การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบำบัดตาเหล่ด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน (อังกฤษ: Botulinum toxin therapy of strabismus) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่บางครั้งใช้รักษาตาเหล่ โดยฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินเข้าไปในกล้ามเนื้อตามัดที่เป็นเป้า เพื่อลดความไม่ตรงแนวของตา การใช้ท็อกซินเพื่อรักษาอาการตาเหล่ในปี 2524 พิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์แรกที่ใช้โบทูลินั่ม ท็อกซินเพื่อรักษาโรค ทุกวันนี้การฉีดท็อกซินเข้าไปในกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ตาเป็นทางเลือกการรักษาตาเหล่อย่างหนึ่ง วิธีการรักษาอื่น ๆ รวมทั้งการบำบัดการเห็น (vision therapy) การใช้ผ้าปิดตา แว่นสายตา (หรือเลนส์สัมผัส) แว่นปริซึม และการผ่าตัด

ผลโดยตรงของท็อกซินเอง (รวมทั้งผลข้างเคียง) จะหมดไปภายใน 3-4 เดือน โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ตาที่ตรงแนวขึ้นอาจคงยืนเป็นระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีปัจจัยสองอย่าง ปัจจัยแรกก็คือ ถ้ากล้ามเนื้อตรงกันข้าม (antagonist) ยังทำงานได้ ดังนั้น กล้ามเนื้อที่ฉีดยาจะได้การยืด และอาจยาวขึ้นอย่างถาวรโดยเพิ่มใยกล้ามเนื้อภายในระยะที่เป็นอัมพฤกษ์เนื่องจากท็อกซิน[ต้องการอ้างอิง] ปัจจัยที่สองก็คือ ถ้าการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาเกิดขึ้นและเสถียร ความตรงแนวของตาก็อาจจะถาวร มีหลักฐานบ้างว่า การรักษาเช่นนี้ได้ผลเท่ากับการผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่เห็นเป็นภาพเดียวด้วยตาทั้งสองข้าง และได้ผลน้อยกว่าสำหรับคนไข้ที่ไม่เห็น[1]

หลักการ[แก้]

โบทูลินั่ม ท็อกซินเป็นพิษถึงตายซึ่งร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่ง สามารถผลิตโดยแบคทีเรีย Clostridium botulinum และมีฤทธิ์ต่อปลายเส้นประสาทโดยลดการหลั่งสารสื่อประสาท acetylcholine ยับยั้งการส่งสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อ และดังนั้นจึงทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต แล้วจึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน

เพื่อรักษาอาการตาเหล่ พิษที่ใช้จะเจือจางมาก และจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่ขยับลูกตา และดังนั้น จึงทำกล้ามเนื้อที่เป็นเป้าให้อ่อนแอชั่วคราว

เทคนิค[แก้]

การฉีดยา[แก้]

หลังจากให้ยาชาหรือยาสลบ แพทย์จะฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน เข้าไปในกล้ามเนื้อตาที่เป็นเป้าหมาย โดยใช้อิเล็กโทรดแบบเข็มที่ต่อกับเครื่อง electromyography (EMG) ซึ่งใช้เป็นเครื่องนำทาง และต่อกับเข็มฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน[2]

ถ้าใช้ยาชาเฉพาะที่ แพทย์จะให้คนไข้ขยับตาก่อนฉีดท็อกซิน ซึ่งทำให้เกิดสัญญาณ EMG และชี้บอกจุดวางเข็มที่ถูกต้อง ถ้าคนไข้เป็นเด็กเล็ก ๆ แพทย์จะวางยาสลบ[2] จะใช้เพียงแค่ 1-2 นาทีในการฉีดยาถ้าแพทย์พยาบาลมีประสบการณ์เพียงพอ[2]

ขนาดยา[แก้]

ขนาดยาที่ใช้ไม่สามารถกำหนดได้อย่างแม่นยำ เพราะยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาและผลที่ได้[1] พิษของยาจะต่าง ๆ กัน นอกจากนั้นแล้ว ร่างกายอาจจะเกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน ที่ลดประสิทธิภาพของการรักษาครั้งต่อ ๆ ไป[2]

