การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์ (อังกฤษ: Dissociated sensory loss) เป็นรูปแบบความเสียหายทางประสาทที่เกิดจากรอยโรคที่ลำเส้นใยประสาทลำเดียวที่ไขสันหลัง ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในร่างกายซีกหนึ่งโดยต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค โดยไม่เสียความรู้สึกเจ็บและความเย็นร้อน หรืออาจเกิดตามนัยตรงกันข้าม[1][2][3][4] อีกนัยหนึ่ง เป็นรูปแบบความเสียหายทางประสาทที่เกิดจากรอยโรคที่ข้างเดียว (ในสองข้าง) ของไขสันหลัง ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในร่างกายซีกหนึ่งโดยต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค และเสียความรู้สึกเจ็บและความเย็นร้อนอีกซีกหนึ่งต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค[5][6] ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้มาจากการส่งข้อมูลสัมผัสละเอียดบวกอากัปกิริยา กับความเจ็บปวดบวกอุณหภูมิ ผ่านวิถีประสาทที่ต่างกันไปยังสมอง[5][7]

การเสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิเกิดจากความเสียหายที่ spinothalamic tract ด้านข้างของไขสันหลัง ซึ่งวิ่งข้ามไขสันหลังในระดับใกล้ ๆ กับที่ใยประสาทวิ่งเข้าไขสันหลัง แล้วดำเนินขึ้นไปยังสมองในซีกตรงข้ามของร่างกายจากจุดเริ่มต้น (first order neuron) คือ วิ่งขึ้นในด้านตรงข้าม (contralateral) ให้สังเกตว่า รอยโรคที่ลำเส้นใยประสาทของ spinothalamic tract ด้านข้างในระดับหนึ่ง ๆ จะไม่ทำให้เสียความรู้สึกใน dermatome[A] ที่อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะใยประสาทที่เข้าไปในไขสันหลังจะวิ่งขึ้นตาม tract of Lissauer ในซีกร่างกายเดียวกัน 1-2 ข้อกระดูกสันหลังก่อนจะข้ามไขว้ทแยงไปอีกด้านหนึ่ง และดังนั้น จึงอ้อมผ่านลำเส้นใยประสาทซีกร่างกายตรงกันข้ามที่เสียหาย

ส่วนการสูญการรู้สัมผัสละเอียดและอากัปกิริยา จะมาจากความเสียหายต่อทางเดินประสาท dorsal column ในไขสันหลัง ซึ่งไม่ข้ามทแยงไปซีกตรงกันข้ามจนกระทั่งถึงก้านสมอง และดังนั้น จึงวิ่งขึ้นตามไขสันหลังในซีกเดียวกัน (ipsilateral) กับเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้น นี่จึงหมายความว่า รอยโรคที่ dorsal column จะทำให้เสียความรู้สึกสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในระดับใต้รอยโรคซีกร่างกายเดียวกัน เทียบกับรอยโรคที่ spinothalamic tract ซึ่งจะทำให้เสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิในระดับใต้รอยโรคซีกร่างกายตรงกันข้าม ดังนั้น การมีอาการ Dissociated sensory loss แสดงนัยว่า มีรอยโรคเฉพาะที่ภายในไขสันหลังหรือก้านสมอง

ตำแหน่งรอยโรคในไขสันหลังจะมีผลต่ออาการ ยกตัวอย่างเช่น รอยโรคที่ไขสันหลัง (เช่นของกลุ่มอาการเหตุไขสันหลังเป็นโพรง [syringomyelia]) ซึ่งเป็นความเสียหายต่อ second order neuron ของ spinothalamic tract ช่วงที่กำลังข้ามทแยงในไขสันหลัง จะทำให้เสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิโดยไม่เสียสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยา

เหตุต่าง ๆ ของอาการนี้รวมทั้ง

  • เบาหวาน
  • กลุ่มอาการเหตุไขสันหลังเป็นโพรง (syringomyelia)
  • Brown-Séquard syndrome
  • Lateral medullary syndrome หรือ Wallenberg's syndrome
  • Anterior spinal artery thrombosis
  • Tangier disease
  • Subacute combined degeneration
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • Tabes dorsalis
  • Friedreich's ataxia (หรือ spinocerebellar degeneration ประเภทอื่น ๆ)

เชิงอรรถ[แก้]

  1. dermatome เป็นบริเวณผิวหนัง ที่ได้ใยประสาทจากเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) เพียงเส้นเดียวเป็นหลัก[8] มีเส้นประสาทไขสันหลัง 8 เส้นในระดับคอ (cervical ยกเว้น C1 ซึ่งไม่มี dermatome) 12 เส้นระดับอก (thoracic) 5 เส้นระดับเอว (lumbar) และ 5 เส้นระดับกระเบนเหน็บ (sacral) โดยแต่ละเส้นจะส่งความรู้สึกรวมทั้งความเจ็บปวดจากบริเวณผิวหนังที่เฉพาะเจาะจงไปยังระบบประสาทกลาง (CNS)

อ้างอิง[แก้]

  1. "1.3. TYPES OF SENSORY LOSS". Pain Clinic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-16. สืบค้นเมื่อ 2017-11-05. 11. Lesion in the single tract of the spinal cord which involves selective loss of fine touch and proprioception without loss of pain and temperature, or vice-versa is - dissociated sensory loss.
  2. Campbell, William W (2012). "36 Sensory Localization". Lippincott Williams & Wilkins. p. 545. ISBN 9781451109207 https://books.google.co.th/books?id=__yTllOX10wC&pg=PA545&lpg=PA545&dq=what%27s+Dissociated+sensory+loss&source=bl&ots=8LZ_fosM3d&sig=SjRKshGdRCb2JfrnA2FpZYrnwtI&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEwiUoeWV_qXXAhWCH5QKHf-cDJg4ChDoAQhQMAg#v=onepage&q=what%27s%20Dissociated%20sensory%20loss&f=false. {{cite book}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Koçanaoğulları, Osman (MD) (2015-05-09). "Dissociated sensory loss". Spinanet. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-27. สืบค้นเมื่อ 2017-11-05.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "Definition of "Dissociated sensory loss"". Autoprac. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-05.
  5. 5.0 5.1 Purves et al 2008b, pp. 237
  6. Saladin 2010a, pp. 513 (529)
  7. Gardner & Johnson 2013a, pp. 492–494
  8. "Dermatomes Anatomy". eMedicine. สืบค้นเมื่อ 2013-09-10.

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

  • Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013a). "22 - The Somatosensory System: Receptors and Central Pathway". Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 475-497. ISBN 978-0-07-139011-8. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  • "10 - Pain". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. 2008b. pp. 231–251. ISBN 978-0-87893-697-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  • Saladin, KS (2010a). "13: The Spinal Cord, Spinal Nerves, and Somatic Reflexes". Anatomy and Physiology: The Unity of Form and Function (5th ed.). New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0-39-099995-5. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)