กง จิ้งจอกน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กง จิ้งจอกน้อย  
ชื่อเรื่องต้นฉบับごん狐 กงงิสึเนะ'
ผู้วาดภาพประกอบเก็นจิโร มิตะ
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาภาษาญี่ปุ่น
ประเภทนิทาน, วรรณกรรมเด็ก

กง จิ้งจอกน้อย (ญี่ปุ่น: ごん狐โรมาจิGongitsuneทับศัพท์: กงงิสึเนะ) เป็นวรรณกรรมเด็กภาษาญี่ปุ่น เกี่ยวกับชีวิตของสุนัขจิ้งจอกตัวน้อยชื่อ "กง" เรื่องนี้ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของหรือในบางครั้งก็เป็นที่รู้จักกันในนามฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน แห่งญี่ปุ่น

บทสรุป[แก้]

กง (ญี่ปุ่น: ごんโรมาจิGon) เป็นสุนัขจิ้งจอกตัวน้อยที่กำลังมองหาอาหาร มันมาจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ซึ่งมันได้ขโมยอาหารและสร้างความเสียหายซ้ำแล้วซ้ำเล่า และหลบหนึชาวบ้านที่โกรธแค้นอยู่เป็นประจำ

วันหนึ่ง กงขโมยปลาไหลต่อหน้า เฮียวจู (ญี่ปุ่น: 兵十, ひょうじゅうโรมาจิHyoju) ที่กำลังนำปลาไหลนี้ไปให้แม่ที่กำลังป่วยหนักของเขา แม่ของเขาตายในเวลาต่อมา กงสำนึกในความผิดของมันและพยายามแก้ตัวโดยการแอบให้ของที่มันขโมยมาแก่เฮียวจูอย่างลับ ๆ ทำให้ชาวบ้านกล่าวโทษเฮียวจูและซ้อมเขา ในภายหลังกงจึงให้แต่เห็ดและถั่วที่มันเก็บมาจากป่า เฮียวจูปลื้มของขวัญพวกนั้นมาก ถึงแม้ว่าเขาจะไม่รู้ว่าพวกมันมาจากที่ไหนก็ตาม วันหนึ่ง เฮียวจูเห็นสุนัขจิ้งจอกป้วนเปี้ยนอยู่รอบ ๆ เขาจึงยิงมันด้วยความโกรธแค้นที่ทำให้แม่ของเขาต้องตาย แต่ต่อมาเขาก็สำนึกได้ว่าสุนัขจิ้งจอกที่เขาเพิ่งยิงไปนั้นกำลังจะนำเห็ดและถั่วมามอบให้เขา

บทวิเคราะห์[แก้]

นิทานภาษาญี่ปุ่นมักจะไม่จบลงอย่างมีความสุข ในเรื่องนี้ แม่ของเฮียวจูตาย กงถูกยิงโดยเฮียวจูขณะที่มันกำลังพยายามแก้ไขความผิดพลาด และเฮียวจูก็รู้สึกเสียใจมากต่อการยิงสุนัขจิ้งจอกที่กำลังพยายามจะช่วยเขา เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าทุก ๆ คนจำเป็นต้องยอมรับโชคชะตาของตนเอง

สุนัขจิ้งจอก (หรือ ปิศาจจิ้งจอก) มักจะพบเห็นได้ในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นว่าเป็นสัตว์ที่ซุกซน เรื่องเล่าบางเรื่องก็ว่าสุนัขจิ้งจอกมีพลังวิเศษในการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกให้เป็นมนุษย์ กงเองก็เลียนแบบมนุษย์ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะไม่มีเวทมนตร์มาเกี่ยวข้อง

ภูมิหลังผู้เขียน[แก้]

เขียนเรื่องนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 เมื่อเขามีอายุได้ 17 ปี โดยสร้างจากเรื่องเล่าที่เขาเคยได้ยินเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก เขาเขียนเรื่องนี้ขึ้นที่จังหวัดไอชิ ซึ่งเป็นเมืองที่เขาเกิด เขาสูญเสียแม่ไปเมื่อเขาอายุได้ 4 ขวบ เช่นเดียวกันกับกง นังกิชิมีอายุไม่ยืนยาวนัก เขาเสียชีวิตเมื่อเขาอายุได้ 29 ปีด้วยวัณโรค

ผลตอบรับ[แก้]

กง จิ้งจอกน้อย ได้รับการคิดเห็นในทางที่ดี มาริลิน ทะนิงุชิ เขียนลงใน School Library Journal โดยอธิบายไว้ว่า "ช่างเป็นเรื่องที่สะเทือนอารมณ์ที่ดังก้องกับผู้อ่านผู้ซึ่งเข้าใจในการต่อสู้กับความเปล่าเปลี่ยวที่มาจากภายนอก" และยังแนะนำด้วยว่า "พวกคุณครูควรเล็งเห็นคุณค่าในการมองวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นกันดูบ้าง"[1] เคอร์คัส รีวิวส์ เขียนว่า "ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมและจารีตประเพณีชาวญี่ปุ่นที่บอกให้ทราบถึงช่วงลำดับเหตุการณ์" และยังได้แสดงความคิดเห็นว่า "ภาพประกอบสีน้ำที่สวยงามและละเอียดอ่อนของเก็นจิโร มิตะ ได้เปิดมุมมองของผู้อ่านให้กว้างขึ้นเท่าที่พวกเขาได้สร้างทางที่ทะลุผ่านเรื่องเล่าเรื่องนี้" และสรุปว่า "ตอนจบที่น่าตกใจและรุนแรงนี้อาจจะหาผู้อ่านได้ยากเสียหน่อย แต่มันก็คุ้มค่าในการริเริ่มสุนทรียภาพของเรื่องเล่าที่ไม่ใช่แบบอย่างตะวันตก"[2] เจคิว แมกกาซีน ถึงกับกล่าวว่า "เป็นการอ่านที่ช่างมีคุณค่าแก่เยาวชน"[3]

การดัดแปลง[แก้]

หนังสือเล่มนี้ได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชัน ในชื่อ กงงิสึเนะ (ごんぎつね) โดยมีมะยุมิ ทะนะกะ พากษ์เสียงเป็น "กง" ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้ฉายรอบปฐมทัศน์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528

อ้างอิง[แก้]

  1. Marilyn Taniguchi (May 2015). "Gon, the Little Fox". School Library Journal. Media Source Inc. 61 (5): 90. ISSN 0362-8930. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
  2. "Gon, The Little Fox". www.kirkusreviews.com. Kirkus Media LLC. 3 March 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
  3. Rashaad Jorden. "JQ Magazine: Book Review — 'Gon, the Little Fox'". JQ Magazine. JETwit.com. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]