การใช้รักษา[แก้]

โบทูลินั่ม ท็อกซิน พิจารณาว่าเป็นทางเลือกของการผ่าตัดในบางกรณี งานศึกษาที่ทำในคริสต์ทศวรรษ 1980 พบว่า ผลของการผ่าตัดจะ "พยากรณ์ได้ดีกว่าและคงยืนนานกว่า" ผลที่ได้จากท็อกซิน[3] ตามงานทบทวนวรรณกรรมปี 2550 การใช้ท็อกซินรักษาตาเหล่ "ต่างกันมากระหว่างเมืองและประเทศต่าง ๆ โดยไม่ปรากฏเหตุผล"[4]

ในงานศึกษาขนาดเล็กงานหนึ่ง ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาอ่านหนังสือเนื่องจากตาเบนเข้าไม่พอ (convergence insufficiency) ผู้รักษาไม่ได้โดยการฝึกเบนตาเข้า โดยแว่นตาปริซึมและโดยการผ่าตัด จะอ่านหนังสือได้ดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน และสภาพที่ดีขึ้นก็ยังคงยืนหลังจาก 6 เดือน[5]

โดยเป็นการรักษาหลัก[แก้]

โบทูลินั่ม ท็อกซิน พิจารณาว่าเป็นทางเลือกการผ่าตัดที่มีประโยชน์ในกรณีโดยเฉพาะ ๆ เช่นในบุคคลที่ไม่ควรวางยาสลบ มีภาวะโรคที่ไม่เสถียรอื่น ๆ ผ่านการผ่าตัดที่ไม่สำเร็จผลมาแล้ว หรือเพื่อระงับการเห็นภาพซ้อนชั่วคราว[4] สำหรับคนไข้ที่ตาดี ก่อนจะเกิดตาเหล่เล็กน้อยอย่างฉับพลัน การฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน อาจช่วยรักษาการเห็นภาพเดียวด้วยสองตาที่มีอยู่ก่อนแล้ว[6]

แพทย์บางท่านพิจารณาท็อกซินว่าเป็นทางเลือกการรักษาเด็ก ๆ ที่มีตาเหล่เข้าของวัยทารก (infantile esotropia) ตั้งแต่น้อยจนถึงปานกลาง[7][8] งานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่า การฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อ medial rectus ทั้งสอง อาจมีผลดีกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อมัดเดียว[2] การรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซินได้รายงานคล้าย ๆ กันว่า มีผลดีต่อคนไข้ตาเหล่ที่เห็นภาพเดียวด้วยสองตา แต่ได้ผลน้อยกว่าคนไข้ที่ไม่เห็น[1] งานศึกษาหนึ่งพบว่า การรักษาด้วยท็อกซินมีผลดีเท่ากับการผ่าตัด เมื่อรักษาตาเหล่ของวัยทารกก่อนอายุ 12 เดือน[9] ส่วนงานศึกษาอีกงานหนึ่งรายงานผลดีระยะยาวสำหรับตาเหล่เข้าของวัยทารกที่รักษาก่อนอายุ 24 เดือน ไม่ว่าจะด้วยการผ่าตัดหรือการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน[10]

การใช้ระหว่างหรือหลังการผ่าตัด[แก้]

โบทูลินั่ม ท็อกซินได้ใช้หลังการผ่าตัดเพื่อทำตาให้ตรงยิ่งขึ้นสำหรับคนไข้ตาเหล่ที่ผ่าตัดแก้น้อยไปหรือเกิน ซึ่งช่วยกำจัดการเห็นภาพซ้อนหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจต้องฉีดหรือผ่าตัดซ้ำ[11] และพิจารณาว่า มีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับคนไข้ที่เห็นภาพเดียวด้วยตาสองข้าง การรักษาตาเหล่เข้าที่เกิดหลังผ่าตัด สำเร็จผลมากกว่ารักษาตาเหล่ออกหลังผ่าตัด[6] ท็อกซินบางครั้งจะใช้ร่วมกับการผ่าตัดในกรณีที่เหล่ไปทางด้านข้างค่อนข้างมาก และการผ่าตัดกล้ามเนื้อทั้งสองข้างไม่สามารถทำได้เพราะเหตุต่าง ๆ[12]

