ข้ามไปเนื้อหา

ไนต์วิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไนต์วิช
ไนต์วิชขณะกำลังแสดงสดภายใต้ชื่อทัวร์ Endless Forms Most Beautiful World Tour ในเดือนพฤศจิกายนปี 2015
ไนต์วิชขณะกำลังแสดงสดภายใต้ชื่อทัวร์ Endless Forms Most Beautiful World Tour ในเดือนพฤศจิกายนปี 2015
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกิเต ประเทศฟินแลนด์
แนวเพลง
ช่วงปี1996–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
  • สไพน์ฟาร์ม
  • นิวเคลียร์บลาสต์
  • โรดดรันเนอร์
  • เซนจูรีมีเดีย
  • ดราคคาร์เอนเตอร์เทนเมนต์
สมาชิก
  • ตัวมัส โฮโลไปเนน
  • เอมป์ปุ วัวริเนน
  • มาร์โก เฮียตาลา
  • ทรอย โดนอคลีย์
  • โฟลร์ ยันเซิน
  • ไก ฮาห์โต
อดีตสมาชิก
  • ยุกกา เนวาไลเนน
  • อาเนตต์ อูลซอน
  • ตารยา ตุรุเนน
  • ซามิ แวนสแก
เว็บไซต์nightwish.com

ไนต์วิช (อังกฤษ: Nightwish) เป็นวงดนตรีประเภทซิมโฟนิกเมทัลร้องเพลงภาษาอังกฤษจากประเทศฟินแลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยนักร้องนำ-ประสานเสียงชาย นักแต่งเพลงหลักและมือคีย์บอร์ด ตัวมัส โฮโลไปเนน มือกีตาร์ เอมป์ปุ วัวริเนน และนักร้องนำหญิง ตารยา ตุรุเนน วงได้มือกลอง ยุกกา เนวาไลเนน และมือเบส ซามิ แวนสแก เข้าร่วมอัดในสตูดิโอแรก แองเจิลส์ฟอลเฟิร์สท (Angels Fall First) (1997) ในปี 2002 แวนสแก ก็ได้ออกจากวงและได้มาร์โก เฮียตาลา มาเล่นเบสให้แทน ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเล่นตำแหน่งร้องเสียงชาย ก่อนจะมาเป็นโฮโลไปเนนในปัจจุบัน[1]

ไนต์วิทช์ได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะหนึ่งในวงผู้บุกเบิกวงการซิมโฟนิกเมทัล โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางเสียงอันโดดเด่นของตูรูเนนที่นำเอาเสียงร้องแบบโอเปราเข้ามาผสมกับดนตรีเมทัล รวมถึงเนื้อเพลงที่เกี่ยวข้องบทละครดรามา ละครโศกนาฏกรรม จนทำให้ยกย่องว่าเป็น "โอเปราเมทัล" ซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปินอื่นอีกเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดแนวย่อยขึ้นมาอีกหลายสาย นอกจากการร้องเสียงหญิงโดยหลักแล้ว วงมักจะใช้เสียงชายมาร้องประกอบเกือบทุกซิงเกิล โดยมีโฮโลไปเนนเป็นผู้ร้อง แต่ก็มีซิงเกิลอย่าง "While Your Lips Are Still Red" ที่ร้องโดยมาร์โก เฮียตาลาทั้งเพลง

