ข้ามไปเนื้อหา

แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล
Marriott International, Inc.
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS5719032022 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมบริการ
ก่อนหน้าแมริออท คอร์ปอเรชัน
ก่อตั้ง1927; 97 ปีที่แล้ว (1927)
วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
ผู้ก่อตั้งเจ วิลลาร์ด แมริออท
แอลิส แมริออท
สำนักงานใหญ่เบเธสดา รัฐแมรีแลนด์, สหรัฐอเมริกา
จำนวนที่ตั้ง8,484
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักบิล แมริออท-ประธานคณะกรรมการบริหาร
แอนโธนี คาปูอาโน-CEO[1]
สเตฟานี ลินนาร์ซ-President[1]
แคธลีน เค โอเบิร์ก-CFO
ผลิตภัณฑ์โรงแรม
รีสอร์ท
รายได้ลดลง $10.571 พันล้าน (2020)
รายได้จากการดำเนินงาน
3,462,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2565) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
ลดลง -$267 ล้าน (2020)
สินทรัพย์ลดลง $24.701 พันล้าน (2020)
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง $430 ล้าน (2020)
เจ้าของบิล แมริออท (11.28%)
เดวิด เอส แมริออท (9.24%)
เดบอราห์ แมริออท แฮร์ริสัน (8.96%)
ริชาร์ด อี แมริออท (6.62%)
จอห์น ดับเบิลยู แมริออทที่ 3 (7.82%)
จูเลียนา บี แมริออท (7.63%)
เจนนิเฟอร์ อาร์ แจ็คสัน (7.44%)
มิเชลล์ อี แมริออท (7.44%)
Juliana B. Marriott Marital Trust (7.57%)
JWM Family Enterprises, Inc. (7.44%)
JWM Family Enterprises, L.P. (7.44%)
พนักงาน
121,000 คน (ค.ศ. 2020)
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.marriott.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[2][3]

แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล (อังกฤษ: Marriott International, Inc.) เป็นกลุ่มบริษัทอเมริกันที่บริหาร ลงทุน และเป็นเจ้าของธุรกิจที่พักอาศัยรวมถึง โรงแรม ที่พักอาศัย และไทม์แชร์[2] โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ โดยก่อตั้งโดยเจ วิลลาร์ด แมริออท และภรรยาแอลิซ แมริออท ในปัจจุบันประธานกรรมการบริหารของบริษัทคือบุตรชาย บิล แมริออท โดยตระกูลแมริออทยังคงมีหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท แมริออทได้กลายมาเป็นเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในจำนวนห้องพัก ด้วยโรงแรมกว่า 30 แบรนด์ และกว่า 7,642 โรงแรม ซึ่งประกอบด้วยห้องพักจำนวน 1,423,044 ห้อง ใน 131 ประเทศทั่วโลก[2] ซึ่งในในจำนวนนี้มี 2,149 โรงแรมที่บริหารงานโดยแมริออท และอีก 5,493 โรงแรมที่บริหารโดยผู้อื่นตามสัญญาแฟรนไชส์[2] นอกจากนี้ยังบริหารศูนย์รับจองโรงแรมอีกกว่า 20 แห่ง[2]

แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งในปีค.ศ. 1993 เมื่อแมริออท คอร์ปอเรชันแยกเป็นสองบริษัท ได้แก่ แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งดูแลด้านบริหารและแฟรนไชส์ของโรงแรม และโฮสต์ แมริออท คอร์ปอเรชัน (ปัจจุบัน คือ โฮสต์ โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท) ซึ่งดูแลโรงแรมที่เป็นเจ้าของเอง

เมื่อ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 แมริออทประกาศถึงการเข้าซื้อกิจการของสตาร์วูดในมูลค่า 13 ล้านเหรียญสหรัฐ[4] และได้เพิ่มมูลค่าเป็น 13.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเอาชนะกลุ่มอันบังของจีน[5][6][7] โดยการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้นเมื่อ 23 กันยายน ค.ศ. 2016[8] ซึ่งทำให้แมริออทกลายเป็นเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีกว่า 5,700 โรงแรม 1.1 ล้านห้องพัก และแบรนด์โรงแรมกว่า 30 แบรนด์[9] ซึ่งในการเข้าซื้อในครั้งนี้สร้างประโยชน์ให้แมริออทอย่างมหาศาลโดยเฉพาะในตลาดนอกสหรัฐอเมริกาเนื่องจากกว่า 75% ของรายได้สตาร์วูดมาจากตลาดนอกสหรัฐอเมริกา[10][11]

ตราสินค้าในแมริออท

[แก้]
เจ ดับเบิลยู แมริออท และเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน ที่ LA Live (ลอส แอนเจลิส)

แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล กำกับดูแลโรงแรมทั้งสิ้น 30 ตรารอบโลก[12]

ลักชูรี (ระดับหรูหรา)

