ไบกอร์เร็กเซีย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรคไบกอร์เร็กเซีย (อังกฤษ: Bigorexia หรือ Muscle Dysmorphia) คือโรคที่คิดว่าตนเองตัวเล็กเกินไปหรือมีรูปร่างที่ไม่กำยำล่ำสัน ดูแข็งแรง หรือมีกล้ามเนื้อมากเพียงพอ ซึ่งเป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของโรคจิตที่เกิดจากความไม่พึงพอใจในรูปร่างของตนเอง โดยโรคนี้เป็นโรคที่ตรงข้ามกับโรคโบลิเมีย โดยมักจะเกิดในผู้ชายวัยรุ่นหรือวัยกลางคน
ผลของโรคนี้
[แก้]โรคนี้มักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้
- คอยมองดูตัวเองในกระจกและตรวจสอบพัฒนาการของตัวเองอยู่เสมอ
- ชั่งน้ำหนักของตัวเองบ่อย ๆ
- จะเข้าสถานที่ออกกำลังกาย (fitness center) หรือเล่นกีฬาประเภทยกน้ำหนักบ่อย ๆ และหากไม่ได้เล่นจะมีอาการเครียดและซึมเศร้า
- ไม่เอาใจใส่ในการงาน การเรียน สังคม และครอบครัวเนื่องจากการออกกำลังกาย
- เน้นรับประทานอาหารประเภทที่มีโปรตีนสูง อาหารเสริม รับประทานอาหารบ่อยครั้งเหมือนนักเพาะกาย และอาจจะใช้สารกระตุ้นประเภทสเตียรอยด์ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศชายเพื่อสร้างความเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
ผลของโรคนี้มีความอันตรายเท่าเทียมกับโรคบูลิเมีย นั่นคือการที่ได้รับโปรตีนและอาหารเสริมที่มากเกินไป จึงทำให้ไตทำงานหนัก หรือการใช้สารกระตุ้น อนาบอลิคหรือสเตียรอยด์ ที่ส่งผลให้ตับและไตมีปัญหา รวมไปถึงสมดุลทางฮอร์โมนเพศอาจจะเสียหาย หากรุนแรงมากอาจจะทำให้ผู้ป่วยไปผ่าตัดเสริมกล้ามเนื้อ (implants) ได้
ผู้ที่มีอัตราเสี่ยง
[แก้]โรคนี้มักจะพบมากขึ้นทุก ๆ วันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เนื่องจากค่านิยมในรูปร่างหน้าตาของสื่อยุคปัจจุบัน เช่น นิตยสารวัยรุ่น ดาราในภาพยนตร์ ทีวี ละคร การ์ตูน และนักกีฬา รวมไปถึงของเล่นต่าง ๆ เช่น หุ่นตุ๊กตา ซุปเปอร์แมน, แบทแมน หรือ G.I. Joe แม้ว่าโรคนี้ยังไม่พบมากในประเทศไทย (ปัจจุบันในประเทศไทยจะพบในรูปแบบของค่านิยมตามรูปแบบของวัฒนธรรมวัยรุ่นแบบเอเชียตะวันออก) แต่โรคบูลิเมียมักพบเห็นทั่วไปแล้ว โรคนี้กำลังมีโอกาสที่จะเข้ามาแพร่กระจายในประเทศไทยในอนาคตข้างหน้านี้
ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา นักเรียนระดับมหาวิทยาลัย ดารา นักร้อง นักดนตรี นักกีฬา หรือผู้ชายที่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน มักจะพบในอายุเฉลี่ยที่ 19.4 ปี โดยบุคคลเหล่านี้มักจะต้องออกงานสังคม หรือเป็นที่ถูกจับตามอง หรือสังคมให้ความสำคัญ (หรือไม่ให้ความสำคัญเลยก็เป็นได้) โดยที่บุคคลนั้น ๆ มักจะคิดว่าตนเองมีรูปร่างที่ดูไม่แข็งแรง ไม่กำยำ ไม่ล่ำสัน แม้ว่าตนมีกล้ามเนื้อมากกว่าคนทั่วไปในสังคมแล้วก็ตาม (ความหมกมุ่น)
วิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยง
[แก้]เนื่องจากโรคนี้มักจะพบในกลุ่มชายวัยรุ่น ผู้ปกครองควรที่คอยเฝ้าดูลักษณะการกินอาหารของลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปทางด้านใด คอยตรวจสอบดูแลขนาดของเสื้อผ้าของลูก หากพบว่ามีขนาดใหญ่มากจนเกินไปเพื่อที่จะปิดบังรูปร่างที่ตนเองไม่ชอบ ควรถามคำถามตรงกับลูก แทนที่จะพูดออกมาหรือต่อว่า และให้คำปรึกษา คอยดูแลเอาใจใส่เรื่องสื่อที่ลูกรับ หากลูกยังเล็ก ควรอธิบายให้ลูกฟังขณะลูกกำลังชมการ์ตูนหรือภาพยนตร์ต่างๆ ว่าลูกไม่จำเป็นที่จะต้องมีรูปร่างแบบนั้น
วิธีการของสื่อ
[แก้]ในความจริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของบุคคลต่าง ๆ ในสื่อ อาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไป ในภาพยนตร์นั้นดารานำอาจจะมี six-pack ในขณะแสดง แต่เมื่อดาราผู้นั้นไปแสดงเรื่องอื่น ก็อาจจะไม่มีกล้ามเนื้อในลักษณะดังกล่าวปรากฏให้เห็น และอาจจะอ้วนขึ้นหรือผอมลงก็ได้ เช่นเดียวกับในนิตยสาร ที่มักจะมีการตกแต่งและปรับด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (retouch) รวมไปถึงการที่ไปผ่าตัดเสริมกล้ามเนื้อของดาราต่าง ๆ เช่นกัน