ข้ามไปเนื้อหา

แบรอน วาคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฯพณฯ
แบรอน วาคา
แบรอน วาคา ในปี 2013
ประธานาธิบดีนาอูรู
ดำรงตำแหน่ง
11 มิถุนายน ค.ศ. 2013 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 2019
รองDavid Adeang
ก่อนหน้าสเปรนต์ ดับวีโด
ถัดไปLionel Aingimea
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
22 มิถุนายน ค.ศ. 2004 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 2007
ประธานาธิบดีLudwig Scotty
ก่อนหน้าMarcus Stephen
ถัดไปRoland Kun
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 – 8 สิงหาคม ค.ศ. 2003
ประธานาธิบดีLudwig Scotty
ก่อนหน้าRemy Namaduk
ถัดไปMarcus Stephen
สมาชิกรัฐสภานาอูรู
สำหรับเขตโบเอ
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 2019
ก่อนหน้าRoss Cain
ถัดไปMartin Hunt
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
แบรอน ดิวาเวซี วาคา

(1959-12-31) 31 ธันวาคม ค.ศ. 1959 (64 ปี)
เขตโบเอ, ประเทศนาอูรู
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสLouisa Waqa

แบรอน ดิวาเวซี วาคา (นาอูรู: Baron Divavesi Waqa; เกิด 31 ธันวาคม ค.ศ. 1959[1]) เป็นนักการเมืองชาวนาอูรูซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนาอูรูระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ถึง 27 สิงหาคม ค.ศ. 2019 และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปี 2003 และอีกครั้งระหว่างปี 2004 ถึงปี 2007

ประวัติ

[แก้]

วาคาเกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1959 เขาเป็นสมาชิกของชนเผ่า Eamwidamwit[2] วาคาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย Monash ในเมืองเคลย์ตัน, ประเทศออสเตรเลีย และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแปซิฟิกใต้ ในเมืองซูวา, ประเทศฟีจี[1]

วาคาแต่งงานกับ Louisa Waqa พวกเขารับเลี้ยงบุตรบุญธรรมด้วยกันหนึ่งคนชื่อ Barron Stephenson[3]

บทบาททางการเมือง

[แก้]

ในการเลือกตั้งรัฐสภานาอูรูเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2003 วาคาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งสำหรับโบเอ ภายใต้ประธานาธิบดี Ludwig Scotty เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสิ้นสุดลงหลังจาก René Harris ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เขายังคงเป็นสมาชิกรัฐสภา

เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2004 วาคาและเพื่อนร่วมงานของเขา Kieren Keke, David Adeang และ Fabian Ribauw เข้าร่วมการประท้วงที่สนามบินนานาชาตินาอูรูในเขตยาเรน โดยมีมุ่งหมายเพื่อแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลต่อผู้ขอลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานในออสเตรเลียและ Flotilla of Hope รวมถึงการหยุดชะงักที่เกิดขึ้นในรัฐสภา ทั้งสี่ต้องเผชิญกับโทษจำคุกสูงสุด 14 ปีเนื่องจากการมีส่วนร่วมในการประท้วง อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายนข้อกล่าวหาทั้งหมดถูกยุติลงและวาคาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้งหลังจาก Scotty กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[4]

วาคายังคงเชื่อมั่นในการบริหารงานของเขาในช่วงวิกฤตรัฐมนตรีซึ่งเกิดขึ้นในปี 2007 ด้วยเหตุนี้วาคาจึงไม่ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในรัฐบาลของประธานาธิบดี Marcus Stephen

ในเดือนมิถุนายนวาคาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี โดยเอาชนะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากฝ่ายค้านอย่าง Roland Kun ด้วยคะแนนเสียง 13 ต่อ 5 เสียง โดยเขาได้รับเลือกจากฝ่ายรัฐบาลหลังจากที่ประธานาธิบดี Dabwido ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้สมาชิกรัฐบาลยังคงอยู่ในอำนาจ[5][6]

ในเดือนมกราคมปี 2014 เขาสามารถเอาตัวรอดจากการลงมติไว้วางใจเกี่ยวกับการเนรเทศผู้พิพากษาศาลชาวออสเตรเลีย ปีเตอร์ ลอว์ และการยกเลิกวีซ่าของหัวหน้าผู้พิพากษา เจฟฟรีย์ อีมส์ ซึ่งมีสัญชาติออสเตรเลีย[7] รัฐบาลของเขาพยายามร่างกฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยความช่วยเหลือจากทนายความชาวฟีจี[8] หลังจากการลาออกของที่ปรึกษารัฐสภา Katy Le Roy และการลาออกของอัยการสูงสุด Steven Bliim ซึ่งทั้งสองคนเป็นชาวออสเตรเลีย รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ชาร์เมน สก็อตตี กล่าวว่า นี่เป็นพฤติกรรมของ "ระบบพวกพ้อง" ที่ดำเนินการโดยชาวต่างชาติอย่างชาวออสเตรเลียที่เขากล่าวว่าร่วมมือกันกับฝ่ายค้าน[9]

ในการเลือกตั้งรัฐสภานาอูรูปี 2019 เขาสูญเสียที่นั่งในรัฐสภาและความพยายามที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง[10]

ในปี 2023 วาคาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำการประชุม Pacific Islands Forum โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2024[11]

เกียรติยศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า แบรอน วาคา ถัดไป
สเปรนต์ ดับวีโด
ประธานาธิบดีนาอูรู
(11 มิถุนายน ค.ศ. 2013 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 2019)
Lionel Aingimea
  1. 1.0 1.1 "Baron Divavesi Waqa – Forum Sec". Pacific Islands Forum Secretariat. 19 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-19.
  2. Caudwell, L. V. (16 January 1960). "REGISTRATION OF BIRTHS & DEATHS" (PDF). Republic of Nauru Government Gazette (3): 1.
  3. "Fiji President Ratu Epeli Nailatikau to make state visit to Nauru". The Government of the Republic of Nauru. February 13, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2018. สืบค้นเมื่อ April 21, 2015.
  4. "New president for Nauru". สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  5. "Baron Waqa named as new Nauru president". สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  6. "Waqa elected Nauru president". Radio New Zealand. 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  7. "No confidence motion in Nauru fails". Radio New Zealand. 28 January 2014. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  8. "Nauruan government drafting law to impose emergency rule - Yahoo!7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-30.
  9. "Aussies out!". The Economist. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  10. Nauru President Baron Waqa loses bid for re-election
  11. Faa, Marian (2 March 2023). "Baron Waqa's tenure as Nauru's president has been called a 'very dark chapter'. He'll now lead the Pacific Islands Forum". ABC News. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
  12. Wen, Kuei-hsiang; Kao, Evelyn (25 March 2019). "Nauru parliament passes resolution to reject 'one China' principle". สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.