การสังหารหมู่ที่กฟาร์อาซาฮ์

พิกัด: 31°29′1″N 34°32′2″E / 31.48361°N 34.53389°E / 31.48361; 34.53389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่กฟาร์อาซาฮ์
เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอิสราเอล
โดยฮะมาส พ.ศ. 2566
บ้านหลังหนึ่งในกฟาร์อาซาฮ์ซึ่งมีร่องรอยกระสุนจากเหตุสังหารหมู่
กฟาร์อาซาฮ์ตั้งอยู่ในฉนวนกาซา
กฟาร์อาซาฮ์
กฟาร์อาซาฮ์
สถานที่เกิดเหตุในประเทศอิสราเอล
สถานที่กฟาร์อาซาฮ์ เขตใต้ ประเทศอิสราเอล
พิกัด31°29′1″N 34°32′2″E / 31.48361°N 34.53389°E / 31.48361; 34.53389
วันที่7 ตุลาคม 2023; 6 เดือนก่อน (2023-10-07)
ประเภทการกราดยิงหมู่, ฆาตกรรมหมู่, การตัดศีรษะ (จากคำกล่าวอ้าง), การหั่นศพ, การเผา
ตายยืนยันเสียชีวิตแล้ว 52 ราย; สูญหายมากกว่า 20 ราย[1]
 ฮะมาส

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 นักรบกลุ่มฮะมาสราว 70 นาย เข้าโจมตี สังหาร และลักพาตัวผู้อยู่อาศัยในกฟาร์อาซาฮ์ (ฮีบรู: כְּפַר עַזָּה) ซึ่งเป็นกิบบุตส์ (นิคมการเกษตร) ของประเทศอิสราเอลที่ตั้งอยู่ห่างจากพรมแดนกับฉนวนกาซาประมาณ 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์)

ก่อนถูกโจมตี กฟาร์อาซาฮ์มีผู้อยู่อาศัย 400 คนโดยประมาณ กองกำลังป้องกันอิสราเอลใช้เวลาสองวันในการยึดกิบบุตส์นี้คืนจากฮะมาสได้อย่างสมบูรณ์[2][3][4] จำนวนชาวอิสราเอลที่ถูกสังหารนั้นยังเป็นที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่ข้อมูล ณ วันที่ 15 ตุลาคม ยืนยันยอดผู้เสียชีวิตแล้ว 52 ราย และผู้สูญหายอีกอย่างน้อย 20 ราย[5][6]

การโจมตีครั้งนี้เป็นที่กล่าวขวัญถึงจากคำกล่าวอ้างว่ามีความโหดร้ายในรูปของการตัดศีรษะ[2] การหั่นศพ และการเผาทั้งเป็น[7][8] ตลอดจนประเด็นถกเถียงถึงคำกล่าวอ้างที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ของแหล่งข้อมูลอิสราเอลที่ระบุว่ามีการตัดศีรษะทารก[3][9][10] แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ยืนยันว่ามีการตัดศีรษะทารกที่กฟาร์อาซาฮ์จริง[4] ในขณะที่ซีเอ็นเอ็นรายงานว่าคำกล่าวอ้างนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "IDF: Dozens of rockets fired from Lebanon, at least nine crossed into Israeli territory". Ynetnews. 14 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2023. สืบค้นเมื่อ 15 October 2023 – โดยทาง www.ynetnews.com.
  2. 2.0 2.1 Williams, Holly; Lyall, Erin (11 October 2023). "Israel kibbutz the scene of a Hamas "massacre," first responders say: "The depravity of it is haunting" – CBS News". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2023. สืบค้นเมื่อ 11 October 2023.
  3. 3.0 3.1 "Unverified reports of '40 babies beheaded' in Israel-Hamas war inflame social media". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-12.
  4. 4.0 4.1 Joffre, Tzvi (12 October 2023). "Photos of babies being burnt, decapitated confirmed". The Jerusalem Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2023. สืบค้นเมื่อ 13 October 2023.
  5. Tzuri, Matan (15 October 2023). "A quarter of the residents of Nir Oz are either dead or missing". Ynet.
  6. Spencer, Richard (13 October 2023). "They came at dawn: inside the Kfar Aza kibbutz massacre". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.
  7. Ghert-Zand, Renee (18 October 2023). "Young couple and baby burned by terrorists in Kfar Aza home fight for their lives". The Times of Israel.
  8. Oliphant, Roland (10 October 2023). "Hamas slaughtered babies and children in Kfar Aza kibbutz massacre". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 November 2023.
  9. "What we actually know about the viral report of beheaded babies in Israel". Sky News. 12 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2023. สืบค้นเมื่อ 18 November 2023.
  10. 10.0 10.1 Chance, Matthew; Greene, Richard Allen; Berlinger, Joshua (12 October 2023). "Israeli official says government cannot confirm babies were beheaded in Hamas attack". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2023. สืบค้นเมื่อ 12 October 2023.