แม้ว่าไนต์วิชจะมีชื่อเสียงอย่างมากในประเทศฟินแลนด์นับตั้งแต่อัลบั้มเปิดตัว แต่วงก็ไม่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันในระดับนานาชาติ จนกระทั่งได้ออกอัลบั้ม โอเชียนบอร์น (Oceanborn) (1998) วิชมาสเตอร์ (Wishmaster) (2000) และ เซนจูรีชายด์ (Century Child) (2002) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลบั้ม วันซ์ (Once) ที่จำหน่ายได้มากถึง 1 ล้านก็อปปี้[2] วงได้เข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา ด้วยซิงเกิลฮิตอย่าง "Wish I Had an Angel" (2004) ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากทั้งออกอากาศผ่านเอ็มทีวี และรวมไปถึงเป็นซาวด์แทร็กในภาพยนตร์ของสหรัฐถึง 3 เรื่องเพื่อเป็นการโปรโมตทัวร์ของวงในอเมริกาเหนือ[3][4] นอกจากนี้ในอัลบั้ม วันซ์ วงยังได้ออกโบนัสซิงเกิลไปอีก 2 ซิงเกิลและทำมิวสิกวีดิโออีก 3 วีดิโอ เช่นเดียวกับนำซิงเกิล "Sleeping Sun" มาบันทึกเสียงใหม่ ในอัลบั้ม ไฮเอสต์โฮปส์ (Highest Hopes) (2005) ซึ่งเป็นอัลบั้มเรียบเรียงซิงเกิลฮิตอีกด้วย ก่อนที่ทูรูเนินจะออกจากวงในเดือนตุลาคม 2005[3] ก็ได้ร่วมบันทึกเสียงอัลบั้มแสดงสด เอนด์ออฟเอรา (End of an Era) ภายหลังจบคอนเสิร์ต สมาชิกวงก็ได้ออกมาเปิดเผยจดหมายของตุรุเนนว่าไม่อาจจะอยู่กับไนต์วิชได้ต่อไป

ในเดือนพฤษภาคม 2007 ไนต์วิชประกาศนักร้องนำหญิงใหม่ อาเนตต์ อูลซอน[5] ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน วงก็ได้ออกอัลบั้มที่ 6 ดาร์คแพสชันเพลย์ (Dark Passion Play) ซึ่งจำหน่ายได้เกือบ 2 ล้านก็อปปี้ โดยมีซิงเกิลหลักอย่าง "Amaranth" ที่เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุโรปของไนต์วิช[6] ตามมาด้วยทัวร์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในทัวร์ที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุดของวงซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2007 ไปจนกระทั่งวันที่ 19 กันยายน 2009[7][8] วงได้ออกอีพี/อัลบั้มแสดงสด เมดอินฮ่องกง (แอนด์อินวาเลียซออเทอร์เพลสเซส) (Made in Hong Kong (And in Various Other Places)) และเดือนมีนาคม 2009 ในรูปแบบซีดี/ดีวิดี ในช่วงปลายปี 2011/ต้น 2012 วงได้ออกอัลบั้มซึ่งจำหน่ายในวันไม่ตรงกัน อิมเมจิเนรัม (Imaginaerum)[2][9]

ในวันที่ 1 ตุลาคม 2012 ไนต์วิชประกาศออลซันได้ออกจากวงในช่วงทัวร์โดยได้อดีตนักร้องหญิงนำวง รีแวมพ์ (ReVamp) โฟลร์ ยันเซิน (Floor Jansen)[10][11] มาแทนจนถึงปัจจุบัน และเดือนมีนาคม 2015 ไนต์วิชก็ได้ออกอัลบั้ม เอนด์เลสฟอร์มสโมสต์บิวตีฟูล (Endless Forms Most Beautiful) ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกที่ยันเซนได้มาร่วมอัดสตูดิโออัลบั้ม

ไนต์วิช เป็นวงที่ประสบความสำเร็จได้ด้านยอดขายเป็นอันดับที่ 3 ในฟินแลนด์ ด้วยยอดการยืนยันจำหน่ายประมาณ 900,000 ก็อปปี้[12][13][14][15][16] ไนต์วิชยังถือว่าเป็นวงที่สร้างชื่อเสียงให้กับฟินแลนด์มากที่สุด เป็นวงที่ไปโด่งดังในระดับนานาชาติเพียงไม่กี่วงของฟินแลนด์ ด้วยยอดจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 8 ล้านก็อปปี้และได้รับการยืนยันการจำหน่ายมากกว่า 60 ทองและแพลตตินัม มีอัลบั้มที่เปิดตัวด้วยอันดับ 1 ถึง 5 อัลบั้มและอันดับ 1 บนชาร์ทกว่า 13 ซิงเกิล[17]

