ข้ามไปเนื้อหา

ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไวยากรณ์ภาษากอกบอรอก มีลักษณะคล้ายกับตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าอื่นๆ ไม่มีการผันรูปกริยา มีการผันคำนามตามการกโดยเติมปัจจัยต่อท้ายนาม

การเรียงประโยค

[แก้]
  • ประธาน-กรรม- กริยา เช่น Naisok ไนซอก mai ไม (ข้าว) chao เชา (กิน) = ไนซอกกินข้าว
  • คำแสดงความเป็นเจ้าของ-ประธาน-คำถาม เช่น Nini นีนี (ของคุณ) mung มุง (ชื่อ) tamo ตามอ (อะไร) = คุณชื่ออะไร
  • ประธาน-กริยา-คำถาม เช่น Nwng นืง (คุณ) thangnaide ทังไนเด (จะไป) = คุณจะไปหรือ
  • ประธาน-คำถาม-กริยา เช่น Nwng นืง (คุณ) tamoni bagwi ตามอนี บักวี (ทำไม) phai ไพ (มา) = คุณมาทำไม
  • ประธาน-กริยา-คำสั่ง เช่น Nwng นืง (คุณ) thangdi ทังดี (จงไป) = คุณจงไป

บุคคล

[แก้]

ภาษากอกโบรอกไม่มีการเปลี่ยนรูปกริยาตามบุคคล

จำนวน

[แก้]

มี 2 แบบ คือ พหูพจน์ กับเอกพจน์ คำที่ใช้แสดงพหูพจน์ มี 2 คำ คือ rok และ sung ใช้ต่อท้ายคำนามหรือสรรพนาม rok ใช้ได้ทั่วไป แต่ sung ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลเท่านั้น คำนามที่มีคุณศัพท์ขยาย จะแสดงพหูพจน์ทีคุณศัพท์แทน เช่น

Bwrwirok Teliamura o thangnai = ผู้หญิงเหล่านั้นจะไปที่เตลิอมุระ (Teliamura)

O bwrwi naithokrok kaham rwchabo = ผู้หญิงสวยเหล่านั้นร้องเพลงได้ดี

เพศ

[แก้]

มี 4 เพศ คือ บุรุษลึงค์ (เพศชาย) สตรีลึงค์ (เพศหญิง) อลึงค์ (เพศไม่ปรากฏ) และ นปุงสกลึงค์ (ไม่มีเพศ) เช่น borok (ผู้ชาย) เป็นบุรุษลึงค์ bwrwr (ผู้หญิง) เป็น สตรีลึงค์ chwari (เด็ก) เป็น อลึงค์ buphang (ต้นไม้) เป็น นปุงสกลึงค์

การเปลี่ยนเพศของคำ

[แก้]

ทำได้หลายวิธี เช่น

  • ใช้คำต่างกัน เช่น bwsai (สามี) – bihik (ภรรยา) ; phayong (พี่ชาย) – hanok (พี่สาว)
  • เติม -in ต่อท้ายรูปบุรุษ คำที่ลงท้ายด้วย a ตัด a ทิ้งไป เช่น sikla (ชายหนุ่ม) – sikli (หญิงสาว) ; achu (ปู่) – achui (ย่า)
  • เติม jwk ต่อท้ายรูปบุรุษ เช่น bwsa (ลูกชาย) – bwsajwk (ลูกสาว) ; kwra (พ่อตา) – kwrajwk (แม่ยาย)
  • คำที่เป็นอลึงค์ ทำให้อยู่ในรูปบุรุษโดยเติมปัจจัย sa, chwla, joa ทำให้อยู่ในรูปสตรีโดยเติม ma, jwk, bwrwi เช่น pun (แพะ) - punjua (แพะตัวผู้) – punjuk (แพะตัวเมีย) ; tok (ไก่) tokchwla (ไก่ตัวผู้) – tokma (ไก่ตัวเมีย) ; takhum (เป็ด) – takhumchwla (เป็ดตัวผู้) – takhumbwrwi (เป็ดตัวเมีย)

การกและการลงท้ายการก

[แก้]

ภาษากอกโบรอก มีการกประธาน การกกรรม การกเครื่องมือ การกคำนาม การกความเป็นเจ้าของ และการกสถานที่ การลงท้ายของแต่ละการกคือ o (ประธาน) nu (กรรม) ha (เครื่องมือ) ni (คำนาม) ni (ความเป็นเจ้าของ) และ o (สถานที่) โดยการลงท้ายเหล่านี้ ใช้ต่อท้ายคำนามและคำสรรพนาม ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบของคำนาม

คำคุณศัพท์

[แก้]

วางต่อจากคำที่ขยาย ซึ่งใช้กับคำคุณศัพท์ดั้งเดิมเท่านั้น คำคุณศัพท์ ทิ่เป็นคำยืม อาจเรียงแบบอื่นได้ แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ คำคุณศัพท์บริสุทธิ์ คำคุณศัพท์ประกอบ คำคุณศัพท์ขยายกริยา และคำคุณศัพท์ชนิดเค (k) ระดับแรกเป็นได้ทั้งคำดั้งเดิมและคำยืม ส่วนแบบที่ 4 พบเฉพาะคำดั้งเดิมเท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  • A simplified Kokborok Grammar, by Prof. Prabhas Chandra Dhar, 1987