การแข่งขันสู่ทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันสู่ทะเล
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ใน สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

การเคลื่อนไหวโอบปีกของฝรั่งเศส-เยอรมัน, 15 กันยายน – 8 ตุลาคม ค.ศ. 1914
วันที่17 กันยายน – 19 ตุลาคม 1914
สถานที่
ฝรั่งเศส และ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเบลเยียม
49°30′N 02°50′E / 49.500°N 2.833°E / 49.500; 2.833
ผล ยังตัดสินไม่เด็ดขาด
คู่สงคราม
 เบลเยียม
 ฝรั่งเศส
 สหราชอาณาจักร
 เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1
โฌแซ็ฟ ฌ็อฟร์
เซอร์ John French
เอริช ฟ็อน ฟัลเคินไฮน์

การแข่งขันสู่ทะเล (ฝรั่งเศส: Course à la mer; เยอรมัน: Wettlauf zum Meer, ดัตช์: Race naar de Zee) เกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณวันที่ 17 กันยายน - 19 ตุลาคม ค.ศ. 1914 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภายหลังจากยุทธการที่ชายแดน(Battle of the Frontiers) (7 สิงหาคม – 13 กันยายน) และเยอรมันรุกเข้าสู่ฝรั่งเศส การบุกครองได้ถูกหยุดชะงักในยุทธการที่มาร์นครั้งที่หนึ่ง (5–12 กันยายน) และตามมาด้วยยุทธการที่แอนครั้งที่หนึ่ง (13–28 กันยายน) การรุกตอบโต้กลับของฝรั่งเศสและอังกฤษ ชื่อนี้ได้อธิบายถึงความพยายามซึ่งกันและกันของกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษและกองทัพเยอรมันในการโอบล้อมปีกด้านเหนือของกองทัพฝ่ายข้าศึกผ่านทางจังหวัดปีการ์ดี อาร์ตัวส์ และฟลานเดอร์ มากกว่าความพยายามที่จะเข้ารุกไปทางเหนือสู่ทะเล คำว่า "การแข่งขัน" จะสิ้นสุดลงที่ชายฝั่งทะเลเหนือของเบลเยียม ประมาณวันที่ 19 ตุลาคม เมื่อพื้นที่เปิดโล่งล่าสุดจาก Diksmuide สู่ทะเลเหนือที่ถูกยึดครองโดยกองกำลังทหารเบลเยียมซึ่งได้ล่าถอยออกไป ภายหลังจากการล้อมที่แอนต์เวิร์ป (28 กันยายน – 10 ตุลาคม) ความพยายามที่จะโจมตีโอบล้อมด้านข้างได้ส่งผลทำให้เกิดการรบเผชิญหน้าหลายครั้ง แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด

ภายหลังจากกองทัพข้าศึกได้มาถึงทะเลเหนือแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้พยายามดำเนินการรุกที่นำไปสู่ยุทธการที่แม่น้ำอีแซร์ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างได้รับบทเรียนราคาแพงและยังตัดสินไม่เด็ดขาด ตั้งแต่ 16 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน และยุทธการที่แม่น้ำอิพร์ครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่ 19 ตุลาคม ถึง 22 พฤศจิกายน ภายหลังกลางเดือนพฤศจิกายน ปฏิบัติการในท้องถิ่นได้ถูกดำเนินการโดยทั้งสองฝ่ายและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการรุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1915 เอริช ฟ็อน ฟัลเคินไฮน์ หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ (Oberste Heeresleitung OHL) นับตั้งแต่ 14 กันยายน ได้ให้ข้อสรุปว่าแนวรบด้านตะวันตกไม่สามารถบรรลุชัยชนะอย่างเด็ดขาดได้ และด้านตะวันออกก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เช่นกัน ฟัลเคินไฮน์ได้ละทิ้ง Vernichtungsstrategie (ยุทธศาสตร์แห่งการทำลายล้าง) และพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อสันติภาพกับหนึ่งในศัตรูของเยอรมนี โดย Ermattungsstrategie (ยุทธศาสตร์แห่งความอ่อนล้า) เพื่อทำให้เยอรมนีสามารถรวบรวมทรัพยากรอย่างเด็ดขาดเพื่อเอาชนะศัตรูที่เหลืออยู่

ตลอดช่วงภาวะเงียบสงบในช่วงฤดูหนาว กองทัพฝรั่งเศสได้ก่อตั้งพื้นฐานทางทฤษฏีของการทำสงครามสนามเพลาะเชิงรุก ก่อให้วิธีการมากมายซึ่งกลายเป็นมาตรฐานสำหรับส่วนที่เหลือของสงคราม กลยุทธ์การแทรกซึ่ม(Infiltration tactics) ซึ่งการก่อตัวของทหารราบที่กระจัดกระจายกันไปตามมาด้วย nettoyeurs de tranchée (นักขจัดสนามเพลาะ) เพื่อเข้ายึดจุดแข็งที่เป็นทางผ่านได้ถูกประกาศใช้ การสังเกตการณ์ปืนใหญ่จากเครื่องบินและ creeping barrages ได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกอย่างเป็นระบบในยุทธการที่อาร์ตัวส์ครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ถึง 18 มิถุนายน ค.ศ. 1915 ฟัลเคินไฮน์ได้จัดทำบันทึกเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 7 และ 25 มกราคม ค.ศ. 1915 เพื่อควบคุมดูแลการสู้รบป้องกันบนแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งแนวหน้าที่ดำรงอยู่จะต้องได้รับการเสริมกำลังและถูกควบคุมอย่างไม่มีกำหนดด้วยกองกำลังทหารจำนวนน้อย เพื่อทำให้สามารถส่งกองพลไปยังแนวรบด้านตะวันออกได้มากขึ้น การป้องกันแห่งใหม่จะต้องถูกสร้างขึ้นหลังแนวหน้าเพื่อให้มีการบุกทะลวงจนกว่าตำแหน่งจะถูกกอบกู้กลับคืนมาโดยการโจมตีตอบโต้กลับ กองทัพเยอรมันตะวันตกได้ริเริ่มงานใหญ่ในการสร้างป้อมปราการภาคสนาม ซึ่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1915