ข้ามไปเนื้อหา

เหยี่ยวนกเขาชิครา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Shikra , Chappad Chidi, Mohali, Punjab, India
เหยี่ยวนกเขาชิครา
เหยี่ยวนกเขาชิคราตัวผู้
ตัวเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Accipitriformes
วงศ์: Accipitridae
สกุล: Accipiter
สปีชีส์: A.  badius
ชื่อทวินาม
Accipiter badius
(Gmelin, 1788)
ชนิดย่อย[2]
  • A. b. badius (Gmelin, 1788)
  • A. b. cenchroides (Severtzov, 1873)
  • A. b. poliopsis (Temminck, 1824)
  • A. b. dussumieri (Hume, 1874)
  • A. b. sphenurus A. Smith, 1838
  • A. b. polyzonoides (Ruppell, 1836)[2]

เหยี่ยวนกเขาชิครา หรือ เหยี่ยวชิครา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Accipiter badius; อังกฤษ: shikra) เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเหยี่ยวนกเขา

มีลักษณะปากแหลมปลายปากงุ้มลง ปีกกว้างสั้น ปลายปีกแหลม หางยาว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและลำตัวออกสีน้ำตาลมากกว่า ลำตัวด้านบนมีสีเทาอมฟ้า แก้มสีเทามีสีขาวเป็นลายเล็ก ๆ สีน้ำตาลจาง ๆ อยู่ติดกัน ที่คอมีสีเส้นสีดำลากผ่านกึ่งกลางสันคอ ตามีสีแดงหรือเหลือง หางสีเทามีลายแถบสีคล้ำ 5 แถบ แข้งเป็นสีเหลือง เมื่อเวลาบินจะเห็นปีกด้านล่างเป็นสีขาว ปลายปีกเป็นสีดำและมีลายยาวสีน้ำตาลคล้ำ

ลูกนกที่ยังไม่โตเต็มที่จะมีขนสีน้ำตาลเทาเข้ม มีแถบสีขาวและน้ำตาลแดงที่ท้ายทอย คิ้วสีขาว หน้าอกมีแถบใหญ่สีน้ำตาลแดง ที่สีข้างและต้นขามีสีน้ำตาลแดงเป็นขีดสั้น ๆ

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-36 เซนติเมตร จึงจัดเป็นเหยี่ยวขนาดเล็กที่สุดในสกุล Accipiter ชนิดหนึ่ง

มีพฤติกรรมกระพือปีกได้เร็ว และร่อนอยู่กลางอากาศเพื่อหาเหยื่อ ล่าเหยื่อจำพวกสัตว์ชนิดอื่นและนกขนาดเล็ก รวมถึงแมลงขนาดใหญ่เป็นอาหาร มักอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นคู่ ปกติชอบเกาะนิ่งอยู่ตามยอดไม้สูงชายป่าหรือป่าละเมาะ คอยออกบินโฉบจับเหยื่อไม่ให้รู้ตัว สร้างรังอย่างง่าย ๆ โดยการเอากิ่งไม้มาขัดกันบนคาคบ[3]

เหยี่ยวนกเขาชิครา เป็นนกที่มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, เอเชียตะวันออกจนถึงเกาะสุมาตรา จึงแบ่งออกเป็นชนิดย่อยด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด (ดูในตาราง)[2] สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภูมิภาคยกเว้นภาคใต้

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535[4]

Accipiter badius

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก IUCN
  2. 2.0 2.1 2.2 จาก itis.gov
  3. อิสรภาพ, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556
  4. เหยี่ยวนกเขาชิครา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Accipiter badius ที่วิกิสปีชีส์