โตเกียวเอ็มเอ็กซ์
ชื่ออื่น | Tokyo MX |
---|---|
รูปแบบ | สถานีโทรทัศน์ |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
พื้นที่แพร่ภาพ | โตเกียว และพื้นที่ใกล้เคียง |
เครือข่าย | อิสระ (สมาชิก JAITS) |
เครื่องส่ง | โตเกียวสกายทรี |
สำนักงานใหญ่ | ชิโยดะ, โตเกียว |
แบบรายการ | |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ระบบภาพ | 1080p (ช่อง 1) 480p (ช่อง 2) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | โตเกียวเมโทรโพลิตันเทเลวิชันบรอดแคสติงคอร์เปอร์เรชัน |
บริษัทแม่ | โตเกียวเอฟเอ็ม |
ประวัติ | |
ก่อตั้ง | 30 เมษายน ค.ศ. 1993 |
เริ่มออกอากาศ | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | s |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
โตเกียว | ช่อง 16 |
สถานีโทรทัศน์มหานครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京メトロポリタンテレビジョン; อังกฤษ: Tokyo Metropolitan Television) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ (Tokyo MX) เป็นสถานีโทรทัศน์อิสระในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น บริหารโดยบริษัทโตเกียวเมโทรโพลิตันเทเลวิชันบรอดแคสติงคอร์เปอร์เรชัน (อังกฤษ: Tokyo Metropolitan Television Broadcasting Corporation[1]; ญี่ปุ่น: 東京メトロポリタンテレビジョン株式会社; โรมาจิ: Tōkyō Metoroporitan Terebijon kabushiki gaisha) เป็นสถานีที่แพร่ภาพในเขตเมืองเท่านั้น โดยมีคู่แข่งสำคัญอย่างเอ็นเอชเค, นิปปอนทีวี, ทีบีเอส, ทีวีอาซาฮิ, ฟูจิทีวี และทีวีโตเกียว ซึ่งเป็นสถานีแม่ข่ายออกอากาศทั่วประเทศ สถานีนี้ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1993 และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 ปัจจุบันมีโตเกียวเอฟเอ็ม เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่[2]
โตเกียวเอ็มเอ็กซ์ มีจำนวน 2 ช่อง คือ MX1 เป็นช่องรายการหลัก ออกอากาศด้วยภาพความละเอียดสูง และ MX2 เป็นช่องรองที่เป็นช่องย่อยของช่องหลักอีกทีหนึ่ง สำหรับออกอากาศรายการทางเลือก เริ่มออกอากาศเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2014
โตเกียวเอ็มเอ็กซ์มีการออกอากาศการแถลงข่าวของผู้ว่าการกรุงโตเกียวเป็นประจำทุกสัปดาห์ และยังเป็นผู้นำด้านอนิเมะ เนื่องจากเป็นช่องที่ออกอากาศอนิเมะอยู่เป็นจำนวนมาก
การออกอากาศ
[แก้]ดิจิทัล
[แก้]- สัญญาณเรียกขาน: JOMX-DTV
- รีโมทคอนโทรลเลอร์ ID 9
- โตเกียวสกายทรี: ช่อง 16
แอนะล็อก
[แก้]ยุติการออกอากาศแบบแอนะล็อกแล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
- สัญญาณเรียกขาน: JOMX-TV
- โตเกียวทาวเวอร์: ช่อง 14
- ฮาจิโอจิ: ช่อง 40
- ทามะ: ช่อง 61
- โอเมะ: ช่อง 44
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Members Directory 2019". 日本民間放送連盟. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑ "関連企業" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2018-11-23.