ข้ามไปเนื้อหา

เอนด์ซารส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
End SARS
วันที่
  • 7 ตุลาคม 2020 – ปัจจุบัน (ระลอกที่สอง)
สถานที่ไนจีเรียเป็นหลัก มีบ้างกระจายทั่วโลก
สาเหตุการฆ่า, โจมตี และการข่มขืนของเจ้าหน้าที่ SARS ในไนจีเรีย; การถูกริดรอนเสรีภาพในการแสดงออก; แคมเปญทางสื่อสังคม
วิธีการการประท้วง, เดินขบวนทางการเมือง, กิจกรรมออนไลน์, ดื้อแพ่ง, เดินขบวน
สถานะดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วง:
(ไม่มีศูนย์กลาง)

ผู้นำ
ไม่ทราบ
ความเสียหาย
เสียชีวิตพลเมือง 51 ราย[1], 11 policemen[1], ทหาร 7 ราย[1]
เว็บทางการ

End SARS หรือ #EndSARS เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมออนไลน์และหมู่การประท้วงขนาดใหญ่ที่ต่อต้านการใช้ความรุนแรงของตำรวจในประเทศไนจีเรีย สโลกแกนนี้เป็นการเรียกร้องให้ยกเลิกกองกำลังพิเศษต้านการโจรกรรม (Special Anti-Robbery Squad; SARS) หน่วยหนึ่งของกองกำลังตำรวจไนจีเรียที่มีชื่อเสียงฉาวโฉ่และมีประวัติการใช้อำนาจในทางผิดมายาวนาน[2][3] การประท้วงภายใต้สโลกแกนนี้ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งเริ่มต้นเป็นแคมเปญออนไลน์บนทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแท็ก #ENDSARS เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไนจีเรียยุบกองกำลังดังกล่าวทิ้ง[4][5][6] ภายหลังการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในเดือนตุลาคม 2020 ภายหลังการเปิดเผยการใช้อำนาจในทางที่ผิดของหน่วย ได้นำไปสู่การเดินประท้วงไปทั่วเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศไนจีเรีย ควบคู่ไปกับการเรียกร้องอย่างรุนแรงบนสื่อสังคมออนไลน์ มีทวีตจำนวนราว 28 ล้านทวีตที่ใช้แฮชแท็กดังกล่าวบนแพลทฟอร์มทวิตเตอร์[7]

ไม่กี่วันภายหลังการประท้วงถูจุดขึ้นใหม่ ในวันที่ 11 ตุลาคม 2020 กองกำลังตำรวจไนจีเรียได้ประกาศว่าจะมีการยุบเลิกหน่วยดังกล่าวโดยทันที และได้รับการตอบรับในฐานะชัยชนะของการประท้วง[8] อย่างไรก็ตาม หลายภาคส่วนได้ชี้ให้เห็นว่าได้มีการประกาศในลักษณะคล้ายคลึงกันเกิดชึ้นมาแล้วในปีก่อน ๆ เพื่อสงบการชุมนุมลงโดยที่หน่วยซารส์ก็ยังไท่ได้ถูกยุบเลิกไปแต่อย่างใด และที่ซึ่งรัฐบาลกำลังมีแผนในการจัดสรรเจ้าหน้าที่ SARS ไปตามศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ แทนที่การยุบเลิกหน่วยไปเลย[9] การชุมนุมจึงได้ดำเนินต่อ และรัฐบาลของไนจีเรียได้ใช้รูปแบบการกดขี่ซ้ำ ๆ ต่อการชุมนุมซึ่งรวมถึงแม้แต่การสังหารผู้ชุมนุม[10]

เจ้าหน้าที่ของหน่วย SARS มีการระบุว่ามีการเลือกปฏิบัติต่อรูปลักษณ์ภายนอก ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการแต่งกาย รอยสัก และทรงผม นอกจากนี้หน่วยยังมีการปิดถนนโดยผิดกฎหมาย, ขอตรวจค้นโดยไม่มีหมาย, การจับกุม คุมขัง โดยไม่มีหมายอนุญาต, ข่มขืนผู้หญิง และ ขู่กรรโชกชายหนุ่มชาวไนจีเรียด้วยข้อหาใช้แล็บท็อป, ไอโฟน และขับขี่รถยนต์แปลก (driving exotic vehicles)[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Nigeria protests: President Buhari says 69 killed in unrest". BBC. October 23, 2020. สืบค้นเมื่อ October 24, 2020.
  2. "End SARS [The Vital First Step]". TheCityCeleb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  3. Kingsley, Omonobi (4 ธันวาคม 2017). "Anti-SARS campaign: IG orders investigation of anti-robbery squad". Vanguard Newspaper. Kingsley Omonobi & Joseph Erunke. Nigeria. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2018.
  4. Salaudeen, Aisha (15 ธันวาคม 2017). "Nigerians want police's SARS force scrapped". Aljazeera. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  5. "End SARS as a Mob Project". Nigeria: Thisday Newspapers Limited. 17 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  6. Ogundipe, Samuel (3 ธันวาคม 2017). "#EndSARS: Police mum as Nigerians recount atrocities of Special Anti-Robbery Squad". Nigeria: Premium Times. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2018.
  7. Kazeem, Yomi. "How a youth-led digital movement is driving Nigeria's largest protests in a decade". Quartz Africa (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
  8. "#EndSARS: Nigeria says Special Anti-Robbery Squad dissolved". Al Jazeera. 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Ademoroti, Niyi (11 October 2020). "What It Means When the Police Say They are Dissolving SARS". BellaNaija. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  10. "Another #EndSARS protester shot dead | Premium Times Nigeria" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
  11. Kazeem, Yomi. "Young Nigerians are leading protests yet again to disband a rogue police unit". Quartz Africa (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-10.