การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้
เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองพม่า
การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้
การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้
การสังหารหมู่ที่ปะซีจี้ (ประเทศพม่า)
สถานที่ปะซีจี้ อำเภอกั่นบะลู จังหวัดกั่นบะลู ภาคซะไกง์
วันที่11 เมษายน 2566
ตายประมาณ 165 คน[1][2]
เจ็บ30 คน[1]

เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566 กองทัพอากาศพม่าได้สังหารหมู่พลเรือนในหมู่บ้านปะซีจี้ จังหวัดกั่นบะลู ภาคซะไกง์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ (เมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศ) ไปทางทิศตะวันตกราว 148 กิโลเมตร โดยกองทัพอากาศได้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศหลายระลอกในขณะที่ผู้คนจำนวนมากมาชุมนุมกันในพิธีเปิดที่ทำการกองกำลังป้องกันประชาชนในหมู่บ้านดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 165 คน[1] นับเป็นการโจมตีครั้งร้ายแรงที่สุดของรัฐบาลทหารหลังจากที่กองทัพเข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2564[3][4]

ภูมิหลัง[แก้]

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 กองทัพพม่าได้ก่อรัฐประหารและขับไล่รัฐบาลที่นำโดยสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จากนั้นไม่นาน กองทัพได้จัดตั้งสภาบริหารแห่งรัฐและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ในขณะเดียวกัน พลเรือนทั่วประเทศได้จัดการประท้วงขนานใหญ่เพื่อต่อต้านการก่อรัฐประหารของกองทัพ[5]

เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 การต่อต้านที่นำโดยพลเรือนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองเพื่อต่อต้านสภาบริหารแห่งรัฐซึ่งไม่ต้องการประนีประนอม หมู่บ้านปะซีจี้ในใจกลางพื้นที่วัฒนธรรมพุทธดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าได้กลายเป็นหนึ่งในฐานที่มั่นของการต่อต้านรัฐบาลทหารอย่างรวดเร็ว ปะซีจี้เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมขนาดเล็กที่มีครัวเรือนประมาณ 233 ครัวเรือน[6] ตั้งอยู่ในภาคซะไกง์ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศ[7]

ในช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 กองทัพพม่าได้เริ่มปฏิบัติการทางทหารในภาคซะไกง์เพื่อข่มขู่คุกคามและปราบปรามการต่อต้านในท้องถิ่นด้วยการเผาและจู่โจมหมู่บ้าน สังหารชาวบ้าน และขับไล่ผู้คนหลายพันคนออกจากบ้านเรือนของตน[8] เมื่อถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีอำเภอ 50 อำเภอทั่วประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก โดย 14 อำเภอในจำนวนนี้ตั้งอยู่ในภาคซะไกง์

เหตุการณ์[แก้]

ในช่วงเช้าของวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566 ชาวบ้านกว่า 800 คนมารวมตัวกันในหมู่บ้านปะซีจี้เพื่อฉลองพิธีเปิดที่ทำการกองกำลังป้องกันประชาชน (กลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร) ซึ่งมีอาหารและน้ำชาเลี้ยง พิธีดังกล่าวจัดขึ้นในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่พม่า[9] ระหว่างที่ชาวบ้านกำลังฉลองอยู่นั้น เครื่องบินขับไล่ลำหนึ่งได้บินมาทิ้งระเบิดใส่พื้นที่จัดงาน[4] ทำให้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เก็บไว้ใกล้เคียงระเบิดตามไปด้วย[3] จากนั้นไม่นาน เฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งก็บินกราดยิงเป้าหมายด้านล่างอย่างไม่เลือกหน้า[4] การจู่โจมทางอากาศส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตกว่า 165 คน[1] และบาดเจ็บอีก 30 คน เหยื่อจำนวนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก[10][11]

