ข้ามไปเนื้อหา

ไลซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไลซีน (อังกฤษ: lysine, Lys, K) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH (NH2) (CH2) 4NH2

กรดอะมิโนไลซีน

สมบัติ

[แก้]

ไลซีนมีสมบัติเป็นเบสเช่นเดียวกับอาร์จินีน (arginine) และฮิสติดีน (histidine) ภายในโครงสร้างประกอบด้วยหมู่อะมิโน 2 หมู่ และหมู่คาร์บอกซิลอีก 1 หมู่ มีสูตรโมเลกุลคือ C6H14N2O2 ไลซีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ในร่างกายมนุษย์ แต่สำหรับพืชและแบคทีเรีย ไลซีนจะถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดแอสปาร์ติก (aspartic acid) หรือ แอสปาร์เตท (aspartate)

แหล่งอาหาร

[แก้]

ไลซีนพบมากในเนื้อแดง, ถั่ว, ปลาซาร์ดีน, ไข่, เนย, ถั่วและนม คนส่วนใหญ่ได้รับกรดอะมิโนปริมาณที่เพียงพอของนี้โดยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง แต่บุคคลบางอย่างเช่นมังสวิรัติ นักเพาะกายหรือนักกีฬาอาจมีความเสี่ยงการขาดไลซีนได้[1] จึงควรรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนชนิดนี้อย่างเพียงพอ

กรดอะมิโนจำเป็นชนิดอื่น

[แก้]

ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]