แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์
แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์ (อังกฤษ: Kübler-Ross model) เป็นชุดขั้นทางอารมณ์ที่ผู้เผชิญการเสียชีวิตของบุคคลสนิทประสบ แบ่งเป็นห้าขั้น คือ ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้าและยอมรับ
จิตแพทย์ชาวสวิส เอลิซาเบธ คือเบลอร์-รอสส์ (Elisabeth Kübler-Ross) เริ่มแบบจำลองนี้ในหนังสือ ว่าด้วยความตายและการตาย (On Death and Dying) ของเธอในปี 2512 ซึ่งได้รับบันดาลใจจากงานของเธอกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย[1] โดยมีแรงจูงใจจากการขาดหลักสูตรในโรงเรียนแพทย์เรื่องความตายและการตาย คือเบลอร์-รอสส์จึงพิจารณาความตายและผู้ที่เผชิญความตายที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยชิคาโก โครงการของคือเบลอร์-รอสส์พัฒนาเป็นชุดสัมมนาซึ่งร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและการวิจัยก่อน ๆ กลายเป็นรากฐานของหนังสือเธอ นับแต่การจัดพิมพ์ ว่าด้วยความตายและการตาย แบบจำลองคือเบลอร์-รอสส์ได้กลายเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
คือเบลอร์-รอสส์บันทึกในภายหลังว่าขั้นต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ความก้าวหน้าเป็นเส้นตรงและพยากรณ์ได้ และเธอเสียใจที่เขียนแบบจำลองนี้โดยทำให้เข้าใจผิด[2] ทว่า มีห้าประสบการณ์ร่วมที่เกิดกับผู้สูญเสียที่เกิดในลำดับใดก็ได้ ถ้ามี
การวิจารณ์
[แก้]ในหนังสือของจอร์จ โบนันโน (George Bonanno) อีกข้างหนึ่งของความเศร้า: สิ่งที่วิทยาศาสตร์การพรากใหม่บอกเราเกี่ยวกับชีวิตหลังการสูญเสีย (The Other Side of Sadness: What the New Science of Bereavement Tells Us About Life After a Loss) เขาสรุปการวิจัยการทบทวนระดับเดียวกันที่อิงหลายพันเรื่องเป็นเวลากว่าสองทศวรรษและสรุปว่า การหายเองตามธรรมชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญของความโศกเศร้า[3] ตรรกะคือ หากไม่มีความโศกเศร้า ก็ไม่มีขั้นของความโศกเศร้าให้ผ่าน งานของโบนันโนยังแสดงว่าการขาดความโศกเศร้าหรืออาการบาดเจ็บเป็นผลลัพธ์ที่ดี[4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Broom, Sarah M. (Aug 30, 2004). "Milestones". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-17. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.
- ↑ On Grief and Grieving: Finding the Meaning of Grief Through the Five Stages of Loss. Elisabeth Kübler-Ross and David Kessler
- ↑ Bonanno, George A. (January 2004). "Loss, trauma, and human resilience: have we underestimated the human capacity to thrive after extremely aversive events?". The American Psychologist. 59 (1): 20–8. doi:10.1037/0003-066X.59.1.20. PMID 14736317.
- ↑ The Neuroscience of True Grit. Gary Stix, 15 February 2011. Scientific American.
- ↑ "New Ways to Think About Grief. Ruth Davis Konigsberg, 29 January, 2011, Time Magazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.