ประสงค์ บูรณ์พงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประสงค์ บูรณ์พงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าพิศาล มูลศาสตรสาทร
ถัดไปฉัตรชัย เอียสกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2479 (87 ปี)
จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2526–2535)
ความหวังใหม่ (2535–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2556–2561, 2566–ปัจจุบัน)
เสรีรวมไทย (2561–2566)
คู่สมรสจันทร บูรณ์พงศ์

นายแพทย์ ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] สังกัดพรรคเสรีรวมไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน

ประวัติ[แก้]

ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2479 เป็นชาวตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นนักการเมืองชาวนครพนม ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เคยเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 [2]

การทำงาน[แก้]

ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมระยะเวลากว่า 20 ปี โดยได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม และเคยได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2517

ต่อมาจึงได้หันเข้าสู่งานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526[3] เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2531[4] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 (รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ)[5] ต่อมาในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในปี พ.ศ. 2539 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ ในปีเดียวกัน

ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เคยได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2 คน คือ นายชวน หลีกภัย และ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

นายประสงค์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[6] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 84[7]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย[8] ต่อมาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการลงมติเลือกรองประธานสภาคนที่ 2 โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ จากพรรคภูมิใจไทย และนายประสงค์ ได้รับการเสนอชื่อ จำนวน 2 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกตั้งนายศุภชัย 256 เสียง และนายประสงค์ 239 เสียง[9]

ในปี 2566 นายแพทย์ประสงค์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย เพื่อไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[10]ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 นาย ศักดา บูรณ์พงศ์ สมาชิกสภาจังหวัด บุตรชายนายประสงค์ถึงแก่กรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  3. น.พ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ อดีต ส.ส.นครพนม 10 สมัย[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  6. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  9. ศุภชัย ชนะ นพ.ประสงค์ 256 ต่อ 239 คว้า รองประธานสภา คนที่ 2 ฉลุย
  10. “หมอสงค์” ประกาศทิ้งเสรีรวมไทย ซบเพื่อไทย หนุนแลนด์สไลด์
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]