[แก้]
  • เอดิชั่น โฮเทลส์ (Edition Hotels)
  • เจ ดับเบิลยู แมริออท (JW Marriott Hotels)
  • เซนต์รีจิส โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท (St. Regis Hotels & Resorts)
  • เดอะ ลักชูรี่ คอลเลกชั่น (The Luxury Collection)
  • เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน (The Ritz-Carton)
  • ดับเบิลยู โฮเทลส์ (W Hotels)

พรีเมียม (ระดับบน)

[แก้]
  • ออโตกราฟ คอลเลคชั่น (Autograph Collection)
  • เดลตา โฮเทลส์ (Delta Hotels)
  • ดีไซน์ โฮเทลส์ (Design Hotels)
  • เกย์ลอร์ด โฮเทลส์ (Gaylord Hotels)
  • เลอ เมอริเดียน (Le Méridien)
  • แมริออท โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท (Marriott Hotels & Resorts)
  • เอ็มจีเอ็ม คอลเลคชั่น (MGM Collection)
  • เรอเนสซองส์ โฮเทลส์ (Renaissance Hotels)
  • เชอราตัน โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท (Sheraton Hotels & Resorts)
  • เดอะ แมริออท เวเคชั่น คลับ (The Marriott Vacation Club)
  • ทรีบิวต์ พอร์ตโฟลิโอ (Tribute Portfolio)
  • เวสทิน โฮเทลส์ (Westin Hotels)

ซีเล็ค (ระดับกลาง)

[แก้]
  • เอซี โฮเทลส์ (AC Hotels)
  • อลอฟ์ท โฮเทลส์ (Aloft Hotels)
  • ซิตี เอ็กซ์เพรส บาย แมริออท (City Express by Marriott)
  • คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท (Courtyard by Marriott)
  • แฟร์ฟิลด์ บาย แมริออท (Fairfield by Marriott)
  • โฟร์ พอยส์ บาย เชอราตัน (Four Points by Sheraton)
  • โฟร์ พอยส์ เอ็กซ์เพรส บาย เชอราตัน (Four Points Express by Sheraton)
  • ม็อกซี่ โฮเทลส์ (Moxy Hotels)
  • โพรเทีย โฮเทลส์ บาย แมริออท (Protea Hotels by Marriott)
  • สปริงฮิลล์ สวีทส์ (SpringHill Suites)

การพักระยะยาว (Long Stay)

[แก้]
  • อพาร์ตเมนส์ บาย แมริออท บองวอย (Apartments by Marriott Bonvoy)
  • เอเลเมนท์ (Element)
  • สตูดิโอเรส (StudioRes)
  • โฮมส์ แอนด์ วิลลาส์ บาย แมริออท บองวอย (Homes & Villas by Marriott Bonvoy)
  • แมริออท เอ็กเซกคิวทีฟ อพาร์ทเมนท์ (Marriott Executive Apartments)
  • เรสซิเดนซ์ อินน์ บาย แมริออท (Residence Inn by Marriott)
  • ทาวน์เพลส สวีทส์ (TownPlace Suites)

โปรแกรมสมาชิก

[แก้]

แมริออท บอนวอย (อังกฤษ: Marriott Bonvoy) เป็นโปรแกรมสมาชิกของแมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เริ่มต้นขึ้นในปีค.ศ. 2019 ซึ่งรวมเอาโปรแกรมสมาชิกของทั้งสามโปรแกรม (แมริออท รีวอร์ดส์, ริทซ์-คาร์ลตัน รีวอร์ดส์, และสตาร์วูด พรีเฟอร์ เกส) เข้าไว้ด้วยกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Bartiromo, Michael (February 23, 2021). "Marriott International names new CEO following death of Arne Sorenson". Fox Business.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Marriott International, Inc. 2020 Form 10-K Annual Report". U.S. Securities and Exchange Commission.
  3. "SCHEDULE 14A INFORMATION REQUIRED IN PROXY STATEMENT". U.S. Securities and Exchange Commission.
  4. "Marriott closes $13-billion purchase of Starwood to become world's largest hotel chain". Los Angeles Times. Associated Press. September 23, 2016.
  5. "Starwood dumps Marriott deal for competing bid". USA Today. March 18, 2016.
  6. "Starwood receives nearly $14B buyout bid from Chinese group". Associated Press. March 14, 2016.
  7. Carew, Rick; Steinberg, Julie; Jamerson, Joshua (March 15, 2016). "Starwood Gets Offer From Group Led by Anbang, Threatening Marriott Deal". The Wall Street Journal.
  8. Banerjee, Arunima (March 21, 2016). "Sheraton-owner Starwood accepts higher offer from Marriott". Reuters.
  9. "Marriott International Completes Acquisition of Starwood Hotels & Resorts Worldwide, Creating World's Largest and Best Hotel Company While Providing Unparalleled Guest Experience" (Press release). Marriott International. September 23, 2016.
  10. "MARRIOTT BUYING STARWOOD IN DEAL VALUED AT $12.2 BILLION". Advertising Age. November 16, 2015.
  11. Blackman, Andrew; Yu, Hui-yong; Mulholland, Sarah (November 16, 2015). "MARRIOTT BUYING STARWOOD IN DEAL VALUED AT $12.2 BILLION". Bloomberg News.
  12. "Marriott Hotel Brands". Marriott International.