สมาชิก

[แก้]
ตารยา ตุรุเนน นักร้องหญิงที่มีเสียงอันทรงพลังจนทำให้ซิมโฟนิกได้รับการกล่าวขวัญในฐานะ "โอเปราเมทัล"

สมาชิกปัจจุบัน

[แก้]
  • ตัวมัส โฮโลไปเนน (Tuomas Holopainen) – คีย์บอร์ด, เปียโน, สังเคราะห์เสียง (1996–ปัจจุบัน), เสียงร้อง (1996–2001)
  • เอมป์ปุ วัวริเนน (Emppu Vuorinen) – กีตาร์ไฟฟ้า (1996–ปัจจุบัน), กีตาร์เบส (1996–1997)
  • มาร์โก เฮียตาลา (Marco Hietala) – กีตาร์เบส, เสียงร้อง (2001–ปัจจุบัน)
  • ทรอย โดนอคลีย์ (Troy Donockley) – ไปป์, นักหวีอันละไพ, โบโซกิ, บอดฮ์รัน, กีตาร์, ประสานเสียง (2013–ปัจจุบัน; สมาชิกครั้งคราว: 2007–2013)
  • โฟลร์ ยันเซิน (Floor Jansen) – ร้องนำ (2013–ปัจจุบัน; สมาชิกทัวร์: 2012–2013)
  • ไก ฮาห์โต (Kai Hahto) – กลอง <2019–ปัจจุบัน; ; สมาชิกทัวร์: 2014–2019)

สมาชิกเก่า

[แก้]
  • ตารยา ตุรุเนน (Tarja Turunen) – ร้องนำ (1996–2005)
  • ซามิ แวนสแก (Sami Vänskä) – กีตาร์เบส (1998–2001)
  • อาเนตต์ อูลซอน (Anette Olzon) – ร้องนำ (2007–2012)
  • ยุกกา เนวาไลเนน (Jukka Nevalainen) – กลอง (1997–2019)

ไทม์ไลน์

[แก้]

อัลบั้ม

[แก้]
  • Angels Fall First (1997)
  • Oceanborn (1998)
  • Wishmaster (2000)
  • Century Child (2002)
  • Once (2004)
  • Dark Passion Play (2007)
  • Imaginaerum (2011)
  • Endless Forms Most Beautiful (2015)
  • Human. :II: Nature. (2020)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nightwish Biography". TheTableWorld.com. สืบค้นเมื่อ 2010-07-07.
  2. 2.0 2.1 "Spinefarm". Spinefarm.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-27. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
  3. 3.0 3.1 "Nightwish Official Biography". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-06-05.
  4. "The Cave: Music theme". Soundtrack.net. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  5. "Nightwish Announces New Singer". RoadRunnerRecords.com. 2007-05-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  6. "Nightwish – The Official Website". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-17. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  7. "Nightwish Live- 2007". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-15. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  8. "Nightwish Live- 2009". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  9. "NIGHTWISH: "Imaginaerum" - release date". Nuclearblast.de. สืบค้นเมื่อ 2012-04-17.
  10. "Press statement - October 1, 2012". Facebook. 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  11. CROMCarl. "Nightwish Singer Anette Olzon Splits With Band". Metalunderground.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  12. "Nightwish". Musiikkituottajat – IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  13. "Kaikkien aikojen myydyimmät kotimaiset albumit". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  14. "Kaikkien aikojen myydyimmät ulkomaiset albumit". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  15. "Kaikkien aikojen myydyimmät kotimaiset singlet". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  16. "Kaikkien aikojen myydyimmät ulkomaiset singlet". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  17. "Nightwish - Once". finnishcharts.com. 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.