ต่อมาเมื่อเวลา 17:23 น. (เวลามาตรฐานพม่า) เฮลิคอปเตอร์มี-35 ลำหนึ่งซึ่งบินออกจากฐานทัพอากาศตะด้าอู้ได้เปิดฉากโจมตีปะซีจี้อีกเป็นระลอกที่สอง[12][13]

ในช่วงดึกของวันที่ 11 เมษายน พลตรี ซอมี่นทู่น โฆษกรัฐบาลทหาร ได้ยืนยันว่าเกิดการโจมตีขึ้นจริง แต่ไม่ได้เปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตกี่คน[14]

กองทัพอากาศพม่าได้สังหารเด็ก 34 คน ร่างผู้เสียชีวิตหลายร่างฉีกขาดและไหม้เกรียมจนไม่สามารถระบุเอกลักษณ์บุคคลได้[15] โฆษกกองพันที่ 4 ของกองกำลังป้องกันประชาชนจังหวัดกั่นบะลู่กล่าวว่า ทุกครอบครัวในปะซีจี้ได้สูญเสียสมาชิกไป 2–4 คนในเหตุสังหารหมู่ครั้งนี้[15]

ปฏิกิริยา[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

เมื่อวันที่ 11 เมษายน อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ประณามเหตุโจมตีอย่างรุนแรงและเรียกร้องให้นำตัวผู้สั่งการมารับผิดชอบ[16][17] ทอม แอนดรูส์ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า กล่าวว่า "การโจมตีของทหารพม่าต่อผู้บริสุทธิ์ซึ่งรวมถึงการโจมตีทางอากาศในภาคซะไกง์ในวันนี้ เกิดจากความเฉยเมยของโลกและจากผู้ที่จัดหาอาวุธให้พวกเขา"[1]

เมื่อวันที่ 13 เมษายน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกแถลงการณ์ประณามเหตุโจมตีโดยระบุว่า "ความรุนแรงทุกรูปแบบต้องยุติทันที โดยเฉพาะการใช้กำลังกับพลเรือน" พร้อมทั้งย้ำฉันทามติ 5 ประการที่ตกลงกันไว้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564[18][19]

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการโจมตีทางอากาศและเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายุติความรุนแรงสะเทือนขวัญเช่นนี้[1][20] ฮิโรกาซุ มัตสึโนะ เลขาธิการใหญ่คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประณามเหตุโจมตีอย่างรุนแรงและเรียกร้องให้มีการยุติความรุนแรงและการฟื้นฟูประชาธิปไตย[21] กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันประณามการใช้กำลังของทหารพม่า โดยเสริมว่าจะทำให้สถานการณ์ภายในประเทศแย่ลงและเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าฟื้นฟูประชาธิปไตย[21] ทั้งจีนและรัสเซียปฏิเสธที่จะยอมรับร่างข้อมติประณามการโจมตีทางอากาศครั้งนี้[22]

ในประเทศ[แก้]

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่า (รัฐบาลคู่ขนานที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร) สั่งให้ลดธงกองกำลังป้องกันประชาชนลงครึ่งเสาเพื่อระลึกถึงเหยื่อการโจมตีทางอากาศของกองทัพพม่า[23]

คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพออกแถลงการณ์เตือนว่า หากประชาคมระหว่างประเทศไม่ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับกองทัพผู้ก่อการร้าย พลเมืองพม่าจะต้องเสียชีวิตอีกนับไม่ถ้วน[24]

กระทรวงกลาโหมของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติอ้างว่าการโจมตีทางอากาศในปะซีจี้เป็นอาชญากรรมสงคราม และให้คำมั่นว่าจะขับไล่ระบอบทหารออกจากพม่าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้[25]

ซีนมาออง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ ประกาศว่าเธอจะพยายามทวงความยุติธรรมให้แก่หมู่บ้านปะซีจี้[26]

สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐกะเหรี่ยงแดง (กะยา) ประกาศในแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่าสภาทหารก่อการร้ายมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ทางอากาศที่มุ่งเป้าไปที่พลเรือน และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของความพยายามร่วมกันเพื่อต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหารอย่างเต็มกำลัง เพื่อยุติการปกครองของรัฐบาลทหารโดยเร็ว[27]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Regan, Helen; Sidhu, Sandi; Salai TZ; Coren, Anna (12 April 2023). "Screaming people and bodies everywhere: The horrific aftermath of Myanmar junta airstrike that killed 165". CNN (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  2. "ပဇီကြီး လေကြောင်းတိုက်ခိုက်ခံရမှု-ဧပြီ ၁၄ ရက်နေ့ ရရှိထားတဲ့ သေဆုံးစာရင်းက ၁၇၁ ဦးရှိလာ". BBC Burmese (ภาษาพม่า). 14 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2023.
  3. 3.0 3.1 Paddock, Richard C. (11 April 2023). "Airstrike in Rebel-Held Region of Myanmar Kills at Least 100". The New York Times. ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023.
  4. 4.0 4.1 4.2 Peck, Grant (11 April 2023). "Airstrikes on Myanmar village feared to have killed 100". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2023.
  5. "Dozens killed and wounded in Myanmar military air attacks". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  6. "ကန့်ဘလူမြို့နယ် ပဇီကြီးကျေးရွာ၌ သန့်ရှင်းသော သောက်သုံးရေရရှိရေး စက်ရေတွင်းတူးဖော်" [Drilling a well for clean drinking water in Pazi Gyi Village, Kantablu Township]. Myanmar DigitalNews (ภาษาพม่า). 10 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  7. "Myanmar: Dozens killed in air strike on remote village". DW (ภาษาอังกฤษ). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  8. "At Least 50 Civilians Including Children Massacred in Myanmar Regime Air Strike in Sagaing". The Irrawaddy. 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  9. Ochab, Ewelina (12 April 2023). "Myanmar Military Kills More Than 100 People In A Single Attack". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  10. "Deadly airstrike on Pazigyi village in Kanbalu Township, Sagaing Region, claims over 50 lives". Burma News International (ภาษาอังกฤษ). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  11. "Myanmar's junta kills over 100 including women, children in a deadly airstrike on village: Report". India TV News. 12 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  12. "ကန့်ဘလူ၊ပဇီကြီးရွာကို စစ်ကောင်စီတပ် ဂျက်ဖိုက်တာဖြင့် ဒုတိယအကြိမ်ဗုံးကြဲ၊ပထမအကြိမ်ဗုံးကြဲပစ်ခတ်မှု ပြည်သူ၁၂၀နီးပါးသေဆုံး" [Kantbulu, Pazigyi village, the military council army Jefo]. MPA (ภาษาพม่า). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  13. Shwewa, Maung (11 April 2023). "ကန့်ဘလူ၊ ပဇီကြီးရွာတွင် ရုပ်အလောင်း ၈၀ ကျော် သင်္ဂြိုဟ်နေစဉ် လေတပ် ဗုံးထပ်ကြဲ" [Kantbalu The Air Force bombarded more than 80 corpses in Pazigyi village]. Myanmar Now (ภาษาพม่า). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2023.
  14. "Myanmar confirms deadly air strike that is feared to have killed 100". TRT (ภาษาอังกฤษ). 12 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  15. 15.0 15.1 Wah, Maung Shwe (2023-04-12). "'Children's bodies crushed into pieces' in Myanmar military airstrike on Kanbalu Township". Myanmar Now (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  16. "UN Secretary General and rights chief condemn Pazigyi Village massacre". Mizzima. 11 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2023. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023.
