กระดูกงอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกงอก
ชื่ออื่นออสทีโอฟัยต์, ออสเทโอไฟต์
กระดูกงอกขนาดเล็ก ๆ (ลูกศรชี้) บนขอบของโพรเซสซัส อันโคเนอัสของกระดูกอัลนาดังที่ปรากฏในระดับมหกายวิภาคของสุกร
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์

กระดูกงอก หรือ ออสทีโอฟัยต์ (Osteophyte) เป็นเอ็กซอสโทซิส (การยื่นออกของเนื้อกระดูก) ที่ก่อตัวขึ้นตามแนวขอบของข้อต่อ[1] และเป็นคนละสิ่งกันกับเอ็นเทสซีโอฟัยต์ซึ่งคือการยื่นออกของกระดูกที่เกิดขึ้นตรงจุดเกาะของเส้นเอ็น[2] โดยทั่วไปแล้วออสทีโอฟัยต์นั้นไม่ได้แยกออกเป็นพิเศษจากเอ็กซอสโทซิส แม้ทั้งสองจะมีความต่างกันหลายประการในบางกรณี[3] ออสทีโอฟัยต์โดยทั่วไปเกิดขึ้นในข้อ (intra-articular; ภายในแคปซูลของข้อ)[4]

สาเหตุ[แก้]

การถ่ายภาพทางรังสีแสดงออสทีโอฟัยต์ในกรณีผู้ป่วยโรคสะปอนดัยโลสิสที่กระดูกสันหลังส่วนลัมบาร์

กระบวนการสร้างกระดูกหลากรูปแบบสามารถเกิดได้ และมีความเกี่ยวเนื่องกับความชรา การเสื่อม ความไม่มั่นคงเชิงกล และโรคต่าง ๆ (เช่นภาวะกระดูกโครงเกิดขึ้นมากไปทั่วโดยไม่ทราบสาเหตุ) โดยมาก ออสทีโอฟัยต์จะก่อตัวขึ้นในข้อที่มีกระดูก (osteoarthritic joints) หลังจากเกิดการบาดเจ็บและเสื่อมสภาพจากการอักเสบ การก่อตัวขึ้นของแคลเซียม (Calcification) และการก่อกระดูกใหม่ ยังสามารถเกิดได้ในฐานะการตอบโต้การบาดเจ็บเชิงกลในข้อต่อ[5]

พยาธิสรีรวิทยา[แก้]

ออสทีโอฟัยต์เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ผิวในข้อต่อที่บาดเจ็บ และพบบ่อยที่สุดในอาการของโรคข้ออักเสบ ออสทีโอฟัยต์โดยทั่วไปมักจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อและก่อให้เกิดความเจ็บปวด[6]

ออสทีโอฟัยต์ตามข้อนิ้วมือและนิ้วเท้าเรียกว่าปุ่มกระดูกฮีเบอร์เดิน (ถ้าเป็นที่ข้อต่อระหว่างฟาแลงก์ส่วนปลาย) หรือ ปุ่มกระดูกบูชาร์ (ถ้าเป็นที่ข้อต่อระหส่างฟาแลงก์ส่วนต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. osteophyte ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  2. Rogers J, Shepstone L, Dieppe P (Feb 1997). "Bone formers: osteophyte and enthesophyte formation are positively associated". Annals of the Rheumatic Diseases. 56 (2): 85–90. doi:10.1136/ard.56.2.85. PMC 1752321. PMID 9068279.
  3. "The Medico-chirurgical Review and Journal of Medical Science" (ภาษาอังกฤษ). Burgess and Hill. 1 January 1844.
  4. Alonge TO, Rooney P, Oni OO (2005). "The ultrastructure of the peri-articular osteophytes - an evaluation by scanning electron microscopy". West Afr J Med. 24 (2): 147–50. doi:10.4314/wajm.v24i2.28186. PMID 16092317.
  5. Nathan M, Pope MH, Grobler LJ (Aug 1994). "Osteophyte formation in the vertebral column: a review of the etiologic factors--Part II". Contemporary Orthopaedics. 29 (2): 113–9. PMID 10150240.
  6. Bone spurs MayoClinic.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค