มีชัย วีระไวทยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีชัย วีระไวทยะ
มีชัย ในปี พ.ศ. 2551
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(1 ปี 364 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ถัดไปสุวิทย์ ยอดมณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มกราคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (สมรส 2514)

มีชัย วีระไวทยะ (เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2484) กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[1]กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[2] อดีตนักแสดงชาวไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลมีชื่อเสียงจากบทบาทการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย สำหรับการคุมกำเนิด และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนทำให้ช่วงนั้นคนไทยนิยมเรียกชื่อถุงยางอนามัยว่า "ถุงมีชัย"

ประวัติ[แก้]

พระชลธารวินิจฉัย (กัปตันฉุน) ทวดของเขา เป็นกัปตันของกองเรือพาณิชย์สยาม[3]

มีชัยเกิดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของนายแพทย์ สมัค วีระไวทยะ กับแพทย์หญิง อิสซาเบลลา แมคคินนอน "เอลลา" โรเบิร์ตสัน[4] มีพี่น้องสี่คน

สกุลของบิดาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน มีบรรพบุรุษอพยพจากทางตอนใต้ของจีนเข้ามาลงหลักปักฐานในจังหวัดสมุทรสงครามตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา[5] บิดาได้ทุนเล่าเรียนหลวงจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่ประเทศอังกฤษ[6] เขาเป็นหลานป้าของคุณหญิงจำนง พิณพากย์พิทยเภทผู้ได้รับทุนหลวงจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสำหรับศึกษาต่อด้านพยาบาลที่สหรัฐ[3] ส่วนสกุลของเอลลา มารดา เป็นชาวสกอตชนชั้นกลางค่อนไปทางสูง มีตาคือเดวิด แอนเดอร์สัน โรเบิร์ตสัน เป็นข้าราชการกรมศุลกากรของอังกฤษ[4]

มีชัยได้รับการเลี้ยงดูอย่างไทย ใช้ภาษาไทย ไปโรงเรียนไทย ถือธรรมเนียมไทย และศึกษาศาสนาพุทธเช่นเดียวกับเด็กไทยทั่วไป[7] ด้วยความที่มีบิดาเป็นชาวพุทธ และมารดาเป็นแองกลิคัน มารดาจึงไม่บังคับให้ลูกนับถือศาสนาใดแต่ให้ศึกษาไปก่อน แม้จะเคยพาลูก ๆ ไปคริสตจักรไคร้สตเชิชบ้างนาน ๆ ครั้ง มีชัยกล่าวว่าปัจจุบันตนยังไม่เลือกว่าจะนับถือศาสนาใด[8]

จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

สมรสกับท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ นามเดิม หม่อมราชวงศ์หญิงบุตรี กฤดากร

การทำงาน[แก้]

นายมีชัย วีระไวทยะ เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[9] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[10][11] 2 สมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก[12]อีกหลายสมัย

ในปี พ.ศ. 2513 นายมีชัย ได้รับบทบาทแสดงนำเป็น โกโบริ ในละครเรื่อง คู่กรรม ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม

นายมีชัยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2537 และรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2552 (เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  2. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  3. 3.0 3.1 ไผ่นอกกอ, หน้า 48
  4. 4.0 4.1 ไผ่นอกกอ, หน้า 43
  5. ไผ่นอกกอ, หน้า 49
  6. ไผ่นอกกอ, หน้า 47
  7. ไผ่นอกกอ, หน้า 77
  8. ไผ่นอกกอ, หน้า 83-84
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
บรรณานุกรม
  • มีชัย วีระไวทยะ และสนธิ เตชานันท์. ไผ่นอกกอ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2561

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า มีชัย วีระไวทยะ ถัดไป
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี