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 2554 เพื่อคุ้มครองเบียร์ชีบาและแอชคะลอน แต่ข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าอาจไม่ได้ผลอย่างสมบูรณ์

ในวัฏจักรความรุนแรง การโจมตีด้วยจรวดสลับกับการปฏิบัติทางทหารของอิสราเอล นับแต่อินติฟาดาอัลอักซออุบัติ (30 กันยายน 2543) ถึงเดือนมีนาคม 2556 มีการยิงจรวด 8,749 ลูกและปืนครก 5,047 นัดต่ออิสราเอล[22] ส่วนอิสราเอลดำเนินปฏิบัติการทางทหารหลายครั้งในฉนวนกาซา ครั้งล่าสุดได้แก่ ปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์ (ปี 2557)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Attacks on Israeli civilians by Palestinians". B'Tselem. 24 July 2014.
  2. Report: Missiles on Sderot increase miscarriages, Jerusalem Post 24-02-2013
  3. Study: Half of Sderot's toddlers suffering from PTSD, Ynet News 30-06-2009
  4. Israeli survey: Almost half of Sderot preteens show symptoms of PTSD, Haaretz 20-11-2012
  5. "Poll: Hamas continues to lose popularity among Palestinians". The Jerusalem Post. April 10, 2013. สืบค้นเมื่อ August 10, 2018.
  6. 80% of Palestinians Support Resumption of Rocket Fire Against Israel: New Poll, Algemeiner Journal 30-09-2014
  7. "Rocket fire targets Tel Aviv airport as Air Canada flight due to land". thestar.com. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
  8. Two rockets land outside J'lem; two fired at TA, Jerusalem Post 16-11-2012
  9. "IDF examining whether missiles were fired at Haifa and area | JPost | Israel News". JPost. สืบค้นเมื่อ 2014-07-11.
  10. Ilana Curiel Phosphorus mortar shell detected in Negev Ynet 14 January 2009
  11. Yanir Yagna, Eli Ashkenazi, Anshel Pfeffer Hamas Launches First Phosphorus Rocket at Negev; No Injuries Reported Haaretz 15 January 2009:’Palestinian militants fired a phosphorus rocket at Israel for the first time yesterday, one of 17 fired into Israel as fighting entered its 19th day. The phosphorus rocket exploded in an open field in the western Negev. No injuries or damage were reported.
  12. Ali Waked 'We used phosphorus fired in Gaza war' Ynet 16 September 2010:’ A member of the one of the Palestinian militant groups in Gaza admitted to Ynet on Thursday that the phosphorus used in the rockets fired on Israel Wednesday contained material gathered from shells Israel itself fired on Gaza during Operation Cast Lead. Still, the source said the groups' use of phosphorus shells was "an experiment" and that there are no plans to put it to mass use. "We don't have the kind of phosphorus the Israelis are talking about."
  13. White phosphorus found in mortar shells fired from Gaza". Ynet 1 January 2012.
  14. Eshkol Council Head Files UN Complaint over Mortar Fire Jerusalem Post 16 September 2010.
  15. Israel/Gaza Operation 'Cast Lead': 22 Days of Death and Destruction , Amnesty International 2009
  16. Ethan Bronner, Poll Shows Most Palestinians Favor Violence Over Talks, 19-03-2008
  17. Poll No. 13 – Press Release เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, PSR – Survey Research Unit 30-09-2004
  18. Palestinian – Israeli Joint Press Release เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, PSR – Survey Research Unit 26-09-2006
  19. Palestinian – Israeli Joint Press Release เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, PSR – Survey Research Unit 24-03-2008
  20. "Gaza: Palestinian Rockets Unlawfully Targeted Israeli Civilians". hrw.org/news/. Human Rights Watch. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  21. "Protection of the civilian population". Protocol Additional to the Geneva Conventions of 12 August 1949, and relating to the Protection of Victims of International Armed Conflicts (Protocol I), 8 June 1977. International Committee of the Red Cross. สืบค้นเมื่อ 10 July 2014.
  22. "Rocket and mortar fire into Israel". B'Tselem. 24 July 2014 [1 January 2011]. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.