ผลข้างเคียง[แก้]

ผลข้างเคียงที่สามัญที่สุดคือหนังตาตก (Ptosis) และการแก้น้อยหรือมากเกิน[4] ผลข้างเคียงที่สามัญต่อ ๆ มารวมทั้งการเห็นภาพซ้อนและตาเหล่ขึ้น[3] โดยผลข้างเคียงจะหายไปภายใน 3-4 เดือน[1] ผลข้างเคียงที่อาจทำให้การเห็นเสียหายมีน้อย และการรักษาพิจารณาโดยทั่วไปว่าปลอดภัย แม้จะทำอย่างซ้ำ ๆ[1]

Bupivacaine[แก้]

ยังมีการตรวจสอบยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อตาคือ bupivacaine ว่าสามารถรักษาตาเหล่บางอย่างได้หรือไม่ ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือร่วมกับโบทูลินั่ม ท็อกซิน Bupivacaine เป็นยาชาเฉพาะที่ซึ่งมีพิษต่อกล้ามเนื้อและต่อระบบประสาทพอสมควร การฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อทำให้ใยกล้ามเนื้อเสื่อมอย่างน่าทึ่งติดตามด้วยการอักเสบ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหนาและแข็งแรงขึ้น ความหนาขึ้นของกล้ามเนื้อที่ฉีด bupivacaine จะสามารถเห็นได้จากภาพ MRI[13] และโดยอัลตราซาวนด์[14]

นักวิชาการยังกำลังตรวจสอบการฉีด Bupivacaine เพื่อรักษาตาเหล่ งานศึกษาบางงานก็ใช้การฉีดยานี้อย่างเดียวเพื่อรักษา[15][16] งานอื่นก็ได้ฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินเข้าในกล้ามเนื้อที่เป็นเป้า แล้วตามด้วยการฉีด bupivacaine ในกล้ามเนื้อตรงกันข้าม[14][17]

ประวัติ[แก้]

แอลัน สก็อตต์ เป็นบุคคลแรกที่ฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน เข้าในกล้ามเนื้อตาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[2] และได้ตีพิมพ์ผลงานในปี พ.ศ. 2524[18] ซึ่งเป็นงานวิจัยทางคลินิกแรกในเรื่องนี้

ส่วนผลของการฉีด Bupivacaine เข้าที่กล้ามเนื้อตา ปรากกฎเป็นครั้งแรกเพราะเป็นเหตุให้เกิดตาเหล่หลังผ่าตัด โดยเป็นภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดต้อกระจก เนื่องจากความเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อของ Bupivacaine ที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ และฉีดเข้าในกล้ามเนื้อตาโดยบังเอิญ

