ข้ามไปเนื้อหา

แฮ็นดริก ฮาเมิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮ็นดริก ฮาเมิล
เกิด20 สิงหาคม พ.ศ. 2173
เสียชีวิต12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 (58 ปี)

แฮ็นดริก ฮาเมิล (ดัตช์: Hendrick Hamel; 20 สิงหาคม พ.ศ. 2173 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2235)[1] เป็นนักสำรวจชาวดัตช์และเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้เขียนหนังสือบันทึกว่าด้วยอาณาจักรโชซ็อนของเกาหลี หลังจากอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 13 ปี เขาได้เขียนหนังสือ Hamel's Journal and a Description of the Kingdom of Korea, 1653–1666 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2211[1]

แฮ็นดริก ฮาเมิล เกิดในคอร์เกิม เนเธอร์แลนด์[2] ใน พ.ศ. 2193 เขาล่องเรือไปยังหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ และได้ทำงานในฐานะพนักงานบัญชีของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (เฟโอเซ)[1]: 122–123  ใน พ.ศ. 2196 เขาเดินทางไปญี่ปุ่นด้วยเรือชื่อ เดอสแปร์เวอร์ ฮาเมิลและลูกเรืออีก 35 คนรอดชีวิตจากเรือแตกและมาขึ้นฝั่งที่เกาะเชจู อาณาจักรโชซ็อน[3]: 43 [4]: 17  หลังจากถูกจำคุกอยู่บนเกาะเชจูนานนับปี พวกเขาถูกส่งตัวไปยังฮันยัง ราชธานีของอาณาจักรโชซ็อน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2198 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าฮโยจง (ค. 2192 – 2202)[1]: 39–48, 52  เพื่อเป็นการรักษาธรรมเนียมในเวลานั้นราชสำนักจึงห้ามไม่ให้ฮาเมิลและลูกเรือของเขาออกจากโชซ็อน[1]: 43–44  ระหว่างที่อยู่ที่โชซ็อน พวกเขาได้รับอิสระในการใช้ชีวิตแบบปกติในสังคมโชซ็อน[1]: 52, 59, 66 

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2209 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าฮย็อนจง 13 ปีหลังจากใช้ชีวิตในเกาหลี ฮาเมิลและลูกเรือที่เหลือรอดชีวิตมาได้ทั้งสิ้น 7 คนจัดการหนีไปยังญี่ปุ่น ที่นั่นเนเธอร์แลนด์ได้ตั้งสถานีการค้าเล็ก ๆ บนเกาะจำลองซึ่งเรียกกันว่าเดจิมะที่นางาซากิ[1]: 75–82, 12  ระหว่างที่เขาใช้ช่วงเวลาที่นางาซากิ (กันยายน พ.ศ. 2209 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2210) ฮาเมิลได้เขียนหนังสือซึ่งเกี่ยวกับช่วงเวลาของเขาในเกาหลี[1]: 124  จากนั้น ฮาเมิลและลูกเรือของเขาออกเดินทางไปปัตตาเวีย (จาการ์ตาในปัจจุบัน) ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ในปลายปี พ.ศ. 2210[1]: 125  เขาพำนักในปัตตาเวียจนถึง พ.ศ. 2213 และได้ส่งลูกเรือที่มีความชำนาญในการเดินเรือกลับไปเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2210 นอกจากนี้เขายังได้ฝากต้นฉบับหนังสือที่เขาเขียนจำนวน 3 ฉบับไปกับพวกเขา โดยทั้งหมดได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2211[1]: 125  ตัวฮาเมิลไม่ได้เดินทางกลับเนเธอร์แลนด์จนถึง พ.ศ. 2213[1]: 125 

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Ledyard, Gari (1971). The Dutch Come to Korea. Seoul Korea: Royal Asiatic Society. pp. Whole book.
  2. Savenije, Henny. "Hendrick Hamel". The Journal of Hamel and Korea. สืบค้นเมื่อ November 8, 2015.
  3. Griffis, William Elliot (1885). Corea Without and Within. Philadelphia: Presbyterian board of publication.
  4. Winchester, Simon (1988). Korea: A Walk Through the Land of Miracles. New York, NY: Prentice Hall Press. pp. Whole book. ISBN 0-13-517244-6.