ไลเคน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการดำรงชีวิตแบบภาวะพึ่งพากันระหว่างสาหร่ายสีเขียวและไซยาโนแบคทีเรียกับฟังไจ (fungi) โดยที่เรียกสาหร่ายสีเขียวหรือไซยาโนแบคทีเรียในไลเคนว่า โฟโตไบออนท์ (photobiont) และเรียกฟังไจว่าไมคอไบออนท์ (mycobiont) ฟังไจในไลเคนส่วนมากอยู่ในไฟลัมแอสโคไมโคตาและมีบางชนิดเป็นฟังไจในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตาบ้างเรียกไลเคนที่เกิดจากฟังไจ 2ไฟลัมนี้ว่าแอสโคไลเคน (ascolichen) (ภาพที่ 1) และเบสิดิโอไลเคน (basidiolichen) (ภาพที่ 2)  ตามลำดับ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในไลเคน อาจเป็นได้ 3 รูปแบบ คือ

1.       ฟังไจกับสาหร่ายสีเขียว

2.       ฟังไจกับไซยาโนแบคทีเรีย

3.       ฟังใจกับสาหร่ายสีเขียวและไซยาโนแบคทีเรีย

การดำรงชีวิตของไลเคน

สาหร่ายสีเขียวและไซยาโนแบคทีเรียสามารถสร้างอาหารได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ฟังไจจึงได้รับอาหารนั้นด้วย ขณะเดียวกันเส้นใยหรือไฮฟา (hypha)ของฟังไจมีสมบัติในการเก็บความชื้นได้ดี ฟังไจจึงช่วยรักษาความชื้นให้กับสาหร่ายสีเขียวและไซยาโนแบคทีเรีย นอกจากนี้เส้นใยของฟังไจที่สานตัวกันแน่นจะช่วยป้องกันความร้อนและแสงแดดอีกด้วย

ไลเคนพบได้ทั่วไป ทั้งบริเวณที่มีอากาศหนาวแถบขั้วโลก หรือตามทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้ง ตามชายหาดหิน ป่าในเขตอบอุ่นและเขตร้อนตั้งแต่พื้นราบจนถึงยอดเขาสูง แต่จะไม่พบไลเคนบริเวณที่มีมลพิษในอากาศ เช่น เขตอุตสาหกรรม เขตเมืองที่มีมลพิษ หรือบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น  ดังนั้นไลเคนจึงเสมือนเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของอากาศได้อีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม
  • Ahmadjian V. (1993). The Lichen Symbiosis. New York: John Wiley & Sons. ISBN 0-471-57885-1.
  • Brodo, I.M., S.D. Sharnoff, and S. Sharnoff, 2001. Lichens of North America. Yale University Press, New Haven.
  • Gilbert, O. 2004. The Lichen Hunters. The Book Guild Ltd. England.
  • Haugan, Reidar / Timdal, Einar (1992): Squamarina scopulorum (Lecanoraceae), a new lichen species from Norway[ลิงก์เสีย]. Nordic Journal of Botany 12(3): 357-360.
  • Hawksworth, D.L. and Seaward, M.R.D. 1977. Lichenology in the British Isles 1568 - 1975. The Richmond Publishing Co. Ltd., 1977.
  • Kershaw, K.A. Physiological Ecology of Lichens, 1985. Cambridge University Press Cambridge.
  • Kirk PM, Cannon PF, Minter DW, Stalpers JA. (2008). Dictionary of the Fungi (10th ed.). Wallingford: CABI. ISBN 9780851998268.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Knowles M.C. (1929). "The Lichens of Ireland". Proceedings of the Royal Irish Academy. 38: 1–32.
  • Purvis, O.W., Coppins, B.J., Hawksworth, D.L., James, P.W. and Moore, D.M. (Editors) 1992. The Lichen Flora of Great Britain and Ireland. Natural History Museum, London.
  • Sanders W.B. (2001). "Lichens: interface between mycology and plant morphology". Bioscience. 51 (12): 1025–1035. doi:10.1641/0006-3568(2001)051[1025:LTIBMA]2.0.CO;2.
  • Seaward M.R.D. (1984). "Census Catalogue of Irish Lichens". Glasra. 8: 1–32.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]