กัปตันคอมมานโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัปตันคอมมานโด
ใบปลิวอาร์เคดแบบแรกในทวีปอเมริกาเหนือของกัปตันคอมมานโด
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
ออกแบบอากิระ ยาซูดะ
จุงอิจิ โอโนะ
ศิลปินอากิระ ยาซูดะ
แต่งเพลงมาซากิ อิซูตานิ
เครื่องเล่นอาร์เคด, แคปคอมเพาเวอร์ซิสเตมเชนเจอร์, ซูเปอร์แฟมิคอม, เพลย์สเตชัน
วางจำหน่ายอาร์เคด
ซูเปอร์แฟมิคอม
เพลย์สเตชัน
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นสูงสุด 4 คนร่วมมือกัน
ระบบอาร์เคดซีพี ซิสเตม

กัปตันคอมมานโด (ญี่ปุ่น: キャプテンコマンドー; อังกฤษ: Captain Commando) เป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบเลื่อนด้านข้างฉากอนาคต ค.ศ. 1991 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยแคปคอมในฐานะวิดีโอเกมอาร์เคคแบบหยอดเหรียญ และต่อมาได้ย้ายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีกหลายแพลตฟอร์ม โดยเป็นเกมที่สิบเจ็ดที่ผลิตขึ้นสำหรับฮาร์ดแวร์ซีพี ซิสเตม ของบริษัท เกมดังกล่าวนำโดยซูเปอร์ฮีโรโดยตำแหน่งซึ่งเดิมทีคิดว่าเป็นโฆษกที่แคปคอม ยูเอสเอ ใช้ในเกมคอนโซลของบริษัทในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980[ต้องการอ้างอิง] เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2018 แคปคอมได้ประกาศเปิดตัวแคปคอมบีตเอ็มอัปบันเดิลโดยกัปตันคอมมานโดได้เป็นหนึ่งในเจ็ดเกม และได้วางจำหน่ายแบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด สวิตช์, เอกซ์บอกซ์วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2018[1]

โครงเรื่อง[แก้]

เกมกัปตันคอมมานโดมีฉากอยู่ในอนาคตที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมของเมโทรซิตีใน ค.ศ. 2026 ที่ซูเปอร์ฮีโรชื่อกัปตันคอมมานโดได้รับความช่วยเหลือจากสหายหน่วยคอมมานโดที่ไว้ใจได้สามคน ซึ่งลุกขึ้นเพื่อปกป้องโลกและกาแล็กซีทั้งหมดจากแก๊งอาชญากรระดับอภิมหาอำนาจ

ตัวละคร[แก้]

กัปตันคอมมานโด
(อังกฤษ: Captain Commando; ญี่ปุ่น: キャプテンコマンドー)

เขาเป็นผู้นำของ "ทีมคอมมานโด" นอกจากจิตใจที่แข็งแกร่งและร่างกายที่ทนทานแล้ว เขายังใช้ "ถุงมือพลังงาน" ซึ่งสามารถยิงเพลิงและไฟฟ้าอันทรงพลังได้[2] เทคนิคที่มีประสิทธิภาพอย่างมากของเขาคือ "กัปตันคอร์ริดอร์" ซึ่งเป็นการกระแทกพื้นด้วยถุงมือพลังงานทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตที่สังหารทุกคนรอบตัว การโจมตีแบบพุ่งของกัปตันคอมมานโดคือ "กัปตันแคนนอน" (หรือที่รู้จักในชื่อ "กัปตันไฟร์") ซึ่งเผาผลาญศัตรูด้วยเปลวเพลิง และ "กัปตันคิก" ซึ่งสามารถโจมตีศัตรูหลายตัวพร้อมกันบนพื้นดินหรือในอากาศ[2] กัปตันคอมมานโดยังสามารถจับคู่ต่อสู้ของเขา และเตะท้อง หรือทุ่มทั้งตัว สิ่งอื่น ๆ ที่เขาใช้คือ "แว่นตากัปตัน" ซึ่งช่วยให้เขาระบุใบหน้าของอาชญากรได้ในระยะ 2 กม. เมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแล้ว ส่วน "กัปตันโพรเทกเตอร์" ที่ทำจากวัสดุที่ทนทานเป็นพิเศษ เรียกว่า "กัปเทเนียม" และทนความร้อนได้สูงถึงล้านล้านองศา นอกจากนี้ ยังมี "ถุงมือกัปตัน" ที่เพิ่มพลังกัปตัน 48 เท่า ทำให้เขาทุบแผ่นเหล็กหนาได้ง่าย และ "รองเท้าบูตกัปตัน" ที่ทำให้เขาสามารถตกในระยะ 100 เมตรได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ หรือทำให้รองเท้าบูตเสียหาย[2]

