ข้ามไปเนื้อหา

เฟื้อ หริพิทักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฟื้อ หริพิทักษ์

เกิดเฟื้อ
22 เมษายน พ.ศ. 2453
ตำบลราษฎร์บูรณะ อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (83 ปี)
ชื่ออื่นเฟื้อ ทองอยู่
การศึกษามหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน
ศิษย์เก่าโรงเรียนเพาะช่าง
อาชีพศิลปิน, จิตรกร
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2536
องค์การราชบัณฑิตยสถาน
ผลงานเด่น
ตำแหน่งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วาระ9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร
สมถวิล หริพิทักษ์
บุตรทำนุ
บิดามารดาเปล่ง ทองอยู่
เก็บ ทองอยู่
รางวัล
  • ในประเทศ
    • ศิลปินชั้นเยี่ยม - สาขาจิตรกรรม - พ.ศ. 2500
    • ศิลปินแห่งชาติ - สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2528
  • ต่างประเทศ
    • แมกไซไซ - สาขาบริการสาธารณะ - พ.ศ. 2526

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ (22 เมษายน พ.ศ. 2453 – 19 ตุลาคม 2536) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2528 เป็นศิลปินและจิตรกร ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2526[1] และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2]

ประวัติ[แก้]

นายเฟื้อเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2453 ที่จังหวัดธนบุรี มีนามเดิมว่า นาย เฟื้อ ทองอยู่[3] เป็นบุตรชายของ นายเปล่งมหาดเล็ก ต่อมา พ.ศ. 2468 ศึกษาระดับประถมศึกษาที่วัดสุทัศน์ และระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ทำงานที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร จากนั้น พ.ศ. 2483 ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวภารตี ที่ประเทศอินเดีย รับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2497[4] ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม

เฟื้อเป็นผู้สนใจศึกษาศิลปะอย่างมุ่งมั่นลึกซึ้ง ด้วยการค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ให้เหมาะกับการแสดงออกทางด้านจิตรกรรม ที่มีลักษณะเฉพาะตนโดยการถ่ายทอดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แสงเงา ประกอบกับความคิดคำนึงเรื่องสีสันที่เป็นลักษณะตามสายสกุลศิลปะยุโรป (อิตาลี) ใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ดังปรากฏในผลงานจิตรกรรมมากมาย เช่น จิตรกรรมทิวทัศน์เมืองเวนิชที่อิตาลี ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ภาพเหมือนคุณยายของฉัน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ฯลฯ[5]

นอกจากนี้ เฟื้อยังสำรวจโดยคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดสำคัญที่เป็นโบราณสถานเก็บไว้เป็นหลักฐานมรดกทางประวัติศาสตร์ศิลปะของชาติ มีผลงานซ่อมแซมภาพจิตรกรรมสำคัญในวัดทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น 23,000 วัด ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือการบูรณปฏิสังขรณ์หอไตรปิฎกวัดระฆังโฆสิตาราม[6]

เฟื้อสมรสกับหม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส มีบุตร 1 คน คือ ทำนุ หริพิทักษ์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เฟื้อตกเป็นเชลยไทยในอินเดีย เพราะไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ เขาถูกพรากจากภรรยา จึงเปลี่ยนไปนับถือพระวิษณุ และเปลี่ยนนามสกุลจากทองอยู่ เป็นหริพิทักษ์[3] และได้สมรสใหม่อีกครั้งกับ นางสมถวิล หริพิทักษ์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hariphitak, Fua". The Ramon Magsaysay Award Foundation.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายเฟื้อ หริพิทักษ์). เล่ม 103 ตอนที่ 209 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2529.
  3. 3.0 3.1 ส.ศิวรักษ์. "แด่นายกรุณา กุศลาสัย". กรุณา–เรืองอุไร กุศลาสัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2020.
  4. ชาธิป สุวรรณทอง (19 มิถุนายน 2015). "มรดกศิลปะของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์". กรุงเทพธุรกิจ.
  5. พิภพ บุษราคัมวดี (2010). "บทที่ ๒ งานศิลปกรรมของ อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์". ใน สน สีมาตรัง (บ.ก.). ๑๐๐ ปี เฟื้อ หริพิทักษ์: ชีวิตและงาน (PDF) (2 ed.). กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลยศิลปากร. ISBN 978-974-641-345-9.
  6. "หอพระไตรปิฎก และ บันทึกของนายเฟื้อ". ArtBangkok.com. 27 พฤศจิกายน 2012.
  7. เฟื้อ หริพิทักษ์ ครูใหญ่ในวงการศิลปะ. สยามศิลปิน. 2. 3 มีนาคม 2015.
  8. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการ). เล่ม 102 ตอนที่ 17 ง ฉบับพิเศษ หน้า 4014. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการ). เล่ม 110 ตอนที่ 36 ง ฉบับพิเศษ หน้า 68 เล่มที่ 013. วันที่ 26 มีนาคม 2536.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]