การเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลี สำหรับใช้ในการเขียนอักษรไทยนั้นมีระบบที่ค่อนข้างชัดเจน อาจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) ราชบัณฑิตยสถานยังไม่ได้วางหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาบาลี แต่ในบรรดาชาวไทยที่รู้ภาษาบาลี จะยึดธรรมเนียมการทับศัพท์ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นมาตรฐานไปแล้ว

การทับศัพท์ภาษาบาลี[แก้]

การทับศัพท์ภาษาบาลีด้วยอักษรไทยนั้น อาจแตกต่างจากการทับศัพท์ภาษาอื่น ๆ เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีอักษรเฉพาะ ดังนั้น การทับศัพท์ด้วยอักษรไทย จึงไม่อาจระบุได้ว่าทับศัพท์จากอักษรต้นแบบชนิดใด แต่ยึดถือจากเสียงเดิมเป็นหลัก โดยมีแบบแผนดังนี้

พยัญชนะ[แก้]

(พยัญชนะเดี่ยว ๆ เมื่อไม่มีสระมาประสม ถือว่าไม่มีเสียง จะเขียนพินทุใต้ตัวอักษรนั้น (แต่เพื่อความสะดวกในการเขียนอ่าน ในที่นี้จึงไม่ใส่พินทุ)

วรรค ก
วรรค จ ญ¹
วรรค ฏ ฐ¹
วรรค ต
วรรค ป
อวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
¹ ในการเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย ไม่นิยมเขียนเชิงของพยัญชนะ ญ และ ฐ

สระ[แก้]

อ อา
อิ อี
อุ อู
เอ โอ

เครื่องหมาย[แก้]

เครื่องหมายอื่น ๆ ที่ใช้ในการทับศัพท์ภาษาบาลีได้แก่

  • พินทุ ใต้ตัวพยัญชนะ เมื่อพยัญชนะนั้นเป็นตัวสะกด หรือตัวกล้ำเสียง เช่น จกฺก (จัก-กะ) ในตำราเก่าอาจพบการใช้ทัณฑฆาตแทน
  • ยามักการ เหนือตัวพยัญชนะ เมื่อพยัญชนะนั้นเป็นตัวกล้ำเสียง หรือตัวสะกดและกล้ำเสียงในเวลาเดียวกัน เช่น ส๎วาก (สะ-หฺวาก) ปัจจุบันนิยมใช้พินทุมากกว่าเพราะสะดวกในการป้อนข้อความ
  • นิคหิต เหนือพยัญชนะ เพื่อให้ออกเสียงสระนาสิก (เหมือนมี งฺ สะกด) พบได้บนสระ อ อิ อุ เช่น ต๎วํ/ตฺวํ (ตะ-วัง), พุทฺธํ (พุท-ธัง)

การทับศัพท์จากอักษรโรมัน[แก้]

สำหรับภาษาบาลีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มีธรรมเนียมการทับศัพท์ ดังนี้

พยัญชนะ[แก้]

k kh g gh
c ch j jh ñ
ṭh ḍh
t th d dh n
p ph b bh m
y r l v s h ḷ ṃ

สระ[แก้]

a ā
i ī
u ū
e o

ตัวอย่างการทับศัพท์[แก้]

  • Namo tassa bhagavato arahato sammāsambhuddhassa.
  • นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

การทับศัพท์แบบอื่น[แก้]

สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาภาษาบาลี อาจประสบปัญหาในการอ่านภาษาบาลีอักษรไทย ที่ทับศัพท์ตามแบบข้างต้น ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมใช้การทับศัพท์อย่างง่าย เพื่อความสะดวกในการอ่านสำหรับบุคคลทั่วไป โดยไม่ใช้พินทุ และเพิ่มวิสรรชนีย์

  • Namo tassa bhagavato arahato sammāsambuddhassa.
  • นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ดูเพิ่ม[แก้]