แม็กเดอะไนฟ์
(อังกฤษ: Mack the Knife) หรือ เจนเนตี (ญี่ปุ่น: ジェネティー) ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น

มัมมี่คอมมานโด เป็นมนุษย์ต่างดาวที่เหมือนมัมมี่จากนอกโลก[2] ในฐานะอาวุธ เขาใช้มีดความเร็วต่ำกว่าเสียงที่จะละลายศัตรูที่เขาแทง เทคนิคการสังหารของเขาคือ "สปินนิงแอตแทก"[2] โดยการหมุนตัวเหมือนลูกข่าง และผ้าพันแผลของเขาฟาดศัตรูราวกับแส้ การโจมตีแบบพุ่งของแม็กคือ "ดับเบิลทรับเบิล" ซึ่งใช้มีดทั้งสองแทงศัตรูของเขา และ "สกายแอสซอลต์" ซึ่งเป็นดับเบิลทรับเบิลเวอร์ชันกลางอากาศ แม็กยังสามารถจับศัตรูของเขาและแทงหรือเหวี่ยงพวกมัน อีกอย่างที่เขามีคือ "หมวกแก๊ปกัปตัน" ซึ่งเป็นของที่ระลึกจากการพบกับกัปตันคอมมานโดครั้งแรก, "ผ้าพันแผลทางพันธุกรรม" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ค้ำจุนชีวิตของเขาเพื่อความอยู่รอดบนโลก, "มีดพันธุกรรม" ที่ละลายสสารทั้งหมด และ "ตัวควบคุมแรงโน้มถ่วง" ซึ่งเป็นรองเท้าคู่ของเขาที่ปรับแรงดึงโน้มถ่วงให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับการต่อสู้[2] ทั้งนี้ ชื่อภาษาอังกฤษของแม็ก มาจากเพลงของแบร์ท็อลท์ เบร็ชท์ ที่มีชื่อเดียวกัน

งินซุเดอะนินจา
(อังกฤษ: Ginzu the Ninja) หรือ โช (ญี่ปุ่น: ) ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น

นินจาคอมมานโดเป็นนินจาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และเป็นผู้สืบทอดวิชาบูชินริวนินโป ซึ่งเป็นรูปแบบการต่อสู้ของนินจุตสึที่ได้รับการสืบทอดมาจากไกจากไฟนอลไฟต์ ดาบที่คมกริบของเขาสามารถตัดคู่ต่อสู้ออกเป็นสองส่วน[3] เทคนิคการสังหารของเขาคือ "ระเบิดควัน" หลังจากสร้างม่านควันรอบ ๆ ตัวเขา ควันจะระเบิด โดยสังหารศัตรูที่อยู่ใกล้กัน[3] การโจมตีแบบพุ่งของงินซุคือ "อิไอซูกิ" ซึ่งเจาะศัตรูหลายตัวพร้อมกัน และ "ฟลายอิงคาตานะ" ที่ตัดศัตรูจากด้านบนขณะกระโดด นอกจากนี้ งินซุสามารถคว้าคู่ต่อสู้ของเขาแล้วเตะท้อง หรือทุ่มไหล่ หรือทุ่มเหนือศีรษะ ส่วนสิ่งอื่น ๆ ที่เขาได้รับการจัดให้มีคือ "เนตรนินจา" ซึ่งสามารถช่วยให้เขาค้นหาศัตรูที่อยู่ข้างหน้า 500 เมตรในความมืดมิด, "ดาบบริวาร" ของเขาไม่รับใช้ใครนอกจากเขา ซึ่งมีชื่อว่า "สายฟ้าแลบ" และฟันสิ่งต่าง ๆ ในระดับอะตอม รวมถึง "ชุดนินจา" ของเขา ที่แกร่งกว่าเหล็กและนุ่มกว่าไหม[3] ตลอดจนเป็นตัวละครเดียว ที่สามารถขว้างดาวกระจายใส่คู่ต่อสู้

เบบีเฮด
(อังกฤษ: Baby Head) หรือ ฮูเวอร์ (ญี่ปุ่น: フーバー) ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น

