กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
กวีพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์
ประเภทวรรณคดีสอนใจ
คำประพันธ์ฉันท์และกาพย์
ยุคกรุงธนบุรี
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมประเภทคำฉันท์ ส่วนใหญ่เป็นกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ สันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์แต่งกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ระหว่างที่พระยาราชสุภาวดีไปรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช พราะยาราชสุภาวดีแต่งก่อนในตอนต้นแล้วอาราธนาพระภิกษุอินท์แต่งต่อตอนท้าย

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนกุลสตรีในสมัยนั้น มีเค้าโครงเรื่องมาจากมหาภารตะของอินเดีย เป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับคงจะสูญหายไป พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์จึงแต่งขึ้นใหม่ ดังกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

นางกฤษณานารถ ก็มีเรื่องบริบูรณ์
สมุดเดิมก็เศร้าสูญ สลายลบบเป็นผล


ตัวอย่าง[แก้]

  • ความสัตย์และการมีกิริยาอัชฌาสัย
ความสัตย์เป็นศักดิ์เสนา อัชฌากิริยา
เป็นสุขสวัสดิวรกาย
  • พระคุณของบิดามารดาต่อบุตร
หนึ่งโสดคุณปิตุมารดา เกิดเกล้าเรามา
ประเสริฐยิ่งภพไตรย
คุ้มครองป้องกันโพยภัย แต่เยาวเท่าใหญ่
พระคุณก็สุดแสนทวี
  • สัตว์ตายเหลือเขาหนังคนตายเหลือความดีความชั่ว
คชสารแม้ม้วยมีงา โคกระบือมรณา
เขาหนังก็เป็นสำคัญ
บุคคลถึงกาลอาสัญ สูญสิ้นสารพัน
คงแต่ความชั่วกับดี

สำนวนโวหาร[แก้]

ถ้อยคำเป็นคำพื้นๆ จึงอ่านเข้าใจได้ง่าย

คุณค่าของหนังสือ[แก้]

  • ด้านวรรณคดี หนังสือเรื่องนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งภายหลัง มีใจความคล้ายกัน
  • ด้านสังคม หนังสือกฤษณาสอนน้องคำฉันท์เป็นวรรณคดีประเภทสอนใจเช่นเดียวกับสุภาษิต และเป็นเรื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมของไทยที่สอนความประพฤติของสตรีและหน้าที่ของภรรยาที่ดี หนังสือเล่มนี้นับว่ามีอิทธิพลต่างความคิดของคนไทยมาก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์