ข้ามไปเนื้อหา

เอ็มพี3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
MPEG-1 Audio Layer 3
นามสกุลไฟล์
.mp3
ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต
audio/mpeg
Uniform Type Identifier (UTI)music.mp3
รูปแบบแฟ้มเสียง

MP3 (เอ็มพีสาม หรือ เอ็มพีทรี) เป็นวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงดิจิตัลที่เป็นที่นิยมแบบหนึ่ง ใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนบางส่วน หรือ lossy ออกแบบมาเพื่อใช้ลดปริมาณข้อมูลเสียงให้เหลือเพียงเล็กน้อย (ส่วนมากจะได้ที่อัตรา 10 ต่อ 1) แต่ข้อมูลที่ลดลงมานี้ก็ยังให้คุณภาพเสียงที่ดีใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงต้นฉบับโดยทดสอบกับผู้ฟังส่วนใหญ่ ในการใช้งานส่วนใหญ่คำว่า MP3 จะเป็นกล่าวอ้างถึงแฟ้มที่ใช้เก็บเสียงหรือดนตรีในรูปแบบ MP3 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่น MP3

คำว่า MP3 ได้มาจากคำว่า "MPEG-1 Audio Layer 3" หรือในคำที่เป็นทางการว่า "ISO/IEC 11172-3 Layer 3" อย่างไรก็ตามแฟ้มนามสกุล ".mp3" บางแฟ้มก็ใช้การเข้ารหัสแบบใหม่ที่มีชื่อว่า "MPEG-2 Audio Layer 3" หรือ "ISO/IEC 13818-3 Layer 3"

MP3 เป็นรูปแบบการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วน ใช้แทนข้อมูลเสียงที่เข้ารหัสแบบ PCM ให้มีขนาดที่เล็กโดยตัดข้อมูลบางส่วนที่พิจารณาแล้วว่าระบบการได้ยินของมนุษย์เกือบจะไม่สามารถรับฟังได้ (แนวคิดนี้คล้ายกับการบีบอัดข้อมูลภาพแบบ JPEG) วิธีการต่างๆที่ช่วยให้สามารถตัดข้อมูลบางส่วนออกไปได้ได้ถูกนำมาใช้กับ MP3 รวมทั้ง psychoacoustics ข้อมูลเสียงแบบ MP3 สามารถบีบอัดให้มีขนาดที่แตกต่าง หรือมี อัตราบิท ที่หลากหลายขึ้นกับขนาดของข้อมูลและคุณภาพเสียง

เป็นรูปแบบแฟ้มที่เป็นการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนออกมา เพื่อให้ปริมาณข้อมูลลดลง แต่ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงเดิม อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เป็นเพียงเล็กน้อย และในการเข้ารหัสแบบ MP3 เป็นการเข้ารหัสของเพลงเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สามารถใช้เนื้อที่ได้มากขึ้น และสามารถรวบรวมแฟ้มเพลงหลายๆแฟ้มมารวมอยู่ในรูปของ MP3 ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล

ข้อดีของการเก็บแฟ้มในรูปแบบ MP3

[แก้]
  • เนื่องจากแฟ้ม MP3 เป็นแฟ้มที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นจึงใช้พื้นที่ในการเก็บน้อย
  • โปรแกรมที่ใช้เล่นแฟ้ม MP3 ก็เช่น โปรแกรม Windows Media Player และโปรแกรมนี้ก็จะมีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ไม่ต้องไปหา Download ใหม่ (แต่ต้องเป็น windows 98 ขึ้นไป) รวมไปถึง Winamp ซึ่งหา download ได้ทั่วไป

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]