แก้งขี้พระร่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แก้งขี้พระร่วง
ใบแก้งขี้พระร่วง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Cannabaceae
สกุล: Celtis
สปีชีส์: C.  timorensis
ชื่อทวินาม
Celtis timorensis
Span.[1]
ชื่อพ้อง[2]
  • Celtis cinnamomea Lindl. ex Planch.
  • Celtis crenatoserrata Merr.
  • Celtis dysodoxylon Thwaites
  • Celtis hamata Blume
  • Celtis reticulosa Miq.
  • Celtis waitzii Blume

แก้งขี้พระร่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Celtis timorensis; ตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบที่แรก คือ ติมอร์[3]) เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae หรือวงศ์กัญชา เป็นไม้ยืนต้นที่เนื้อไม้มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นอุจจาระ มีตำนานเล่าไว้ว่าเมื่อพระร่วงหนีขอมจากละโว้ไปสุโขทัยนั้น เมื่อลงพระบังคนหนักแล้วหักกิ่งไม้มาชำระ เสร็จแล้วได้สั่งให้ไม้เป็นขึ้น ไม้นั้นได้แตกกิ่งใบกลายเป็นต้นแก้งขี้พระร่วงนี้

มีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามถิ่นว่า ตะคาย, มะหาดน้ำ, เยื้อง, หมอนดง ในภาคกลาง ภาคใต้เรียกว่า ตายไม่ทันเฒ่า จังหวัดนครราชสีมาเรียก ขี้พระร่วง, มันปลาไหล จังหวัดน่านเรียก เช็ดก้นพระเจ้า จังหวัดเชียงใหม่เรียก เช็ดขี้พระเจ้า จังหวัดลำปางเรียก แก้งขี้พระร่วง ที่จังหวัดสุโขทัยเรียก ไม้เช็ดตูดพระร่วง ทั้งนี้เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระ

ต้นแก้งขี้พระร่วงที่เวียดนาม

แก้งขี้พระร่วง พบในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฟิลิปปินส์ จนถึงเกาะคริสต์มาส และออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปัจจุบันเป็นไม้หายาก พบได้ในป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ในกลางปี พ.ศ. 2559 สำรวจพบเพียงต้นเดียว จัดเป็นไม้มีเปลือกบาง รากแข็ง ดูแลยาก หากนำไปปลูกมักไม่ค่อยรอด เนื้อไม้แก้งขี้พระร่วงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง แต่มักนำมาปรุงเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก ใบฝนคั้นน้ำเป็นยาแก้โรคอหิวา รวมถึงใช้ขับพยาธิในไก่ชน และยังมีความเชื่อแต่โบราณว่า มีความศักดิ์สิทธิ์หากพกติดตัวจะสามารถขับไล่ภูติผีปีศาจได้

อ้างอิง[แก้]

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. Spanoghe (1841).
  2. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.
  3. Flora of Australia Online.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]