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Rowe, FJ; Noonan, CP (2017). "Botulinum toxin for the treatment of strabismus". Cochrane Database Syst Rev. 3: CD006499. doi:10.1002/14651858.CD006499.pub4. PMID 28253424.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Chapter 25: Chemodenervation of Extraocular Muscles - Botulinum Toxin" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 13, 2014. สืบค้นเมื่อ November 30, 2017., pages 559-565. In: Gunter K. von Noorden, Emilio C. Campos: Binocular Vision and Ocular Motility: Theory and Management of Strabismus เก็บถาวร เมษายน 13, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sixth Edition. Ophthalmology Books & Manuals (Cyber Sight), Orbis International
  3. 3.0 3.1 Flanders, M; และคณะ (June 1987). "Injection of type A botulinum toxin into extraocular muscles for correction of strabismus". Can. J. Ophthalmol. pp. 212–217. PMID 3607594. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 Kowal, L; Wong, E; Yahalom, C (December 15, 2007). "Botulinum toxin in the treatment of strabismus. A review of its use and effects". Disabil Rehabil. pp. 1823–1831. doi:10.1080/09638280701568189. PMID 18033607. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Peiter Saunte, Jon; Holmes, Jonathan M. (2014). "Sustained improvement of reading symptoms following botulinum toxin A injection for convergence insufficiency". Informa Healthcare. 22 (3): 95–99. doi:10.3109/09273972.2014.907815.
  6. 6.0 6.1 Ripley, L; Rowe, FJ (July–September 2007). "Use of botulinum toxin in small-angle heterotropia and decompensating heterophoria: a review of the literature". Strabismus. pp. 165–171. doi:10.1080/09273970701506094. PMID 17763254. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Thouvenin, D; Lesage-Beaudon, C; Arné, JL (January 2008). "(translated from French) Botulinum injection in infantile strabismus. Results and incidence on secondary surgery in a long-term survey of 74 cases treated before 36 months of age". J Fr Ophtalmol. pp. 42–50. PMID 18401298. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. de Alba Campomanes, AG; Binenbaum, G; G, Campomanes Eguiarte (April 2010). "Comparison of botulinum toxin with surgery as primary treatment for infantile esotropia". J AAPOS. pp. 111–116. doi:10.1016/j.jaapos.2009.12.162. PMID 20451851. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. McNeer, KW; Tucker, MG; Guerry, CH; Spencer, RF (2003). "Incidence of stereopsis after treatment of infantile esotropia with botulinum toxin A". Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 40 (5): 288–92. PMID 14560837.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Gursoy, Huseyin; Basmak, Hikmet; Sahin, Afsun; Yildirim, Nilgun; Aydin, Yasemin; Colak, Ertugrul (2012). "Long-term follow-up of bilateral botulinum toxin injections versus bilateral recessions of the medial rectus muscles for treatment of infantile esotropia". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 16 (3): 269–273. doi:10.1016/j.jaapos.2012.01.010. ISSN 1091-8531. PMID 22681945.
  11. Wutthiphan, S. (2008). "Botulinum toxin A in surgically overcorrected and undercorrected strabismus". J. Med. Assoc. Thai. 91 (Suppl. 1): 86–91. PMID 18672599.
  12. Minguini, Nilza; และคณะ (March 2012). "Surgery with intraoperative botulinum toxin-A injection for the treatment of large-angle horizontal strabismus: a pilot study". Clinics (Sao Paulo). 67 (3): 279–282. doi:10.6061/clinics/2012(03)13. PMC 3297039. PMID 22473411.
  13. Hoyt, Creig S (February 2007). "A problem! Now a solution?". British Journal of Ophthalmology. 91 (2): 127–128. doi:10.1136/bjo.2006.111096.
  14. 14.0 14.1 Hopker, LM; Zaupa, PF; Lima Filho, AA; Cronemberger, MF; Tabuse, MK; Nakanami, CR; Allemann, N.; Mendonça, TS (March–April 2012). "Bupivacaine and botulinum toxin to treat comitant strabismus". Arquivos Brasileiros de Oftalmologia. 75 (2): 111–115. doi:10.1590/s0004-27492012000200008. PMID 22760802.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  15. Scott, AB; Miller, JM; Shieh, KR (April 2009). "Bupivacaine injection of the lateral rectus muscle to treat esotropia". J AAPOS. 13 (2): 119–122. doi:10.1016/j.jaapos.2008.10.016.
  16. Miller, JM; Scott, AB; Danh, KK; Strasser, D; Sane, M (December 2013). "Bupivacaine injection remodels extraocular muscles and corrects comitant strabismus". Ophthalmology. 120 (12): 2733–2740. doi:10.1016/j.ophtha.2013.06.003. PMID 23916485.
  17. Scott, AB; Miller, JM; Shieh, KR (December 2009). "Treating strabismus by injecting the agonist muscle with bupivacaine and the antagonist with botulinum toxin". Transactions of the American Ophthalmological Society. 107: 104–109. PMC 2814569. PMID 20126486.
  18. Scott, AB (1981). "Botulinum toxin injection of eye muscles to correct strabismus". Trans Am Ophthalmol Soc. 79 (79): 734–770. PMC 1312202. PMID 7043872.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]