  17. "Statement attributable to the Spokesperson for the Secretary-General – on Myanmar". United Nations Secretary-General. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  18. "ASEAN Chair's Statement on the Recent Air Strikes in Pa Zi Gyi Village, Kanbalu Township, Sagaing Region of Myanmar". ASEAN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-13. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.
  19. "ASEAN 'strongly condemns' deadly air strike in Myanmar". Rappler (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-04-13. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.
  20. Patel, Vedant (2023-04-11). "Burma Regime Airstrikes". U.S. Department of State. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-12. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.
  21. 21.0 21.1 Chau, Thompson (2023-04-12). "Deadly Myanmar airstrike heaps pressure on ASEAN ahead of summit". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
  22. "ဧပြီ ၁၃ ရက်ထိပ်တန်းသတင်းများ-ပဇီကြီးကျေးရွာလေကြောင်းတိုက်ခိုက်ခံရမှု ရှုတ်ချဖို့ အဆိုမူကြမ်းကို ရုရှားနဲ့တရုတ် လက်မခံ" [April 13 Top News: Russia and China reject the draft resolution to condemn the air attack on Pazi Gyi village.]. BBC News Myanmar (ภาษาพม่า). 13 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2023. สืบค้นเมื่อ 13 April 2023.
  23. "ကန့်ဘလူတွင် ပြည်သူ ၁၀၀ ကျော်သေဆုံးခဲ့ရသော လေ ကြောင်း တိုက်ခိုက် ခံရမှု ဝမ်းနည်းခြင်းအထိမ်းအမှတ် PDF အလံကို ၅ ရက်တိတိ တိုင်ဝက် လွှင့် ထူရန် NUG ညွှန်ကြား" [NUG instructs NUG to fly the PDF flag at half-mast on the 5th day to commemorate the air attack that killed more than 100 people in Kantablu.]. Khit Thit Media (ภาษาพม่า). 12 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  24. "ပဇီကြီးရွာကို အကြမ်းဖက်စစ်တပ်က လေကြောင်းနဲ့ တိုက်ခိုက်ခဲ့မှုအပေါ် ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော်ကိုယ်စားပြုကော်မတီက ကြေညာချက်ထုတ်ပြန်" [Union Hluttaw Representative Committee released a statement on the terrorist army's air attack on Pazigyi village]. PVTV (ภาษาพม่า). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  25. "ပြည်သူ ၁၀၀ ကျော်သေဆုံးသော ကန့်ဘလူ၊ ပဇီကြီးကျေးရွာ လေကြောင်း တိုက်ခိုက်ခံရမှု စစ်ရာဇဝတ်မှု ကျူးလွန်ခြင်းဖြစ်ပြီး စစ်အာဏာရှင် စနစ် မြန် မာ့ မြေပေါ်မှ အပြီးတိုင် ဖယ်ရှားမည်ဟု NUG ပြော" [More than 100 people died in Kantbalu. NUG said that the air attack on Pazi Gyi village was a war crime and that the military regime will be removed from the ground as soon as possible.]. Khit Thit Media (ภาษาพม่า). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2023.
  26. "ပဇီကြီးရွာတိုက်ခိုက်မှု တရားမျှတမှုရအောင် ကြိုးစားမယ်လို့ NUG နိုင်ငံခြားရေးဝန်ကြီးပြော" [The NUG Foreign Minister said that he will try to get justice for the Pazi Gyi village attack]. Radio Free Asia (ภาษาพม่า). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023.
  27. "အကြမ်းဖက် စစ်ကောင်စီသည် ပြည်သူများကို ပစ်မှတ်ထား၍ အစုလိုက်အပြုံလိုက် လေကြောင်းဖြင့် သတ်ဖြတ်မှု ကျူးလွန်နေပြီး စစ်အာဏာရှင် အမြန်ဆုံးချုပ်ငြိမ်းရေး အလုံးစုံညီညွတ်ရေး တည်ဆောက်ကာ အစွမ်းကုန်တိုက်ပွဲဝင်ရန် လိုအပ်ကြောင်း KSCC က ထုတ်ပြန်" [KSCC issued a statement that the terrorist military council is committing mass air killings targeting the people, and it is necessary to build unity and fight with all our might to end the military dictatorship as soon as possible.]. Khit Thit Media (ภาษาพม่า). 11 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2023.