โทรเวช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทรเวชกรรม

โทรเวช (อังกฤษ: Telemedicine) หรือ การแพทย์ทางไกล (Telehealth) เป็นการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และบริการทางการรักษาพยาบาลระหว่างแพทย์ถึงผู้ป่วยผ่านวิธีการวิดีโอคอล ทำให้แม้ในชนบทห่างไกล ประชาชนก็สามารถจะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ[1] และเป็นการลดความจำเป็นในการเดินทางไปโรงพยาบาลของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกความเจ็บป่วยเหมาะสมกับการรับบริการผ่านโทรเวช

การแพทย์ทางไกลในประเทศไทย

ในสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา โรงพยาบาลในประเทศไทยได้นำการแพทย์ทางไกลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโควิดอย่างแพร่หลาย เช่น โรงพยาบาลพระนั่งเกล้านำการแพทย์ทางไกลดูแลผู้ป่วยโควิดแบบ Home Isolation [2] โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา นำระบบ Telehealth มาดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคจิตเวช และผู้ต้องขังในเรือนจำ [3] โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้นำเอาการแพทย์ทางไกล หรือ TELEMEDICINE ของไดเอทซ์ใช้ในการดูแลคนไข้เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (และเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ที่ต้องฉีดอินซูลิน) โดยให้ผู้ป่วยที่ประเมินแล้วว่าสามารถใช้การติดตามผ่านระบบได้ [4]

อ้างอิง[แก้]

  1. โทรเวช (Telemedicine) สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
  2. Home Isolation Telemedicine เลขาธิการ สปสช. ลงพื้นที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเยี่ยมชมการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” และการดูแลแบบ Home Isolation โดยศูนย์บริการสาธารณสุขในชุมชน
  3. Telemedicine ในโรงพยาบาลรัฐบาล รพ.พระนครศรีอยุธยา ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกล Telehealth : Matichon TV (พัฒนาระบบโดย Dietz.asia)
  4. ดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย TELEMEDICINE โรงพยาบาลพุทธโสธร ให้บริการ Dietz TELEMEDICINE กับผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์