ข้ามไปเนื้อหา

แฮชบราวน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮชบราวน์
แฮชบราวน์ฝอยล้อมรอบด้วยสไลเดอร์แซนด์วิช
มื้อเครื่องเคียง
ผู้สร้างสรรค์สหรัฐ
คิดค้น1895
ส่วนผสมหลักมันฝรั่ง
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
326 กิโลแคลอรี (1365 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีน2.6 กรัม
ไขมัน22 กรัม
คาร์โบไฮเดรต32 กรัม

แฮชบราวน์ (อังกฤษ: Hash Brown) เป็นอาหารเช้ายอดนิยมของชาวอเมริกันที่ประกอบด้วยมันฝรั่งหั่นละเอียดเป็นเส้นแล้วนำไปทอดจนเป็นสีน้ำตาลทอง มักจะทอดบนเตาไฟหรือเตาย่าง[1]

นอกจากนี้แฮชบราวน์ยังเป็นอาหารที่มีการผลิตจำนวนมากยอดนิยม วางจำหน่ายทั้งในรูปแบบแช่เย็น แช่แข็ง[2][3] และอบแห้ง[4]

ประวัติ

[แก้]

แฮชบราวน์เริ่มปรากฏบนเมนูอาหารเช้าในนครนิวยอร์กในช่วงทศวรรษที่ 1890

เดิมชื่อเต็มของอาหารคือ "มันฝรั่งสับน้ำตาล" (อังกฤษ: hashed brown potatoes หรือ hashed browned potatoes) ซึ่งกล่าวถึงครั้งแรกโดย Maria Parloa (1843–1909) นักเขียนอาหารชาวอเมริกัน ในหนังสือ Kitchen Companion ปี 1887 ซึ่งเธออธิบายว่า "hashed and browned potatoes" เป็นมันฝรั่งต้มทอด และพับ "คล้ายกับไข่ดาว" ก่อนเสิร์ฟ[5] หลังจากนั้นมา ชื่อของอาหารนี้ก็ค่อยๆ สั้นลงจนกลายเป็น "hash brown potatoes"[6]

การเตรียม

[แก้]
แฮชบราวน์ทรงสามเหลี่ยมเสิร์ฟพร้อมไข่ เบคอน และไส้กรอกในร้านกาแฟสไตล์อังกฤษ

ผู้ปรุงอาจเตรียมแฮชบราวน์โดยการขูดมันฝรั่งลูกหรือปั้นมันฝรั่งตำเป็นก้อนก่อนแล้วนำไปทอดกับหัวหอม (ความชื้นและแป้งของมันฝรั่งช่วยแต่ละชิ้นจับตัวรวมกัน) อย่างไรก็ตาม หากเติมสารที่ใช้ยึดเหนี่ยว (เช่น ไข่หรือแป้ง) ถือเป็นการทำแพนเค้กมันฝรั่ง

แฮชบราวน์บางครั้งจะถูกปั้นเป็นแผ่นแล้วแช่แข็งเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ รูปทรงแบนและกะทัดรัดยังทำให้สามารถปรุงได้ในเครื่องปิ้งขนมปัง สำหรับรสชาติและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แนะนำให้ใช้มันฝรั่งที่มีแป้งมาก เช่น มันฝรั่ง Russet หากมีการรวมเศษอาหาร เนื้อสับ หรือผักอื่นๆ ในแฮชบราวน์ สิ่งนี้จะเรียกว่าแฮช (hash)[1]

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แฮชบราวน์รูปแบบอาหารอบแห้ง ซึ่งนักเดินป่าใช้ในบางครั้ง[7]

ในสหรัฐอเมริกา แฮชบราวน์หมายถึงมันฝรั่งทอดกระทะที่หั่นเป็นฝอยหรือบดเท่านั้น ในขณะที่มันฝรั่งหั่นเต๋าแล้วนำไปทอดกระทะจะเรียกว่ามันโฮมฟรายส์[1]บางสูตรอาจใส่หัวหอมสับหรือหั่นเต๋า[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Slater, Nigel (November 4, 2006). "Nigel Slater: Making a hash of it". The Guardian.
  2. Butts, L. (2000). Okay, So Now You're a Vegetarian: Advice and 100 Recipes from One Vegetarian to Another. Broadway Books. p. 64. ISBN 978-0-7679-0527-5. สืบค้นเมื่อ January 5, 2017.
  3. Snider, N.; Boisvert, C. (1985). Frozen Food Encyclopedia for Foodservice: Formerly Frozen Food Institutional Encyclopedia. National Frozen Food Association. p. 114. สืบค้นเมื่อ January 5, 2017. Frozen hash browns are scored on color, defects, texture; grading also is based on flavor and odor.
  4. Maji, Nebadita (2021-12-15). "Are Hash Browns Healthy?". EasyChoiceHealthPlans (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  5. Parloa, Maria (1887). Miss Parloa's kitchen companion : a guide for all who would be good housekeepers. Boston: Estes and Lauriat. p. 501. สืบค้นเมื่อ December 6, 2019.
  6. Mencken, H. L. (2012). American Language Supplement 2. Knopf Doubleday. ISBN 978-0-307-81344-2. สืบค้นเมื่อ December 2, 2015.
  7. Miller, D. (1998). Backcountry Cooking: From Pack to Plate in 10 Minutes. Mountaineers Books. ISBN 978-1-59485-292-3. สืบค้นเมื่อ January 5, 2017.
  8. Spieler, M.; Giblin, S. (2012). Yummy Potatoes: 65 Downright Delicious Recipes. Chronicle Books LLC. p. 24. ISBN 978-1-4521-2528-2. สืบค้นเมื่อ January 5, 2017.