เบบีคอมมานโดเป็นทารกอัจฉริยะที่ต่อสู้โดยใช้หุ่นยนต์ที่เขาออกแบบเอง หุ่นยนต์ของเขาทั้งแข็งแกร่งและว่องไว เทคนิคการสังหารของเขาคือ "นีร็อกเกต" ซึ่งยิงขีปนาวุธจากเข่าของหุ่นยนต์[3] ที่ผลิตขึ้นภายในหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง ส่วนการโจมตีแบบพุ่งของเบบีเฮดคือ "โรลลิงพันช์" ซึ่งเป็นหมัดหนักที่หมุนเหมือนสว่านและ "เอลโบว์สแมช" ที่จะกระแทกศัตรูด้วยศอกที่พุ่งออกมาจากการกระโดด[3] เบบีเฮดสามารถจับศัตรูของเขาและแทงเข่า, ใช้ท่า "ไพล์-ไดรเวอร์" หรือ "เหวี่ยงออกไป" คุณสมบัติอื่น ๆ ที่เขาใช้คือ "เครื่องพูด" ซึ่งคล้ายกับจุกนมหลอกและช่วยให้เขาพูดได้ 3 ล้านภาษาจักรวาล, "เปลเสถียร" ที่ช่วยให้หุ่นยนต์ไม่โยกเยกไม่ว่าจะเอียงแค่ไหน, "หุ่นซิลเวอร์ฟิสต์” ซึ่งมีกำลัง 12,000 แรงม้า น้ำหนักตัว 582 กิโลกรัม (1280.4 ปอนด์) และติดตั้งเครื่องควบคุมแบบฟัซซีลอจิก, "เครื่องยิงขีปนาวุธ" ซึ่งเป็นโรงงานผลิตขีปนาวุธที่อยู่ภายในขา เช่นเดียวกับในหุ่นซิลเวอร์ฟิสต์ และเพื่อนของเบบีเฮดมีชื่อเล่นว่า "เบบีแคร์ริจ" กับ "เจ็ตฮัฟเวอร์" ซึ่งใช้สำหรับเปลี่ยนตำแหน่งความเร็วสูง[3]

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพจับหน้าจอเวอร์ชันอาร์เคด

กัปตันคอมมานโดดำเนินตามรูปแบบการเล่นบีตเอ็มอัปแบบเดียวกับในไฟนอลไฟต์ของบริษัทแคปคอมก่อนหน้านี้ เวอร์ชันอาร์เคดอนุญาตให้มีผู้เล่นพร้อมกันได้สูงสุดสอง, สาม หรือสี่คน โดยขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของเกม ผู้เล่นสามารถเลือกระหว่าง "คอมมานโด" สี่ตัวใดก็ได้ (ได้แก่ แม็ก, กัปตัน, งินซุ หรือเบบีเฮด) ในฐานะตัวละครของพวกเขา โดยผู้เล่นแต่ละคนจะควบคุมตัวละครที่แตกต่างกัน เป้าหมายตามปกติของผู้เล่นคือการไปยังจุดสิ้นสุดของแต่ละด่าน เอาชนะศัตรูทุกตัวที่ขวางทางในขณะที่หลีกเลี่ยงกับดักที่พวกเขาอาจขว้างใส่ผู้เล่นก่อนที่จะต่อสู้กับบอสที่รออยู่ในพื้นที่สุดท้ายของแต่ละด่าน และเกมนี้ประกอบด้วยทั้งหมดเก้าด่าน

การตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนในฉบับวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ระบุว่ากัปตันคอมมานโดเป็นหน่วยอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งปี โดยมีประสิทธิภาพเหนือกว่าเกมอย่างสตรีทไฟเตอร์ II: เดอะเวิลด์วอร์ริเออร์ และดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเฟสต์[4]

เมื่อวางจำหน่าย นิตยสารแฟมิคอมซือชินได้ให้คะแนนเกมเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมที่ 21 เต็ม 40[5] ครั้นใน ค.ศ. 2013 เกมอาร์เคดต้นฉบับได้รับการจัดอันดับให้เป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปที่ตีที่สุดอันดับที่ 21 ตลอดกาลโดยเว็บไซต์เฮฟวี.คอม[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Romano, Sal (13 September 2018). "Capcom Beat 'Em Up Bundle announced for PS4, Xbox One, Switch, and PC". Gematsu. สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 North American Arcade Flyer of "Captain Commando", Pg. 4. 1991. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 North American Arcade Flyer of "Captain Commando". 1991. p. 5.
  4. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 416. Amusement Press, Inc. 1 December 1991. p. 25.
  5. NEW GAMES CROSS REVIEW: キャプテン コマンドー. Weekly Famicom Tsūshin. No.327. Pg.40. 24 March 1995.
  6. The Top 25 Beat 'Em Up Video Games - Part 1 | HEAVY

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]