ข้ามไปเนื้อหา

เอเอฟเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ของAFS

มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ[1] (อังกฤษ: AFS Intercultural Programs) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์นานาชาติ

ประวัติองค์การ

[แก้]

องค์การเอเอฟเอส แต่ก่อนย่อมาจาก American Field Service เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) เป็นกลุ่มชาวอเมริกันในประเทศฝรั่งเศสจำนวน 15 คน ขับรถพยาบาลช่วยเหลือทหารฝรั่งเศสที่บาดเจ็บครั้งตั้งแต่ประเทศอเมริกายังไม่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต่อมามีผู้เข้าร่วมมากขึ้นเป็นทั้งคนอเมริการและคนฝรั่งเศส รวมทั้งสิ้น 2,500 คน และสามารถช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 500,000 คนในสงคราม ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้น American Field Service ได้มีการก่อตัวอีกครั้ง ครั้งนี้มีการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั้งใน ยุโรป ประเทศซีเรีย, อเมริกาเหนือ, ประเทศอินเดีย และประเทศพม่า จนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม ผู้ร่วมองค์การที่มีอายุน้อย ได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อยุติต้นเหตุที่ก่อให้เกิดสงคราม จึงทำให้เกิดองค์การเอเอฟเอสสากลในปัจจุบัน

ปัจจุบัน

[แก้]

สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีประเทศสมาชิก มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อาสาสมัครกว่าสามแสนคนซึ่งทำหน้าที่อยู่ในชุมชนโดยมิได้หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ประกอบด้วยบุคลากรจากหลายสาขาอาชีพ ส่วนหนึ่งเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ครู-อาจารย์ บ้างก็เป็นที่ปรึกษาให้กับเยาวชนในชุมชนของตน บางส่วนเป็นผู้รณรงค์หาทุนให้กับเยาวชนที่ขาดแคลน

ในแต่ละปีมีผู้เข้าร่วมโครงการเอเอฟเอสเกือบหนึ่งหมื่นคนจากทั่วโลก การร่วมมือสนับสนุนเงินเข้ากองทุนเพื่อการดำเนินการเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้องค์การเอเอฟเอสยังได้รับการสนับสนุนในด้านอื่น ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนนับเป็นมูลค่ามหาศาลจากทั่วโลก

AFS ในประเทศไทย

[แก้]

โครงการทุนการศึกษาของมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการต่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน หรือ USIS (the U.S. Information Service) เริ่มแรกเป็นการให้ทุนแก่เยาวชนไทยไปศึกษาในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี ต่อมาประเทศไทยได้เปิดรับอุปถัมภ์นักเรียนจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเชิงวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้มีมติให้เอเอฟเอสประเทศไทยเปลี่ยนเป็น "องค์การนานาชาติ" (AFS International Organization) ให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ละติน-อเมริกา ยุโรป และอีกหลายประเทศ ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ จากนั้นเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "AFS International Intercultural Programs"

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Study Abroad", afsthailand.org, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2017

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]